Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37639
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชวลิต รัตนธรรมสกุล-
dc.contributor.authorณัฎฐริกา ตันติวงศ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2014-01-05T01:47:37Z-
dc.date.available2014-01-05T01:47:37Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37639-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550en_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้เป็นการศึกษาผลของคลอไรด์ต่อการกำจัดซีโอดีของน้ำเสียปิโตรเคมีโดยใช้ระบบ ยูเอเอสบี โดยศึกษาผลของการเติมโซเดียมคลอไรด์ในปริมาณเพิ่มขึ้นที่มีผลต่อการกำจัด ซีโอดีและกระบวนการสร้างเม็ดตะกอนจุลินทรีย์ งานวิจัยนี้แบ่งออกเป็น 2 ช่วง โดยใช้น้ำเสียจริงจากอุตสาหกรรมปิโตรเคมี การทดลองทั้ง 2 ช่วงใช้ถังปฏิกรณ์ยูเอเอสบี เหมือนกันจำนวน 3 ถัง การทดลอง ช่วงที่ 1 มีค่าซีโอดี ที่ความเข้มข้น 1,000, 1,500 และ 2,000 มิลลิกรัมต่อลิตร ตามลำดับ การทดลองช่วงที่ 2 ทำการเติมโซเดียมคลอไรด์ (NaCl) ที่ความเข้มข้น 600, 1,200 และ 2,400 มิลลิกรัมต่อลิตร ตามลำดับ เท่ากัน ทุกถังปฏิกรณ์ จากผลการทดลอง พบว่า ช่วงการทดลองที่ 1 ค่าซีโอดี ที่ความเข้มข้น 1,000, 1,500 และ 2,000 มิลลิกรัมต่อลิตร ระบบมีประสิทธิภาพการกำจัดซีโอดีเฉลี่ยที่เปอร์เซ็นต์ไทล์ 50 ได้ถึง 88.66, 90.49 และ 89.58 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ส่วนช่วงการทดลองที่ 2 พบว่า เมื่อเติมโซเดียมคลอไรด์ (NaCl) ตลอดการทดลองระบบมีประสิทธิภาพการกำจัดซีโอดีเฉลี่ยที่เปอร์เซ็นต์ไทล์ 50 เท่ากับ 84.00, 89.44 และ 86.54 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และพบว่า ถังปฏิกรณ์ที่ 2 มีประสิทธิภาพการกำจัดซีโอดีได้ดีที่สุดถึง 89.44 เปอร์เซ็นต์ จากการศึกษาเม็ดตะกอนจุลินทรีย์ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน (Scanning Electron Microscope; SEM) พบว่า เมื่อเดินระบบไปแล้วทั้ง 2 ช่วงการทดลองเม็ดตะกอนจุลินทรีย์มีการรวมตัวกันไม่สมบูรณ์ มีโพรงเกิดขึ้นภายในเซลล์ ส่วนในถังปฏิกรณ์ที่ 2 มีค่าซีโอดีที่ความเข้มข้น 1,500 มิลลิกรัมต่อลิตร มีขนาดเม็ดตะกอนจุลินทรีย์ขนาดใหญ่ที่สุดโดยพิจารณาจากค่า D[subscript 50] และ D[subscript 90] เมื่อเทียบกับทั้ง 3 ถังปฏิกรณ์ จากผลการทดลองสรุปได้ว่า คลอไรด์จะมีผลต่อประสิทธิภาพการกำจัดซีโอดีและกระบวนการสร้างเม็ดตะกอนจุลินทรีย์ในช่วงระยะเวลาแรกของการเดินระบบเท่านั้น ภายหลังจากเดินระบบได้ 30 วัน พบว่า จุลินทรีย์ในระบบสามารถปรับตัวได้ ซึ่งสังเกตได้จาก ประสิทธิภาพการกำจัดซีโอดีของทั้ง 3 ถังปฏิกรณ์ไม่แตกต่างกัน แต่ถังปฏิกรณ์ที่ 2 ที่มีความเข้มข้นของซีโอดี 1,500 มิลลิกรัมต่อลิตร มีขนาดเม็ดตะกอนจุลินทรีย์ขนาดใหญ่ที่สุดและมีประสิทธิภาพการกำจัดซีโอดีดีที่สุด ดังนั้น ผลของการเติมคลอไรด์จึงไม่มีผลต่อประสิทธิภาพการกำจัดซีโอดี เมื่อเดินระบบในระยะยาวen_US
dc.description.abstractalternativeThis research is to study effect of chloride on removal of COD in petrochemical wastewater using UASB system. The research was divided into 2 experiments. Both experiments using 3 identical UASB reactor. The first experiment used the petrochemical wastewater. It was prepared with varying COD ratios at 1,000, 1,500 and 2,000 mg/l, respectively. The second experiment used the petrochemical wastewater added with sodium chloride (NaCl) to maintain concentration at 600, 1,200 and 2,400 mg/l., respectively. The results of the first experiment with petrochemical wastewater of COD ratio at 1,000, 1,500 and 2,000 mg/l, it was found that COD removal efficiencies percentile 50 at steady state were 88.66, 90.49 and 89.58 %, respectively. The second experiment with petrochemical wastewater and sodium chloride (NaCl). It was found that COD removal efficiencies percentile 50 were 84.00, 89.44 and 86.54 %, respectively. The UASB system with COD ratios at 1,500 mg/l have the best performance in terms of removal for COD were 89.44 %. Scanning electron microscope observation of the sludge granule, it was start-up 2 experiments of sludge granule is not absolutely right. It have cavity in cell. Analysis of particle size distribution with D[subscript 50] and D[subscript 90] of COD concentration was kept constant at 1,500 mg/l have the greatly for the UASB system. From the result, it can conclude that the appearance of chloride effect on the efficiency of COD removal and sludge granule formation only during the period of system can adapt themselves which can be seen as the efficiency of COD removal of 3 reactors are closely. Furthermore, in the secand reactor, COD concentration is 1,500 mg/l, the size of sludge granule is the biggest and it is the most effection on COD removal so, it show that chloride is not effect on the efficiency of COD removal when operate system in long period.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1347-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectคลอไรด์en_US
dc.subjectน้ำเสีย -- การบำบัด -- วิธีแบบไร้ออกซิเจนen_US
dc.subjectChloridesen_US
dc.subjectSewage -- Purification -- Anaerobic treatmenten_US
dc.titleผลของคลอไรด์ที่มีต่อการกำจัดซีโอดีในน้ำเสียปิโตรเคมีโดยใช้ระบบยูเอเอสบีen_US
dc.title.alternativeEffects of chloride on COD removal from petrochemical wastewater using UASB systemen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์สภาวะแวดล้อม (สหสาขาวิชา)en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorChavalit.R@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2007.1347-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nattarika_ta.pdf4.32 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.