Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41505
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | เอมอร จังศิริพรปกรณ์ | |
dc.contributor.author | จินตรัตน์ อักกะมานัง | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2014-03-19T11:17:13Z | |
dc.date.available | 2014-03-19T11:17:13Z | |
dc.date.issued | 2549 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41505 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 | en_US |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนา และตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลเชิงสาเหตุของอิทธิพลของทุนทางสังคมที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษาที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 2) เพื่อศึกษาน้ำหนักองค์ประกอบของทุนทางสังคมของโรงเรียนมัธยมศึกษา และอิทธิพลของทุนทางสังคมที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษา ในบริบทของการศึกษาไทย 3) เพื่อทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลเชิงสาเหตุของอิทธิพลของทุนทางสังคมที่มีต่อผลสัทฤทธิ์ทางการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษาระหว่างสังกัด กลุ่มตัวอย่างคือโรงเรียนทั่วประเทศใน 6 ภาคได้แก่ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันตก ภาคตะวันออก และ ภาคใต้ ในสังกัดโรงเรียน 2 สังกัด ได้แก่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) จำนวน 215 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม และแบบบันทึกข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติภาคบรรยาย และค่าสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป และวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน วิเคราะห์โมเดลเชิงสาเหตุ และวิเคราะห์โมเดลกลุ่มพหุด้วยโปรแกรม LISREL 8.72 ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1) โมเดลเชิงสาเหตุของอิทธิพลทุนทางสังคมที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษาที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (ค่าไคว์-สแควร์ = 7.76; ค่าองศาอิสระ = 7; ค่า p = .354; GFI = .98 และ AGFI = .96) 2) ทุนทางสังคมมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบของตัวแปรทุนทางสังคมภายในและภายนอกสถานศึกษาแตกต่างกัน โดยทุนทางสังคมภายในสถานศึกษามีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมากกว่าทุนทางสังคมภายนอกสถานศึกษา และทุนทางสังคมมีอิทธิพลทางบวกต่อผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา โดยมีขนาดอิทธิพลเท่ากับ .35 มีค่าสัมประสิทธิ์การทำนายเท่ากับร้อยละ 22 3) โมเดลสมมติฐานการวิจัยของโรงเรียนที่มีสังกัดต่างกันมีความไม่แปรเปลี่ยนในด้านรูปแบบของโมเดลและมีความไม่แปรเปลี่ยนของค่าพารามิเตอร์ในระหว่างกลุ่มในเมทริกซ์ BE, LX และ LY, PH และ PS | |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this research were 1) to develop and examine the model validity 2) to study the factor loading of social capital in secondary schools and to study the influence of social capital on educational achievement in secondary schools. And 3) to test the model invariance among two jurisdictions. The research samples consist of 215 schools which are the school in 6 regions – north, east, west, south, middle and north – east – and two jurisdictions – Office of Basic Education Commission and Office of the Private Education Commission. – Data were collected by questionnaire and record paper. Data analyses were descriptive statistics, Pearson’ product moment correlation and LISREL version 8.72 for confirmatory factor analysis, path analysis and multi – group analysis. The major finding shows that: 1. The causal model of the influence of social capital on educational achievement of secondary schools was valid and fit to the empirical data. (Chi square = 7.76; df = 7; p = .354; GFI = .98 and AGFI = .96) 2. The factor loading of inside school social capital and outside school social capital were different. The factor loading of inside school social capital was more than outside school social capital. Moreover social capital had positive influence on educational achievement and social capital accounted for 22% of variance on educational achievement. 3. The causal model of the influence of social capital on educational achievement of secondary schools indicated invariance of model from and parameter were invariance in matrix BE,LX and LY and PH and PS. | |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.633 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.title | การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของอิทธิพลทุนทางสังคมที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษา | en_US |
dc.title.alternative | Development of a causal model fo the influence of social capital on the educational achievement of secondary schools | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | วิจัยการศึกษา | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2006.633 | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Jintarat_au_front.pdf | 3.15 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Jintarat_au_ch1.pdf | 4.67 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Jintarat_au_ch2.pdf | 16.54 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Jintarat_au_ch3.pdf | 3.65 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Jintarat_au_ch4.pdf | 17.79 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Jintarat_au_ch5.pdf | 7.46 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Jintarat_au_back.pdf | 16.63 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.