Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37552
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศิริชัย กาญจนวาสี-
dc.contributor.advisorอภิภา ปรัชญพฤทธิ์-
dc.contributor.authorชนิตา ไกรเพชร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2013-12-19T04:02:05Z-
dc.date.available2013-12-19T04:02:05Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37552-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1)พัฒนาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ประสิทธิผลองค์กร สำหรับสถาบันอุดมศึกษา สังกัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา 2) พัฒนาระบบการประเมินประสิทธิผลองค์กร สำหรับสถาบันอุดมศึกษา สังกัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และ 3) ประเมินคุณภาพของระบบการประเมินประสิทธิผลองค์กร สำหรับสถาบันอุดมศึกษา สังกัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ผู้บริหาร คณาจารย์ และบุคลากรสายสนับสนุน สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตอุดรธานี และสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตชลบุรี จำนวนทั้งสิ้น 41 คน ประกอบด้วย ผู้บริหาร จำนวน 12 คน อาจารย์ จำนวน 25 คนและ บุคลากรสายสนับสนุน 4 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้การศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์ การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและการสอบถามโดยใช้แบบประเมิน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติบรรยายและการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ประสิทธิผลองค์กรที่เหมาะสม สำหรับสถาบันอุดมศึกษา สังกัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ 21 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 การจัดการเรียน การสอน 6 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย 3 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการแก่สังคม 1 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม 1 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 5 การบริหารและการพัฒนาองค์กร 8 ตัวบ่งชี้และ องค์ประกอบที่ 6 การพัฒนากีฬาสู่ความเป็นเลิศ 2 ตัวบ่งชี้ 2) ระบบการประเมินประสิทธิผลองค์กร สำหรับสถาบันอุดมศึกษา สังกัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย องค์ประกอบที่สัมพันธ์กัน 4 ด้าน ได้แก่ 1)ด้านปัจจัยนำเข้า 2) ด้านกระบวนการ 3)ด้านผลผลิต 4) ด้านข้อมูลป้อนกลับและการใช้ผลการประเมิน ผลการทดลองใช้ระบบ แสดงว่า สถาบันอุดมศึกษา สังกัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาสามารถตรวจสอบผลการดำเนินงานของสถาบันตามภารกิจหลักในแต่ละรอบปีการศึกษาได้ว่า เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้หรือไม่ อย่างไร มีจุดเด่น จุดที่ควรพัฒนาอย่างไร บุคลากรในองค์กรเห็นถึงความสำคัญของการประเมิน การนำสารสนเทศที่ได้จากการประเมินมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนา ปรับปรุงการปฏิบัติงานในหน้าที่ของตนเองได้ ตลอดจนทำให้เกิดทักษะด้านการประเมินและมีความเชื่อมั่นในตนเองเกี่ยวกับการประเมินเพิ่มขึ้น 3) ผลการประเมินคุณภาพของระบบการประเมินประสิทธิผลองค์กร พบว่า องค์ประกอบของระบบทุกด้านมีความเหมาะสมอยู่ในระดับ มาก ผู้บริหาร อาจารย์และบุคลากรสายสนับสนุนมีความพึงพอใจต่อระบบโดยรวมอยู่ในระดับ มาก และเป็นระบบที่มีความถูกต้องครอบคลุม มีประโยชน์ต่อการประเมินผลการดำเนินงานขององค์กรตามภารกิจหลักขององค์กร มีความเหมาะสมและมีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ได้จริงen_US
dc.description.abstractalternativeThe objectives of the present research were : 1) develop the components and indicators of organizational effectiveness for public higher education institutions under the Ministry of Tourism and Sports; 2) develop organizational effectiveness evaluation system for public higher education institutions under the Ministry of Tourism and Sports; and 3) evaluate the quality of such organizational effectiveness evaluation system. The sample included total 41 participants comprising 12 administrators, 25 teaching staff, and 4 supporting staff of the Institute of Physical Education Udon-Thani Campus and Institute of Physical Education Chonburi Campus. Data collection was conducted through documentary study, interviews, participatory observation, and inquiry using assessment form. Quantitative analysis employed descriptive statistics and qualitative analysis involves content analysis. Research results : 1) Suitable components and indicators of organizational effectiveness for public higher education institutions under the Ministry of Tourism and Sports comprise 6 components and 21 indicators including the followings: component 1-instruction with 6 indicators; component 2- research with 3 indicators; component 3-social service with 1 indicator; component 4- arts and cultural preservation with 1 indicator; component 5-organizational administration and development with 8 indicators; and component 6 - development of sports toward excellence with 2 indicators. 2) The developed organizational effectiveness evaluation system for public higher education institutions under the ministry of tourism is composed of 4 interrelated components: 1) input, 2) process, 3)product, 4) feedback and utilization of evaluation result. The system try-out result showed that the public higher education institutions under the ministry of tourism can examine the institutional for performance annually based on its mission in terms of whether and how well it achieved its targets, strengths and aspect that need improvement. Organizational staff realized the importance of such evaluation and utilized the obtained information from the evaluation for improvement. In addition, they improve evaluation skill and self-confidence to conduct such evaluation. 3) The system evaluation result showed that overall satisfaction with the organizational effectiveness evaluation system is at a high level. The system is viewed as valid, comprehensive, useful for evaluating organization performance based on its main missions, appropriateness and feasibility.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1123-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectปริญญาดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.subjectประสิทธิผลองค์การen_US
dc.subjectOrganizational effectivenessen_US
dc.titleการพัฒนาระบบการประเมินประสิทธิผลองค์กร สำหรับสถาบันอุดมศึกษาสังกัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาen_US
dc.title.alternativeThe evelopment of an organizational effectiveness evaluation system for Public Higher Education Institutions under The Ministry of Tourism and Sportsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineการวัดและประเมินผลการศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSirichai.k@chula.ac.th-
dc.email.advisorApipa.P@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2012.1123-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
chanita_kr.pdf4.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.