Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3920
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วิชิต คนึงสุขเกษม | - |
dc.contributor.advisor | อนันต์ อัดชู | - |
dc.contributor.advisor | ทวีวัฒน์ ปิตยานนท์ | - |
dc.contributor.author | สมนึก แสงนาค, 2497- | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2007-08-29T07:25:51Z | - |
dc.date.available | 2007-08-29T07:25:51Z | - |
dc.date.issued | 2543 | - |
dc.identifier.isbn | 9741302126 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3920 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการทดสอบและการเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายของกำลังพลในกองบัญชาการทหารสูงสุด ผู้วิจัยได้วิเคราะห์และสังเคราะห์รูปแบบขององค์ประกอบและรายการทดสอบและการเสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย โดยผ่านการพิจารณาจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 19 ท่าน จากนั้นนำมา สร้างเป็นแบบทดสอบและแบบเสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย สำหรับกำลังพลในกองบัญชาการทหารสูงสุด กลุ่มตัวอย่างเป็นข้าราชการสังกัดกองบัญชาการทหารสูงสุด ที่มีอายุระหว่าง 17-60 ปี จำนวน 120 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มควบคุม เป็นชาย 30 คน หญิง 30 คน กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มทดลอง เป็นชาย 30 คน หญิง 30 คน โดยการสุ่มแบบบังเอิญและแบบเจาะจง การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มัธยฐาน ขอบเขตพิสัยควอไทล์ที่ 1-3 ดัชนีความสอดคล้อง ที-เทสต์ สัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน โปรดัก โมเมนต์ ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ และเปอร์เซ็นไทล์ ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบของสมรรถภาพทางกายที่นำมาใช้ในแบบทดสอบสมรรถภาพทางกาย สำหรับกำลังพลในกองบัญชาการทหารสูงสุด ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ ความอดทนของระบบหัวใจและการหายใจ สัดส่วนที่เป็นส่วนประกอบของร่างกาย ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความอดทนของกล้ามเนื้อ และความอ่อนตัวซึ่งวัดได้โดย การวิ่ง-เดิน 1.5 ไมล์ หรือ 2,400 เมตร การหาค่าดัชนีมวลกาย การดันพื้น 30 วินาที การลุก-นั่ง 60 วินาที และการนั่งก้มตัวไปข้างหน้า ตามลำดับ 2. รูปแบบของการเสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย ที่นำมาใช้ในการเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายสำหรับกำลังพลในกองบัญชาการทหารสูงสุด ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ ความอดทนของระบบหัวใจและการหายใจ สัดส่วนที่เป็นส่วนประกอบของร่าง ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความอดทนของกล้ามเนื้อและความอ่อนตัว ตามลำดับ 3. แบบทดสอบสมรรถภาพทางกาย สำรหับกำลังพลในกองบัญชาการทหารสูงสุด มีความตรงตามเนื้อหา ความตรงตามสภาพ และความตรงตามโครงสร้าง โดยมีความสัมพันธ์กับแบบทดสอบมาตรฐาน ฟิซิคอลเบส (Physical best) ในการวิ่ง-เดิน 1ไมล็ กับ 1.5 ไมล์ เพศชายมีค่า .95 เพศหญิงมีค่า .94 ในการดึงข้อกับการดันพื้น 30 วินาที เพศชายมีค่า .88 เพศหญิงมีค่า .85 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 4. แบบเสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย สำหรับกำลังพลในกองบัญชาการทหารสูงสุด มีความตรงตามเนื้อหา ความตรงตามสภาพ และความตรงตามโครงสร้าง โดยมีค่าความไวในการพัฒนาการจากผลของการทดสอบการวิ่ง-เดิน 1.5 ไมล์ ดัชนีมวลกาย ดันพื้น 30 วินาที ลุก-นั่ง 60 วินาที และนั่งก้มตัวไปข้างหน้าเท่ากับ 9.61, 11.27, 8.67 และ 11.36 ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 | en |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this research were to develop the models for testing and improving physical finess of the Supreme Command Headquarters Personnel. This study was done by means of analysis and synthesis of the models of factors and items for testing and improving physical fitness and indicators of physical fitness as approved by 19 specialists. The subjects were 120 males and females, 17-60 years of age, accidentally and purposively random sampled from the personnel in the supreme command headquarters, divided into 2 groups, group I was the control group (30 males and 30 females) and group II was the experimental group (30 males and 30 females). The data were analyzed in terms of means, standard deviations, medians, quartile range 1st-3rd, index of congruence, t-test, one-way repeated measures, pearson's product moment coefficient of correlation and percentile. The results were as follow: 1. The models for testing physical fitness of the supreme command headquarters personnel were comprised of 5 factors: cardiorepiratory endurance, body composition, muscular strength, muscular endurance and flexibility where as test items of these factors were 1.5 mile run-walk or 2,400-meter run-walk, body mass index, 30-second push-up, 60-second sit-up and sit and reach test, respectively. 2. The models for improving physical fitness of the supreme command headquarters personnel were comprised of 5 factors: cardio-respiratory endurance, body composition, muscular strength, muscular endurance and flexibility, respectively. 3. The physical fitness testing model of the supreme command headquarters personnel had the content, concurrent and construct validity. The correlation between the results of physical fitness test and physical best test in 1.5 mile run-walk and 1 mile run-walk, 30-second push-up and pull-up were .95 and .88 for males; and .94 and .85 for females, respectively, and were significant at the .01 level. 4. The physical fitness improving model of the supreme command headquarters personnel had the content, concurrent and construct validity. The sensitivity of development of test results in 1.5 mile run-walk, body mass index, 30-second push-up, 60-second sit-up and sit and reach test were 9.61, 4.12, 11.27, 8.67 and 11.36, respectively, and were significant at the .01 level | en |
dc.format.extent | 4209716 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | en |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2000.410 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | กองบัญชาการทหารสูงสุด | en |
dc.subject | ทหาร | en |
dc.subject | สมรรถภาพทางกาย | en |
dc.title | การพัฒนารูปแบบการทดสอบและการเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายของกำลังพล ในกองบัญชาการทหารสูงสุด | en |
dc.title.alternative | The development of models for testing and improving physical fitness of the Supreme Command Headquarters Personnel | en |
dc.type | Thesis | en |
dc.degree.name | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต | en |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | en |
dc.degree.discipline | พลศึกษา | en |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Vijit.k@chula.ac.th | - |
dc.email.advisor | Anan.a@chula.ac.th | - |
dc.email.author | ไม่มีข้อมูล | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2000.410 | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Somneuk.pdf | 4.72 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.