Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3834
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | จุมพล พูลภัทรชีวิน | - |
dc.contributor.advisor | อลิศรา ชูชาติ | - |
dc.contributor.author | เยาวดี สุวรรณนาคะ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2007-08-23T10:47:18Z | - |
dc.date.available | 2007-08-23T10:47:18Z | - |
dc.date.issued | 2543 | - |
dc.identifier.isbn | 9741308949 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3834 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของกระบวนการศึกษาเพื่อสร้างพลังที่มีต่อการเห็นคุณค่าในตนเอง ความเชื่อในความสามารถของตนเอง และการดำเนินกิจกรรมด้านสุขภาพอนามัยในชุมชนของแกนนำสุขภาพประจำครอบครัว รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นแกนนำสุขภาพประจำครอบครัว จาก 2 ชุมชนที่มีบริบทใกล้เคียงกัน ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมืองและภาวะสุขภาพอนามัย คัดเลือกเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม จำนวนกลุ่มละ 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามการเห็นคุณค่าในตนเอง ความเชื่อในความสามารถของตนเอง แนวการสังเกตและสัมภาษณ์ข้อมูลพื้นฐานในชุมชนและกิจกรรมด้านสุขภาพอนามัยในชุมชน และหลักสูตรการฝึกอบรมกระบวนการศึกษาเพื่อสร้างพลังในการพัฒนาแกนนำสุขภาพประจำครอบครัว การเก็บข้อมูลกระทำ 3 ครั้ง คือ ก่อนการทดลอง หลังการทดลอง และระยะติดตามผล การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าที ค่าสถิติเชิงสัมพัทธ์ สถิติเชิงพรรณา และการวิเคราะห์เนื้อหาข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการวิจัย พบว่า กระบวนการศึกษาเพื่อสร้างพลังมีผลทำให้กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการเห็นคุณค่าในตนเองเพิ่มขึ้นอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติหลังการทดลอง แต่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในระยะติดตามผล คะแนนเฉลี่ยความเชื่อในความสามารถของตนเองเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทั้งหลังการทดลองและระยะติดตามผล การเปรียบเทียบกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมหลังการทดลอง และระยะติดตามผล พบว่าคะแนนเฉลี่ยการเห็นคุณค่าในตนเองของกลุ่มทดลองเพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติคะแนนเฉลี่ยความเชื่อในความสามารถของตนเองของกลุ่มทดลองเพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และกิจกรรมด้านสุขภาพอนามัยในชุมชนของกลุ่มทดลองเพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มควบคุม จากการวิเคราะห์เนื้อหา และการประเมินผลโครงการฝึกอบรมของกลุ่มทดลองพบว่า มีการเพิ่มความสามารถในการทำงานร่วมกัน คือมีการพัฒนาทักษะการฟัง การพูด การวิเคราะห์ปัญหาร่วมกัน การนำทรัพยากรมาใช้และเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงประชาชนในหมู่บ้านมีความตระหนักเกี่ยวกับสุขภาพของครอบครัวและชุมชน และมีความรู้สึกเป็นเจ้าของชุมชนเพิ่มมากขึ้น การวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า กระบวนการศึกษาเพื่อสร้างพลังมีผลในการพัฒนาแกนนำสุขภาพประจำครอบครัวก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งในระดับบุคคลและชุมชน ควรมีการประยุกต์ใช้ในการพัฒนาบุคลากรด้านสาธารณสุขในชุมชนต่อไป | en |
dc.description.abstractalternative | The purpose of the research was to study the effects of empowerment education process on self esteem, self efficacy and community health actions of the family health leaders. Quasi experimental research was chosen for this study. The study samples were two communities that shared similar context and were selected as experimental group and control group; and thirty family health leaders were recruited for each group. The research instruments were the self esteem and self efficacy questionnaires, the guidelines for observation as well as interview protocol for collecting community data and community health actions, and the curriculum of the empowerment education training programme. Data were collected at the pretest, posttest, and follow up stages. The t-test, paired t-test and descriptive statistics were used in analyzing the data, the content analysis was also used. The findings were the empowerment education process had no significant effect on the experimental group regarding self esteem at the posttest stage but significant improvement was found at the follow-up stage; significant improvement of self efficacy was found at the posttest and follow-up stages. When comparison between groups at posttest and follow-up stages was made, no significant change of self esteem was found; however self efficacy changed significantly. In addition the community health actions were increased more in the experimental group than in the control group. The content analysis and the evaluation of the training programme found that the experimental group increased their capacity to work together in a participatory manner, they developed skills of listening, speaking, problem analysis and consensus building, seek and utilized resources and became change agents, and the villagers themselves had awareness of family and community health. Overall they developed a stronger sense of community. In can be conclude that the empowerment education process in this research was an effective training for family health leaders at both the individual and community level, and it were made personal and community change. Thus it should be applied further to the training of the community health workers | en |
dc.format.extent | 7646695 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | en |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2000.465 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | ความนับถือตนเอง | en |
dc.subject | สาธารณสุขมูลฐาน | en |
dc.subject | แกนนำสุขภาพประจำครอบครัว | en |
dc.subject | การดูแลสุขภาพด้วยตนเอง | en |
dc.title | ผลของกระบวนการศึกษาเพื่อสร้างพลังที่มีต่อการพัฒนาแกนนำสุขภาพประจำครอบครัว | en |
dc.title.alternative | The effect of empowerment education process on family health leader development | en |
dc.type | Thesis | en |
dc.degree.name | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต | en |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | en |
dc.degree.discipline | พัฒนศึกษา | en |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Chumpol.P@Chula.ac.th | - |
dc.email.advisor | Alisara.C@chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2000.465 | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Yoavadee.pdf | 4.53 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.