Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3819
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนพพงษ์ บุญจิตราดุลย์-
dc.contributor.authorนิชาภา ประสพอารยา, 2517--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.coverage.spatialกรุงเทพมหานคร-
dc.coverage.spatialไทย-
dc.date.accessioned2007-08-15T06:32:05Z-
dc.date.available2007-08-15T06:32:05Z-
dc.date.issued2543-
dc.identifier.isbn9740300111-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3819-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543en
dc.description.abstractศึกษาสภาพการบริหารงานบุคคล และศึกษาสภาพปัญหาในการบริหารงานบุคคลในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนจำนวน 118 คน และครูผู้ปฏิบัติการสอนจำนวน 346 คน แบบสอบถามสร้างขึ้นโดยอาศัยกรอบแนวคิดการบริหารงานบุคคลของ Castetter (1976) ซึ่งประกอบด้วยกระบวนการต่างๆ ได้แก่ การวางแผนกำลังคน, การสรรหา, การคัดเลือก, การนำเข้าสู่หน่วยงาน, การประเมินผลการปฏิบัติงาน การพัฒนา, ค่าตอบแทนหรือสิ่งจูงใจ, การปฏิบัติงานต่อเนื่อง, ความมั่นคงในการปฏิบัติงาน, การไกล่เกลี่ยปัญหาด้านบุคคล และการให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับบุคคล ผลการวิจัยพบว่าสภาพการบริหารงานบุคคล ดังนี้ 1. มีการจัดทำแผนกำลังคน โดยจะทำเพื่อการวางแผนเพื่อพัฒนากำลังคนในระยะเวลาต่างๆ เป็นแผนปฏิบัติการ 1-2 ปี 2. มีการดำเนินการสรรหา โดยการเปลี่ยนตำแหน่งบุคลากรที่มีความสามารถในโรงเรียนขึ้นมาแทน และจะดำเนินการสรรหาเพื่อบรรจุในตำแหน่งที่ว่างโดยการสรรหาจากบุคคลภายนอกที่มีคุณสมบัติเหมาะสม 3. มีการดำเนินการคัดเลือกบุคคลเข้าทำงาน โดยผู้บริหารใช้อำนาจตัดสินใจในการคัดเลือกในขอบเขตที่พึงกระทำได้ ใช้เกณฑ์การคัดเลือกโดยพิจารณาจากคุณวุฒิ บุคลิกภาพ ความสามารถและความรู้ตรงตามสาขาวิชาที่ต้องการ 4. มีการนำบุคคลเข้าสู่หน่วยงาน โดยผู้บริหารแต่ละฝ่ายและหัวหน้างานแนะนำการปฏิบัติงานและรายละเอียดอื่นๆ 5. มีการติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรใหม่ โดยการให้รับมอบหมายติดตาม และรายงานการปฏิบัติงานเป็นระยะ 6. มีการวิเคราะห์ความจำเป็นในการพัฒนาบุคลากร โดยการนำความเคลื่อนไหวทางการศึกษาใหม่ๆ มาดำเนินการพัฒนาให้บุคลากรเข้าใจและนำไปปฏิบัติ และพัฒนาบุคลากรโดยการฝึกอบรม 7. มีการจัดผลประโยชน์เกื้อกูลที่นอกจากเงินเดือน โดยการแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับสวัสดิการต่างๆ ที่บุคลากรมีสิทธิได้รับ 8. มีการมอบหมายงานที่ทำให้ผู้ปฏิบัติมีความรู้สึกอยากทำงานต่อเนื่อง โดยการพิจารณาถึงความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ของบุคลากร 9. มีดำเนินการที่ทำให้บุคลากรเกิดความรู้สึกมั่นคงในการปฏิบัติงาน โดยการที่ผู้บริหารให้คำปรึกษาต่างๆ จัดบริการด้านสุขภาพอนามัย ความปลอดภัยในโรงเรียน 10. มีการดำเนินการในเรื่องการไกล่เกลี่ยปัญหาด้านบุคคลในโรงเรียน โดยการจัดประชุมบุคลากรเป็นประจำทุกเดือน 11. มีการบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับโรงเรียนและบุคคลที่ทันสมัย ส่วนปัญหาพบว่าโรงเรียนส่วนใหญ่มีปัญหาในการในการบริหารจำแนกเป็น 2 ระดับ ได้แก่ 1. กลุ่มที่มีปัญหาอยู่ในระดับน้อย ได้แก่ การวางแผนกำลังคน การสรรหา การคัดเลือก การประเมินผลการปฏิบัติงาน การพัฒนา และค่าตอบแทนหรือสิ่งจูงใจ 2. กลุ่มที่มีปัญหาอยู่ในระดับน้อยที่สุด ได้แก่ การนำเข้าสู่หน่วยงาน การปฏิบัติงานต่อเนื่อง ความมั่นคงในการปฏิบัติงาน การไกล่เกลี่ยปัญหาด้านบุคคล และการให้บริการข้อมูล ข่าวสารen
dc.description.abstractalternativeStudies the personnel process and problems of the elementary schools under the Office of Private Education Commission Bangkok Metropolis. The study sample consisted of 118 administrators and 346 teachers. The questionnaire was constructed from Castetter's personnel administration concept (1976) which consisted of 11 processes ; the manpower, recruitment, selection, induction, appraisal, development, compensation, continuity of service, security, collective negotiations and information. The results of research indicated that most of schools have shown personnel administration process as follow 1. The action plan was set to prepare and develop manpower every 1-2 years. 2. Recruitment was practiced for both internal and external. 3. Selection was set upon considering educational background, personality, ability as well as field of knowledge. 4. Induction focused on regulations and information of their schools which they belonged. 5. Appraisal was conducted by assigning, monitoring and performance appraisal report. 6. Need assesment was practiced in personnel development by following the educational innovation, information and training also developed in this process. 7. Additional compensation was provided apart from salary. 8. Continuity of service by assigning the personnel to particular jobs considered the educational background, ability and experience. 9. Regarding security was provided through the administrative committees by consulting, healthy service and safety in school. 10. Collective negotiation was scheduled by meeting of teachers monthly. 11. School and personnel information were collected at all times. The problems concerning personnel administration process were found at low and lowest level. The low level were manpower planning, recruitment, selection, appraisal, development and compensation. The lowest level were induction, continuity of service, security, collective negotiations and informationen
dc.format.extent3938803 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2000.438-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectโรงเรียนประถมศึกษา -- การบริหารงานบุคคลen
dc.subjectโรงเรียนประถมศึกษา -- ไทย -- กรุงเทพฯen
dc.subjectโรงเรียนเอกชน -- ไทย -- กรุงเทพฯen
dc.titleการศึกษาการบริหารงานบุคคลในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน กรุงเทพมหานครen
dc.title.alternativeA study of personnel administration in elementary schools under the Office of Private Education Commission, Bangkok Metropolisen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineบริหารการศึกษาen
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorNoppong.b@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2000.438-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nichapa.pdf2.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.