Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/38761
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเสรี จันทรโยธา-
dc.contributor.authorวันวิสา มะมา-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2014-02-17T06:41:42Z-
dc.date.available2014-02-17T06:41:42Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/38761-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553en_US
dc.description.abstractการศึกษาผลของการจัดเรียงเขื่อนกันคลื่นแบบเสาเข็มรูปทรงกระบอก ที่จัดเรียงระยะห่างระหว่างเสาเข็มไม่เท่ากัน ต่อการเปลี่ยนแปลงลักษณะคลื่น บริเวณพื้นที่หลังเขื่อนกันคลื่น ศึกษาโดยใช้แบบจำลองกายภาพ ณ ห้องปฏิบัติการชลศาสตร์และชายฝั่งทะเล ภาควิชาวิศวกรรมแหล่งน้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีรูปแบบของการจัดเรียงเสาเข็มรูปทรงกระบอกขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 4.85 ซม. จำนวน 22 ต้น โดยให้ระยะระหว่างแถวเท่ากับขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเสาเข็ม และเปลี่ยนแปลงระยะห่างระหว่างต้นไม่เท่ากัน โดยกำหนดให้อยู่ในรูปแบบฟังก์ชั่นอนุกรมทางคณิตศาสตร์อย่างง่าย เพื่อให้การจัดวางมีรูปแบบที่เป็นระบบ โดยแถวที่สองจัดเรียงเหมือนแถวที่หนึ่งแต่สลับตำแหน่งจากหัวไปท้ายเขื่อนกันคลื่น แบบจำลองที่ใช้ในการศึกษา คือ V0, V2, V4, V6, V8 และ V10 ซึ่งมาจากอัตราส่วนของช่องว่างระหว่างเสาต้นที่ 1 ต่อขนาดของเส้นผ่านศูนย์กลางเสาเข็ม (S₁/D) โดยเรียงลำดับจากค่าน้อยไปหามาก ดังนั้น แบบจำลอง V0 จึงมี (S₁/D) น้อยที่สุด เท่ากับ 0 และ แบบจำลอง V10 มี (S₁/D) มากที่สุด เท่ากับ 1 เท่าของขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเสาเข็ม ทดลองในแบบจำลองแอ่งคลื่นที่มีท้องน้ำไม่เปลี่ยนแปลง คลื่นที่ศึกษาเป็นคลื่นที่มีขนาดสม่ำเสมอสร้างด้วยเครื่องกำเนิดคลื่น มีความชันคลื่น (HN/gT²) อยู่ในช่วง 0.001 ถึง 0.008en_US
dc.description.abstractalternativeผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า เขื่อนกันคลื่นแบบเสาเข็มที่จัดเรียงระยะห่างของเสาเข็มเท่ากัน และไม่เท่ากัน ทั้ง 2 รูปแบบ ส่งผลให้ความสูงคลื่นบริเวณหลังเขื่อนกันคลื่นเพิ่มขึ้น เมื่อความชันคลื่นเพิ่มขึ้นจนถึง 0.005 หลังจากนั้น ความสูงคลื่นลดลง เมื่อความชันคลื่นเพิ่มมากขึ้น จากการเปรียบเทียบความสูงคลื่นที่ผ่านเขื่อนกันคลื่นของการจัดเรียงที่ระยะห่างของเสาเข็มไม่เท่ากัน พบว่า มีความแตกต่างกับความสูงคลื่นที่จัดเรียงระยะห่างของเสาเข็มเท่ากัน อย่างมีนัยสำคัญ จากผลการทดลองพบว่า ความเร็วอนุภาคน้ำเฉลี่ยสูงสุดภายใต้วงโคจรคลื่นเพิ่มขึ้น ตามความชันคลื่นที่เพิ่มขึ้น ทั้ง 2 รูปแบบการจัดเรียง อย่างไรก็ตาม ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า คลื่นบริเวณด้านหลังเขื่อนกันคลื่นที่จัดเรียงช่องว่างระหว่างเสาเข็มไม่เท่ากัน มีการกระจายตัวของความสูงคลื่นไม่สม่ำเสมอ โดยความสูงคลื่นบริเวณด้านหลังเขื่อนกันคลื่น ในส่วนที่แถวที่สองวางเสาชิดกว่าจะมีความสูงคลื่นน้อยกว่าอีกส่วนหนึ่งที่วางเสามากกว่า นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำเฉลี่ยเมื่อมีและไม่มีเขื่อนกันคลื่น ไม่ปรากฎการเปลี่ยนแปลงที่สังเกตได้อย่างชัดเจนกับความชันคลื่น และรูปแบบการจัดเรียงเขื่อนกันคลื่น (S₁/D)en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1247-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectกลศาสตร์คลื่นen_US
dc.subjectกำแพงกันคลื่นen_US
dc.subjectแบบจำลองทางชลศาสตร์en_US
dc.subjectWave mechanicsen_US
dc.subjectBreadwatersen_US
dc.subjectHydraulic modelsen_US
dc.titleลักษณะคลื่นของเขื่อนกับคลื่อนแบบเสาเข็มที่จัดเรียงระยะห่างของเสาเข็มไม่เท่ากันen_US
dc.title.alternativeWave characteristics of un-equally spaced pile breakwateren_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิศวกรรมแหล่งน้ำen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSeree.C@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2010.1247-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Vanvisa_ma.pdf7.28 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.