Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41338
Title: ความพึงพอใจต่อค่าทดแทนในการเวนคืนที่อยู่อาศัย : กรณีศึกษาโครงการระบบทางด่วนสายรามอินทรา-อาจณรงค์
Other Titles: Property owner satisfaction with compensation for expropriation of residential property : a case study of Ram Intra-Ad Narong expressway
Authors: สุภาภรณ์ สิทธิกร
Advisors: มานพ พงศทัต
แคล้ว ทองสม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Manop.B@Chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: Eminent domain
Pensions
Housing -- Resident satisfaction
การเวนคืนที่ดิน
ค่าทดแทน
ที่อยู่อาศัย -- ความพอใจของผู้อยู่อาศัย
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาวิธีการเวนคืนและการคิดคำนวณค่าทดแทนที่อยู่อาศัย ซึ่งใช้ในโครงการระบบทางด่วนสายรามอินทรา-อาจณรงค์ เพื่อศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องจากการเวนคืนที่อยู่อาศัย โดยศึกษาจากผู้เป็นเจ้าของที่ดิน เจ้าของบ้านเรือนที่ถูกเวนคืน ทั้งจากบุคคลที่ยอมรับเงินค่าทดแทนการเวนคืนโดยไม่มีข้อโต้แย้ง และจากผู้ที่มีกรณีพิพาท และเพื่อทราบถึงความพึงพอใจต่อค่าทดแทน ในการเวนคืนที่อยู่อาศัย ผลการศึกษาพบว่า ผู้ที่ถูกเวนคืนที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่มีความเห็นว่า การจ่ายค่าทดแทนการเวนคืนต่ำกว่าความเป็นจริงมาก ทำให้ได้รับความเดือนร้อนเนื่องจากหาที่อยู่อาศัยใหม่ ในสภาพใกล้เคียงกับที่อยู่อาศัยเดิมได้ยาก ต้องเพิ่มเงินในการซื้อบ้านใหม่หรือมิเช่นนั้น ก็ซื้อบ้านใหม่มีจำนวนเนื้อที่ดินน้อยกว่าเดิม หรือเนื้อที่บ้านและที่ดินน้อยกว่าเดิม หรือคุณภาพของบ้านด้อยกว่าเดิม และไปอยู่ไกลกว่าเดิม ได้รับความสะดวกน้อยกว่าเดิม โดยส่วนใหญ่จะยังคงอยู่ในละแวกเดียวกับที่อยู่อาศัยเดิม เหตุผลที่เลือกบ้านในปัจจุบันเพราะว่าการคมนาคมสะดวก ราคาเหมาะสม ใกล้ญาติพี่น้อง และสภาพแวดล้อมดี การจ่ายเงินซื้อบ้านใหม่จ่ายเป็นเงินสดและกู้เงินธนาคาร จำนวนใกล้เคียงกัน (ร้อยละ 34.6 และ 30.2 ตามลำดับ) ก่อนการเวนคืนไม่ทราบกฎหมายเกี่ยวกับการเวนคืน แต่หลังจากถูกเวนคืนได้ทราบกฎหมายเกี่ยวกับการเวนคืนเพิ่มขึ้น การจ่ายค่าทดแทนการเวนคืนตามหลักเกณฑ์ และวิธีการประเมินราคาที่ดิน สิ่งปลูกสร้างและไม้ยืนต้นของการทางพิเศษฯ นั้น ผู้ที่ถูกเวนคืนที่อยู่อาศัยน่าจะได้รับค่าทดแทนที่เป็นธรรม แต่จะเห็นได้ว่าผู้ถูกเวนคืนคิดว่า ตนได้รับความเป็นธรรมเพียงส่วนน้อย (ร้อยละ 12.7) หากแต่คิดว่ารัฐเอาเปรียบโดยจ่ายค่าทดแทนน้อย (ร้อยละ 56.7) รัฐควรจ่ายให้สูงกว่าที่ได้รับร้อยละ 100 ถึงร้อยละ 27.4 อย่างไรก็ตามผู้ที่ถูกเวนคืนมีความพึงพอใจบ้านใหม่ร้อยละ 54.2 เพราะการคมนาคมสะดวก แบบบ้านดีกว่าเดิม และสภาพแวดล้อมดีกว่าเดิม ตามลำดับ แม้ว่าจะพอใจบ้านใหม่ แต่ก็คิดว่าลักษณะของบ้านใหม่ด้อยกว่าเดิมร้อยละ 49.4 ผู้ที่คิดว่าบ้านใหม่เหมือนเดิมมีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น (ร้อยละ 11.0) ความต้องการความช่วยเหลือจากภาครัฐของผู้ที่ถูกเวนคืนคือ ต้องการค่าทดแทนการเวนคืนในราคาตลาดที่เป็นธรรม จ่ายค่าทดแทนให้เสร็จสิ้นโดยเร็วที่สุด และจัดหาที่ดินให้เลือกซื้อในราคาที่เป็นธรรม เป็นการทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืน
Other Abstract: To investigate the effectiveness of present methods of providing compensation for expropriation of residential property in Thailand. The Ram Intra-Ad Narong Expressway project is used as a case study to identify the problems arising from expropriation; affected property owners can be classified as those who accept compensation unconditionally without dispute and those who have disputed the compensation offered. An important part of the study is to determine the extent to which dispossessed owner are satisfied (or not) with the compensation offered for expropriation residential property. It has been found that residential property owners generally believe that compensation offered is well below market value. This owners distress and hardship and makes it very difficult for owners to purchase another property to replace the one which has been expropriated. These people must either pay more than the compensation to buy a new property, or they must compromise by buying a smaller or inferior property in terms of condition or location, even if in the same area or suburb. People tend to choose a new house on the basis of convenient accessibility, reasonable price level, proximity to friends and relatives, and the quality of the local environment. New properties were paid for in cash in many cases but loans were also obtained quite often (34.6% and 30.2% respectively). Affected property owners were initially unaware of the provisions of the Expropriation Law but became more aware as a result of the expropriation experience. According to general principles, the Thai constitution and the requirements of the Expressway and Rapid Transit Authority, compensation for expropriation should be just and equitable. However very few people agree that this is so (12.7%) and most of them believe that the government paid too little money (56.7%). A significant number of respondents (27.4%) were of the opinion that they should have received 100% more compensation than they were paid. Just over half of the owners (54.2%) were satisfied with their new residences; the same proportion was happy with accessibility, better design and better environment. Despite this a large number (49.4%) believed that the new property was of lower quality than the expropriated property and only a few (11.0%) were of the opinion that the new property represented equivalent quality. The main requirements of the affected property owners were that, they should receive just compensation and that it should be paid expeditiously. The respondents considered that the government should be prepared to offer them suitable land of equivalent value in substitution for the property taken as part or whole compensation
Description: วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เคหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41338
ISBN: 9746387871
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Subhaporn_Si_front.pdf275.38 kBAdobe PDFView/Open
Subhaporn_Si_ch1.pdf270.3 kBAdobe PDFView/Open
Subhaporn_Si_ch2.pdf1.05 MBAdobe PDFView/Open
Subhaporn_Si_ch3.pdf200.41 kBAdobe PDFView/Open
Subhaporn_Si_ch4.pdf1.18 MBAdobe PDFView/Open
Subhaporn_Si_ch5.pdf219.57 kBAdobe PDFView/Open
Subhaporn_Si_back .pdf982.82 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.