Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/40979
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุทัศน์ รัตนเกื้อกังวาน-
dc.contributor.authorรัชนีวรรณ ตั้งเผ่าพงศ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2014-03-17T03:44:50Z-
dc.date.available2014-03-17T03:44:50Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/40979-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550en_US
dc.description.abstractงานวิจัยฉบับนี้เป็นการศึกษาถึงการนำเอาวิธีการของกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ (Analytical Hierarchy Process : AHP) ซึ่งสามารถใช้ในการแก้ปัญหาทั้งปัจจัยที่สามารถตีค่าเป็นเงินได้และตีค่าเป็นเงินไม่ได้ มาประยุกต์ใช้ในการตัดสินใจแบบพหุเกณฑ์ (Multi-Criteria Decision-Making) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเลือกผังโรงงานทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับโรงงานกรณีศึกษา ปัจจัยต่างๆ ทั้งหมดที่ได้จากการเก็บข้อมูลจะถูกนำมาวิเคราะห์โดย โดยใช้คุณสมบัติของเกณฑ์การตัดสินใจ จากแนวคิดของ Keeney and Raiffa (Goodwin and Wright, 1991) และออกแบบสอบถามเพื่อทดสอบความครบถ้วนของปัจจัย ที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจเลือกผังโรงงาน พบว่าปัจจัยสำคัญที่มีผลกระทบกับการตัดใจเลือกผังโรงงานมีทั้งสิ้น 6 ปัจจัย ที่มีผลต่อการเลือกผังโรงงานที่เหมาะสมที่สุด จากที่ผู้ทำวิจัยออกแบบผังโรงงานทางเลือกทั้งหมด 5 รูปแบบ จากการวิเคราะห์ปัจจัยและทางเลือกที่กล่าวมา ขั้นตอนต่อไปคือ การพัฒนาเป็นรูปแบบลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ จากการออกแบบสอบถามเพื่อให้คะแนนน้ำหนักของปัจจัยและทางเลือกที่เกี่ยวข้อง พบว่าน้ำหนักของปัจจัยที่ผู้ตัดสินใจให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก ได้แก่ ระยะทางในการขนถ่ายวัสดุ และการไหลของวัสดุมีประสิทธิภาพ มีค่าน้ำหนัก 32.1% อันดับสองได้แก่ มีการใช้เครื่องจักรและอุปกรณ์อย่างมีประสิทธิภาพ และ ความปลอดภัยของโรงงาน มีค่าน้ำหนัก 12.2% อันดับสามได้แก่ลักษณะรูปร่าง, ค่านิยม และการยอมรับ และสุดท้ายคือ การใช้ประโยชน์ของพื้นที่ จากนั้น เมื่อพิจารณาน้ำหนักความสำคัญของทางเลือกที่ผู้ตัดสินใจให้คะแนนแล้ว พบว่า ผังโรงงานทางเลือกที่ที่เหมาะสมที่สุดได้แก่ ผังโรงงานทางเลือกที่ 5 มีค่าน้ำหนัก 37.4%ส่วนรองลงมาได้แก่ ผังโรงงานทางเลือกที่ 1, 2, 4 และ 3 ตามลำดับ ผังโรงงานทางเลือกที่ 5 นั้นเป็นผังโรงงานที่มีรูปร่างของสายการผลิตเป็นแบบตัวไอทั้งหมด โดยเป็นสายการผลิตที่มีระยะทางในการขนถ่ายวัสดุสั้นที่สุดและการไหลของวัสดุมีประสิทธิภาพมากที่สุด แต่ก็ยังมีข้อ ด้อยอยู่บางประการ เช่น จุดเก็บวัตถุดิบอยู่ติดกับอาคารสำนักงานทำให้การควบคุมดูแลสายการผลิตไม่สะดวกen_US
dc.description.abstractalternativeThis research is studied the methodology of Analytical Hierarchy Process (AHP) technique which can solve the problem both of monetary and non-monetary related factors by applying the Multi-Criteria Decision-Making technique. The project’s objective is analyze and selection the suitable plant layout of the case study. Several factors are collected as the data for analyzing, based on criteria of decision making referring to Keeney and Raiffa’s conception (Goodwin and Wright, 1991) and also testing questionnaires. We found 6 criteria decision and proper the 5 alternatives by researcher. After analyzing the critical factors and alternatives, we developed the model Multi-level structure. The results from questionnaires the first priority factors are Transportation distance and Flow of material with weighting 32.1%, the second priority factors are Machine & equipment efficiency and Safety with weighting 12.2%, the third priority factors are layout design and the last priority factor is Benefit of area usage. Finally the Plant layout no.5 is the most suitable design with weighting score 37.4%, then the 1, 2, 4 and 3 with be the preferred layout consequently. The layout of alternative no.5 was in “I” shape with the shortest transportation distance and the most efficiency of material flow. The weak point of the layout no.5 was the position of material warehouse was too close the office area and created the problem of sight seeing of production line.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1099-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการวางผังโรงงานen_US
dc.subjectเครื่องปรับอากาศ -- การผลิตen_US
dc.subjectการวางแผนการผลิตen_US
dc.subjectPlant layouten_US
dc.subjectAir conditioning -- Equipment and suppliesen_US
dc.subjectProduction planningen_US
dc.titleการวิเคราะห์ทางเลือกในการวางผังโรงงาน : กรณีศึกษาโรงงานประกอบเครื่องปรับอากาศen_US
dc.title.alternativeAn analysis of plant layout alternatives : a case study of air condition factoryen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิศวกรรมอุตสาหการen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSuthas.R@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2007.1099-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Rutchaneewan_Ta.pdf2.59 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.