Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37668
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจุมพล รอดคำดี-
dc.contributor.authorจริญญา เจริญสุขใส-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2014-01-06T12:11:34Z-
dc.date.available2014-01-06T12:11:34Z-
dc.date.issued2539-
dc.identifier.isbn9746333836-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37668-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาวิจัย ดังต่อไปนี้ 1.เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารทางการเมืองจากสื่อต่าง ๆ กับวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตย 2.เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารทางการเมืองจากสื่อต่าง ๆ กับการไปใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 3.เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยกับการไปใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 4.เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยทางประกรศาสตร์ กับพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารทางการเมืองจากสื่อต่าง ๆ 5.เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยทางประชากรศาสตร์ กับวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตย ผลการวิจัยพบว่า 1.การเปิดรับข่าวสารทางการเมืองจากสื่อมวลชนและสื่อบุคคล มีความสัมพันธ์กับความรู้ความเข้าใจทางการเมือง ความสนใจทางการเมือง ความรู้สึกมีประสิทธิภาพทางการเมือง ความไว้วางใจทางการเมือง และความสำนึกทางการเมือง ส่วนการเปิดรับสื่อเฉพาะกิจมีความสัมพันธ์กับวัฒนธรรมทางการเมือง เฉพาะความสำนึกทางการเมืองและความไว้วางใจทางการเมืองเท่านั้น 2.การเปิดรับข่าวสารทางการเมืองจากสื่อมวลชนและสื่อบุคคล มีความสัมพันธ์กับการไปใช้สิทธิออกเสียง แต่สื่อเฉพาะกิจไม่มีความสัมพันธ์กับการไปใช้สิทธิออกเสียงของเยาวชน 3.ทัศนคติทางการเมืองแบบประชาธิปไตย ความสนใจทางการเมือง ความรู้สึกมีประสิทธิภาพทางการเมือง ความไว้วางใจทางการเมือง และความสำนึกทางการเมือง มีความสัมพันธ์กับการไปใช้สิทธิออกเสียง แต่ความรู้ความเข้าใจทางการเมืองไม่มีความสัมพันธ์กับการไปใช้สิทธิออกเสียง 4.ปัจจัยเพศและอาชี ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารทางการเมืองจากสื่อต่าง ๆ ของเยาวชน แต่ปัจจัยการศึกษามีความสัมพันธ์กับการเปิดรับสื่อบุคคล 5.ปัจจัยเพศ อาชีพและการศึกษา มีความสัมพันธ์กับทัศนคติทางการเมืองแบบประชาธิปไตยความรู้ความเข้าใจทางการเมือง ความสนใจทางการเมือง ความรู้สึกมีประสิทธิภาพทางการเมือง ความไว้วางใจทางการเมือง และความสำนึกทางการเมือง-
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were as follows : 1.To examine the relationship between media exposure on politics and democratic political culture. 2.To examine the relationship between media exposure on politics and the voting behavior. 3.To examine to relationship between democratic political culture and the voting behavior. 4.To examine the relationship between demographic variables and media exposure on politics. 5.To examine the relationship between demographic variables and democratic political culture. The results of this study revealed the following findings : 1.Expoure to political news and information through mass and interpersonal media was correlated with political understanding, political interest, political efficacy, political consciousness, and political trust. Exposure to specialized media was correlated with political consciousness and political trust. 2.Exposure to political new and information through mass and interpersonal was correlated with voting habit. However no correlation was found between specialized media exposure and the voting habit. 3.Democratic political attitude, political interest, political efficacy, political consciousness, and political trust were correlated with the voting habit. However political understanding was not correlated with the voting habit. 4.Demographic variables :- sex and occupation were not correlated with media exposure on politics, except education which was correlated with interpersonal media exposure. 5.Demographic variables :- sex, occupation, and education were correlated with democratic political attitude, political understanding, political interest, political efficacy, political consciousness, and political trust.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.titleการเปิดรับข่าวสารทางการเมือง วัฒนธรรมทางการเมืองกับการไปใช้สิทธิออกเสียงของเยาวชน ในกรุงเทพมหานคร ปี 2538en_US
dc.title.alternativeMedia exposure on politics, political culture, and the voting behaviour of the youth in Bangkok, 1995en_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการประชาสัมพันธ์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Charinya_ch_front.pdf11.64 MBAdobe PDFView/Open
Charinya_ch_ch1.pdf12.74 MBAdobe PDFView/Open
Charinya_ch_ch2.pdf28.9 MBAdobe PDFView/Open
Charinya_ch_ch3.pdf7.22 MBAdobe PDFView/Open
Charinya_ch_ch4.pdf49.26 MBAdobe PDFView/Open
Charinya_ch_ch5.pdf64.95 MBAdobe PDFView/Open
Charinya_ch_back.pdf35.44 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.