Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/39205
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเปี่ยมศักดิ์ เมนะเศวต-
dc.contributor.advisorสรวิศ เผ่าทองศุข-
dc.contributor.authorสุชาดา จังรัสสะ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2014-02-21T03:34:37Z-
dc.date.available2014-02-21T03:34:37Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/39205-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550en_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาผลของออกซิเจนต่อการปลดปล่อยและการเปลี่ยนแปลงสารประกอบอนินทรีย์ไนโตรเจนจากดินตะกอนที่มีปริมาณสารอินทรีย์สูงในบ่อกุ้งจำลองภายใต้สภาวะกลางแจ้ง โดยบ่อเลี้ยงกุ้งจำลองทำจากถังพลาสติกขนาด 500 ลิตรที่มีพื้นที่ผิว 0.73 ตารางเมตร ภายในบรรจุดินจากบ่อเลี้ยงกุ้งความหนา 8 เซนติเมตร และบรรจุน้ำทะเลความเค็ม 20 PSU ปริมาตร 450 ลิตร ซึ่งมีค่าอัลคาไลนิตี 110 mg/L และมีเครื่องสูบน้ำติดตั้งอยู่ที่ก้นถังเพื่อช่วยหมุนเวียนน้ำภายในบ่อ การศึกษาผลของออกซิเจนต่อการเปลี่ยนแปลงสารอนินทรีย์ไนโตรเจนในบ่อเลี้ยงกุ้งจำลอง ได้ทำการเปรียบเทียบระหว่างบ่อชุดควบคุมที่ติดตั้งเฉพาะเครื่องสูบน้ำให้เกิดการไหลเวียน ส่วนบ่อชุดทดลองจะติดตั้งเครื่องสูบน้ำที่มีระบบการพ่นอากาศด้วยอัตรา 3 ลิตร/นาที ในเวลาเริ่มต้นการทดลองจะทำการเติมอาหารกุ้งในปริมาณ 16, 32 และ 63 กรัม/ตารางเมตร เพื่อเป็นแหล่งของสารอินทรีย์ไนโตรเจน พบว่าชุดทดลองที่มีการเติมอากาศสามารถเร่งการเกิดปฏิกิริยาแอมโมนิฟิเคชันและปฏิกิริยาไนตริฟิเคชันได้เร็วกว่าชุดควบคุม โดยจะพบการเพิ่มขึ้นของแอมโมเนียในน้ำ และเมื่อแอมโมเนียลดลงจะพบการเพิ่มขึ้นของไนไตรต์เป็นลำดับถัดมา ซึ่งต่อไนไตรต์จะลดลงจนหมดในวันที่ 14 ของการทดลอง ส่วนการทดลองเติมออกซิเจนบริสุทธิ์เปรียบเทียบกับการเติมออกซิเจนจากบรรยากาศ ด้วยอัตรา 3 ลิตร/นาที และมีการเติมอาหารกุ้ง 312.5 กรัม/ตารางเมตร พบว่าการเติมออกซิเจนบริสุทธิ์ทำให้พบปริมาณแอมโมเนียในน้ำมากกว่าการเติมอากาศ ซึ่งแสดงว่าการเติมออกซิเจนบริสุทธิ์ช่วยเร่งปฏิกิริยาแอมโมนิฟิเคชันได้มากกว่า อย่างไรก็ตามพบว่าปริมาณของสารอินทรีย์และไนโตรเจนทั้งหมดในดินก่อนและหลังการทดลองมีปริมาณไม่แตกต่างกันอย่างนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ยังพบว่าการเติมอากาศเฉพาะในเวลากลางคืนเพียงพอต่อกระบวนการบำบัดไนโตรเจนในบ่อเลี้ยงกุ้งจำลอง โดยพบว่าสามารถทำให้ความเข้มข้นแอมโมเนียและไนไตรต์ลดลงจนหมดภายในระยะเวลา 7 วัน และมีค่าออกซิเจนละลายน้ำเฉลี่ย 6.65 mg/L การทดลองเลี้ยงกุ้งขาวในบ่อเลี้ยงกุ้งจำลองที่มีอัตราการเติมอากาศ 3.0 และ 1.5 ลิตร/นาที เป็นเวลา 19 วัน พบว่าอัตราการเติมอากาศ 3.0 ลิตร/นาที ทำให้เกิดการย่อยสลายสารอินทรีย์ทำให้มีปริมาณแอมโมเนียในน้ำสูงกว่าส่งผลให้พบการบลูมของแพลงก์ตอนพืชในบ่อ และการตรวจวัดอัตราการเกิดปฏิกิริยาแอมโมนิฟิเคชันของดินตะกอนพบว่ามีค่าเท่ากับ 71.66 mg-N/m²/day ในขณะที่อัตราการเกิดปฏิกิริยาแอมโมเนียออกซิเดชันมีค่าเท่ากับ 483.8 mg-N/m²/day โดยการเกิดปฏิกิริยาแอมโมเนียออกซิเดชันและไนไตรต์ออกซิเดชันส่วนใหญ่เกิดขึ้นที่ผิวดินตะกอนen_US
dc.description.abstractalternativeStudies on the effect of oxygen on inorganic nitrogen compounds release and conversion were investigated using the simulated outdoor shrimp pond made of 500L plastic tank with 0.73 m² surface area. The tanks were packed with sediment from shrimp pond at 8 cm in depth and filled with 450L of 20 PSU seawater with the alkalinity of 110 mg/L. Submersible pump was installed in each tank for water circulation. With this study, simulated shrimp ponds were consisted of control ponds with water circulating pump and treatment ponds with circulating pump integrated with the aerator. The aeration rate was 3 L/minute. At initial, 16, 32 and 63 g/m² of shrimp feed pellet was added into each tank as organic nitrogen source. It was found that aeration in treatment tanks accelerated ammonification process and nitrification process at the higher rate than controls. Peak of ammonia following with a peak of nitrite was found in all tanks and nitrite was eliminated after 14 days. After an addition of 312.5 g/m² shrimp feed, aeration using pure oxygen at 3 L/minutes with clearly enhanced the release of ammonia into the water due to ammonification process. However, organic matter and total nitrogen in the sediment before and after the experiment was not significant difference. Moreover, aeration only at nighttime was found enough for nitrogen treatment in which ammonia and nitrite was removed within 7 days and the average oxygen concentration was 6.65 mg/L. The last experiment was the cultivation of white shrimp Penaeus vannamei in simulated shrimp pond with different aeration rates at 3 or 1.5 L/minute for 19 days. It was found that high aeration rate (3 L/minute) stimulated the decomposition of organic matter in sediment and released higher concentration of ammonia into the water. This induced the bloom of phytoplankton in the simulated shrimp pond. An investigation of nitrogen conversion rate under laboratory condition showed that ammonification rate of the sediment was 71.66 mg-N/m²/day while the ammonia oxidation rate was 483.8 mg-N/m²/day. Both ammonification and nitrification process were mostly occurred at the sediment surface.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2007.628-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectสารประกอบอนินทรีย์en_US
dc.subjectบ่อเลี้ยงกุ้ง--การเติมอากาศen_US
dc.subjectกุ้ง--การเพาะเลี้ยงen_US
dc.subjectออกซิเจนen_US
dc.subjectน้ำ--ออกซิเจนที่ละลายในน้ำen_US
dc.subjectคุณภาพน้ำen_US
dc.subjectOxygenen_US
dc.subjectInorganic compoundsen_US
dc.subjectShrimp cultureen_US
dc.subjectWater--Dissolved oxygenen_US
dc.subjectWater qualityen_US
dc.subjectWater--Aerationen_US
dc.titleผลของออกซิเจนต่อการเปลี่ยนแปลงสารประกอบอนินทรีย์ไนโตรเจนในบ่อเลี้ยงกุ้งจำลองen_US
dc.title.alternativeEffect of oxygen on inorganic nitrogen compounds conversion in simulated shrimp ponden_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (สหสาขาวิชา)en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorpiamsak@sc.chula.ac.th-
dc.email.advisorSorawit.P@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2007.628-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suchada_Ja.pdf3.09 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.