Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37616
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวลัย อิศรางกูร ณ อยุธยา-
dc.contributor.advisorอัมพร ม้าคนอง-
dc.contributor.authorชัยรัตน์ โตศิลา-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2013-12-31T09:59:45Z-
dc.date.available2013-12-31T09:59:45Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37616-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากระบวนการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดทางประวัติศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 2) ศึกษาคุณภาพของกระบวนการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น โดยพิจารณาจากทักษะการคิดทางประวัติศาสตร์ ผู้วิจัยได้พัฒนากระบวนการเรียนการสอน โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์จากการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับหลักสูตร การจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง นำข้อมูลที่ได้จากการศึกษามาสร้างกระบวนการเรียนการสอน แล้วนำไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยศิลปากร จำนวน 2 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 80 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 40 คน และกลุ่มควบคุม 40 คน ระยะเวลาในการทดลอง 15 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือ แบบวัดทักษะการคิดทางประวัติศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติที และใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสามารถสรุปได้ดังนี้ 1. กระบวนการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยขั้นตอน 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นอภิปรายเพื่อกำหนดประเด็นศึกษา 2) ขั้นวิเคราะห์หลักฐานหลัก 3) ขั้นเปรียบเทียบข้อมูล 4) ขั้นปฏิสัมพันธ์กับหลักฐานทางประวัติศาสตร์ และ 5) ขั้นนำเสนอข้อค้นพบ 2. คุณภาพของกระบวนการเรียนการสอนซึ่งพิจารณาจาก ผลของการทดลองใช้กระบวนการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีดังนี้ 2.1 ทักษะการคิดทางประวัติศาสตร์ของนักเรียนหลังเรียนจากกระบวนการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.2 ทักษะการคิดทางประวัติศาสตร์หลังเรียนของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.3 ทักษะการคิดทางประวัติศาสตร์ของนักเรียนกลุ่มทดลองที่เรียนจากกระบวนการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น มีพัฒนาการไปในทางที่ดีขึ้น นักเรียนสามารถกำหนดคำถามสำคัญ ตั้งสมมติฐานวิเคราะห์ เปรียบเทียบ ตีความหลักฐาน และเชื่อมโยงข้อมูลเพื่อนำเสนอข้อมูลในรูปแบบของเส้นเวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพen_US
dc.description.abstractalternativeTo 1) develop an instructional process by using historical method to enhance historical thinking skills of eighth grade students, and 2) study the quality of the developed instructional process on historical thinking skills. The researcher developed the instructional process by analyzing and synthesizing basic information concerning the curriculum, historical instruction, and related approaches and theories. Then the instructional process by using historical method were developed. The process was experimented with eighth grade students in The Demonstration School of Silpakorn University. The samples were 80 students which were divided into two groups with 40 students in the experimental group and 40 students in the control group. The duration of the experiment was 15 weeks long. The research instruments were tests of historical thinking skills. Data were analyzed by using arithmetic mean, standard deviation, t-test, and content analysis. The findings were as follows: 1. The developed instructional process consisted of 5 steps, namely: 1) the discussion on the issue of the study, 2) the analysis of the essential primary evidence, 3) the comparison of data, 4) interaction with the historical evidence, 5) report the findings. 2. The quality of the developed instructional process on the results of implementing the developed instructional process were: 2.1 historical thinking skills of students after learning from the developed instructional process were significantly higher than those of before at .05 level of significance. 2.2 historical thinking skills of students in the experimental group after learning from the developed instructional process were significantly higher than those of students in the control group at .05 level of significance. 2.3 historical thinking skills of students in the experimental group were improved. Students were able to determine the key questions, hypothesis, analyzing, comparision, and interpretation of the evidences and presenting of the study in time line pattern effectively.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2012.34-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectประวัติศาสตร์ -- กิจกรรมการเรียนการสอนen_US
dc.subjectประวัติศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)en_US
dc.subjectทักษะทางการคิดen_US
dc.subjectHistory -- Study and teaching -- Activity programsen_US
dc.subjectHistory -- Study and teaching (Secondary)en_US
dc.subjectThinking skillen_US
dc.titleการพัฒนากระบวนการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดทางประวัติศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2en_US
dc.title.alternativeDevelopment of instructional process by using historical method to enhance historical thinking skills of eighth grade studentsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineหลักสูตรและการสอนen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.email.advisorAumporn.M@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2012.34-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
chairat_to.pdf5.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.