Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/38826
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อุบลวรรณ หงษ์วิทยากร | - |
dc.contributor.advisor | วีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนา | - |
dc.contributor.author | วรวุฒิ สุภาพ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2014-02-17T09:06:42Z | - |
dc.date.available | 2014-02-17T09:06:42Z | - |
dc.date.issued | 2552 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/38826 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาอัตลักษณ์และพื้นที่การศึกษาของนักเรียนไทยที่ศึกษาในโปรแกรมเตรียมความพร้อม เพื่อสอบวัดระดับมัธยมศึกษาตอนปลายของสหรัฐอเมริกาในประเทศไทย 2) วิเคราะห์การให้ความหมายของการศึกษาของนักเรียนไทยที่ศึกษาในโปรแกรมเตรียมความพร้อม เพื่อสอบวัดระดับมัธยมศึกษาตอนปลายของสหรัฐอเมริกาในประเทศไทย 3) นำเสนอแนวทางการพัฒนาพื้นที่การศึกษาในสังคมไทยตามอัตลักษณ์ และการให้ความหมายของนักเรียนไทย ที่ศึกษาโปรแกรมเตรียมความพร้อมเพื่อสอบวัดระดับมัธยมศึกษาตอนปลายของสหรัฐอเมริกาในประเทศไทย โดยใช้วิธีการวิจัยได้แก่วิจัยภาคสนาม การศึกษาประวัติชีวิต การสังเกต การสัมภาษาณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่มและการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ ผลการวิจัยพบว่า 1. อัตลักษณ์ของนักเรียน GED เป็นอัตลักษณ์ที่มีความเลื่อนไหลและปรับเปลี่ยนตามอิทธิพลของวาทกรรมและอำนาจในพื้นที่ทางสังคม นักเรียน GED จะก่อ/แสดงอัตลักษณ์ขึ้นเพื่อต่อรองทางอำนาจและสร้างตัวตนในพื้นที่ทางสังคม โดยเป็นการเสนอจุดต่าง สมานจุดร่วมของกลุ่ม อัตลักษณ์ร่วมของนักเรียน GED ให้ความสำคัญกับเรื่องทัศนคติ ค่านิยมและพฤติกรรมที่มุ่งความเป็นนานาชาติ วิถีชีวิตบริโภคนิยม เน้นสินค้าและบริการราคาแพง อีกทั้งจุดมุ่งหมายทางการศึกษาที่แตกต่างจากการเรียนในโรงเรียนในด้านเวลา รูปแบบการเรียนและจุดมุ่งหมายทางการศึกษาจึงนำเสนอออกมาเป็นอัตลักษณ์ร่วมของนักเรียน GED ในลักษณะ เด็กอินเตอร์ รวย เรียนเร่ง (ไม่) รัด 2. พื้นที่ทางการศึกษาของนักเรียน GED มีความสัมพันธ์กับการแสดงอัตลักษณ์ พื้นที่การศึกษาจึงมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ การให้ความหมายของการศึกษาและการแสดงอัตลักษณ์ของนักเรียน GED พบว่าพื้นที่ทางการศึกษานักเรียน GED ประกอบด้วยพื้นที่ 2 ลักษณะคือ พื้นที่ทางกายภาพ ได้แก่ บ้าน สถาบันกวดวิชา พื้นที่สาธารณะย่านสยามสแควร์หรือห้างสรรพสินค้าชั้นนำและสถานบันเทิงยามค่ำคืน พื้นที่อีกลักษณะหนึ่งคือพื้นที่เสมือนโดยใช้เทคโนโลยีเป็นฐาน ได้แก่ เครือข่ายสังคมออนไลน์ วิทยุ โทรทัศน์ นิตยสารภาษาต่างประเทศเป็นหลัก พื้นที่ที่พบจะมีทั้งพื้นที่เฉพาะสำหรับนักเรียน GED และพื้นที่สาธารณะ นักเรียน GED จะเลือกพื้นที่ไม่ซ้ำซ้อนกับเด็กไทยแต่นิยมที่จะใช้พื้นที่ร่วมกับกลุ่มนักเรียนโรงเรียนนานาชาติและผู้มีรายได้สูง 3. การให้ความหมายการศึกษาได้รับอิทธิพลจากอัตลักษณ์และพื้นที่ทางการศึกษาที่นักเรียนปรากฎตัว การให้ความหมายการศึกษาจะประกอบไปด้วยขั้นตอน การสร้างความหมาย การถ่ายทอดความหมายและการแสดงออกทางความหมาย ที่มีความเชื่อมโยงกับอัตลักษณ์และพื้นที่ทางการศึกษา นักเรียน GED ให้ความหมายของการศึกษาใน 3 ลักษณะคือ1) การศึกษาคือการพัฒนามนุษย์ซึ่งเน้นทักษะการคิดและการสื่อสารทางสังคมที่เน้นการใช้ภาษาต่างประเทศ 2) การศึกษาเพื่ออาชีพเน้นความสำคัญกับการศึกษาเพื่อการพัฒนา ทักษะวิชาชีพในการทำงาน 3) การศึกษาเพื่อยกระดับความต้องการทางการเรียนและน่าเชื่อถือในสังคม เป็นการให้ความหมายการศึกษาเพื่อเพิ่มคุณวุฒิและค่านิยมในการศึกษาต่อและการทำงาน โดยให้ความสำคัญกับหลักสูตรนานาชาติและการจบการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย 4. แนวทางการพัฒนาพื้นที่ทางการศึกษาเป็นการสร้างพื้นที่การศึกษาบนแนวคิดความหลากหลายทางอัตลักษณ์ ผ่านพื้นที่ทางการศึกษาใน 2 ลักษณะ 1) พื้นที่เสมือนที่ใช้เทคโนโลยีเป็นฐาน 2) พื้นที่กิจกรรมเป็นที่ตั้งโดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนานักเรียน GED ให้มีลักษณะ 4 ประการคือ รู้จักความเป็นไทย ใส่ใจการอยู่ร่วมกัน รู้เท่าทันสื่อเทคโนโลยีและมีความรู้เรื่องการบริโภค วิธีดำเนินการเน้นการสร้างพื้นที่บนเว็บไซต์ เพื่อเป็นพื้นที่ประสานงานและเป็นพื้นที่ในการเรียนรู้ให้กับนักเรียน GED การให้ความรู้ผ่านชุดความรู้ที่สอดคล้องกับเป้าหมายของพื้นที่ทางการศึกษาทั้ง 4 ลักษณะ การดำเนินงานภายใต้ภาคีความร่วมมือในการจัดกิจกรรม และพัฒนาพื้นที่ทางการศึกษาทั้งจากภาครัฐ เอกชน ครอบครัว สถานศึกษาและสถาบันทางสังคม | en_US |
dc.description.abstractalternative | To 1) study the identities and academic space of Thai student in GED preparation programs in Thailand 2) analyze the meaning of education by Thai students in GED preparation programs in Thailand 3) present guidelines in developing academic space in Thai society according to the identities of and the meaning of education by Thai students in GED preparation program. The research consists of the field research, observation, the in-depth interview, the life history and focus groups in order to present the identities and meaning of education for the development of the academic space in Thai society Findings from research showed that 1. The identities of GED students are incorporating both inconsistency and flexibility as a result of the power of discourse and social space. These identities will be manifested through making negotiations and creating their own identities by means of proposing both the distinctive and collective identities at the same time. According to certain studies, GED students will give more importance on social values and internationalization. They prefer both expensive goods and services. In addition, they also have the different goals from those of the students from formal schools in terms of time, classes, and academic goals through the collective identities of being “international,” “rich,” “quick,” but “happy-go-lucky” students. 2. There is a strong correlation between the academic space of GED students and their identities. The academic space of GED students comprises both the physical space and the technology-based space. The academic space will have a direct impact on the learning behavior, the meaning of education, and the identities of GED students. GED students are not willing to share the same public space with the conventional students from formal schools, but they are willing to share this space with international students and high society consumers. 3. The identities of GED students and their academic space have a major impact on the meaning of education of GED students which includes the generation of the meaning of education, the conveyance of the meaning, and the interpretation of the meaning. The meaning of education of GED students means education for human development, education for careers, and education for aggrandizement. 4. The guideline of academic space is the creation of space on the concept of various identities which includes the technology-based space and the activity-based space. The purpose of this guideline is to engender 4 characteristics in GED students, that is, realizing the national Thai characteristics, paying more attention to social interaction, keeping up with media, and having consumer education. This can be attained by means of a website to give the knowledge that corresponds to the 4 characteristics mentioned. This website is the common space for sharing the information and activities of various sectors including public and business sectors, schools, family, and social authorities. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.554 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | อัตลักษณ์ | en_US |
dc.subject | สัญศาสตร์ | en_US |
dc.subject | การศึกษาต่อเนื่อง | en_US |
dc.subject | การศึกษานอกระบบโรงเรียน | en_US |
dc.subject | การศึกษาผู้ใหญ่ | en_US |
dc.subject | การศึกษาทางเลือก | en_US |
dc.subject | การวัดผลทางการศึกษา | en_US |
dc.subject | การวัดผลทางการศึกษา | en_US |
dc.subject | Identity (Philosophical concept) | en_US |
dc.subject | Semiotics | en_US |
dc.subject | Continuing education | en_US |
dc.subject | Non-formal education | en_US |
dc.subject | Adult education | en_US |
dc.subject | Alternative education | en_US |
dc.subject | Educational tests and measurements | en_US |
dc.subject | GED tests | en_US |
dc.title | การศึกษาอัตลักษณ์และการให้ความหมายของการศึกษาเพื่อการพัฒนาพื้นที่ทางการศึกษาในสังคมไทย : กรณีศึกษานักเรียนไทยที่ศึกษาโปรแกรมเตรียมความพร้อม เพื่อสอบวัดระดับมัธยมศึกษาตอนปลายของสหรัฐอเมริกาในประเทศไทย | en_US |
dc.title.alternative | A study of identities and meaning of education for development of academic space in Thai society : case studies of Thai students in GED preparation programs in Thailand | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | en_US |
dc.degree.discipline | พัฒนศึกษา | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Ubonwan.H@Chula.ac.th | - |
dc.email.advisor | wirathep.p@chula.ac.th, wirathep@yahoo.com | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2009.554 | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
voravoot_su.pdf | 4.41 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.