Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41524
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุกัญญา ประจุสิลป-
dc.contributor.authorมาริยา สุทธินนท์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์-
dc.date.accessioned2014-03-19T11:37:05Z-
dc.date.available2014-03-19T11:37:05Z-
dc.date.issued2549-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41524-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549en_US
dc.description.abstractการวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมการปฏิบัติตนหลังผ่าตัดและการฟื้นสภาพของมารดาหลังผ่าตัดท้องคลอด ระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเอง กับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 40 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 20 คนและกลุ่มควบคุม 20 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเอง ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้มี โปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเอง ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง โดยใช้แนวคิดทฤษฎีการส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเอง ของ Bandura (1997) ประกอบด้วย การส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเอง ทั้ง 4 วิธี ได้แก่ การใช้คำพูดชักจูง การเรียนรู้ผ่านตัวแบบหรือประสบการณ์ของผู้อื่น การมีประสบการณ์ที่ประสบความสำเร็จด้วยตนเอง และการกระตุ้นทางร่างกายและทางอารมณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติตนหลังผ่าตัดท้องคลอด และแบบประเมินการฟื้นสภาพหลังผ่าตัด วิเคราะห์หาค่าความเที่ยงของเครื่องมือ โดยคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของคลอนบาค ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ .91 และ .73 ตามลำดับ แล้ววิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติทดสอบที (t – test statistic) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. พฤติกรรมการปฏิบัติตนหลังผ่าตัดของมารดาหลังผ่าตัดท้องคลอดกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเอง สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. การฟื้นสภาพของมารดาหลังผ่าตัดท้องคลอดกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเอง ดีกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05-
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this quasi-experimental study was to compare behavior and recovery in post-caesarean section mothers. Participants were 40 mothers who were assigned to experimental and control groups of 20 patients each. The experimental group received the perceived self-efficacy promoting program, while the control group received routine nursing care. The research instrument was developed by the investigator and guided by the self-efficacy theory of Bandura (1997). The self-efficacy promoting program had four components: verbal persuasion, vicarious experience, enactive mastery experience or performance accomplishments, and physiological and affective states. The instrument for collection data were the behavior in post-caesarean section mothers questionnaire and the recovery in post-caesarean section mothers questionnaire. The reliability by Cronbach’s alpha coefficient was .91 and .73. Data were analyzed using percentage, mean, standard deviation and t-test statistic. Major finding were as follow: 1. Behavior in post-caesarean section mothers in the experimental group who received the self-efficacy promoting program was significantly higher than those who received routine nursing care (p<.05) 2. Recovery in post-caesarean section mother in the experimental group who received self-efficacy promoting program was significantly better than those who received routine nursing care (p<.05)-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2006.1468-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการผ่าท้องทำคลอด -- การพยาบาล-
dc.subjectการดูแลหลังคลอด-
dc.subjectCesarean section -- Nursing-
dc.subjectPostnatal care-
dc.titleผลของการใช้โปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความสามรถของตนเองต่อพฤติกรรมการปฏิบัติตนหลังผ่าตัดและการฟื้นสภาพของมารดาหลังผ่าตัดท้องคลอดen_US
dc.title.alternativeEffects of using perceived self-efficacy promoting program on self care behavior and recovery in post-section mothersen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineพยาบาลศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2006.1468-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Mariya_su_front.pdfสารบัญและบทคัดย่อ1.63 MBAdobe PDFView/Open
Mariya_su_ch1.pdfบทที่ 12.59 MBAdobe PDFView/Open
Mariya_su_ch2.pdfบทที่ 215.43 MBAdobe PDFView/Open
Mariya_su_ch3.pdfบทที่ 32.87 MBAdobe PDFView/Open
Mariya_su_ch4.pdfบทที่ 41.31 MBAdobe PDFView/Open
Mariya_su_ch5.pdfบทที่ 52.15 MBAdobe PDFView/Open
Mariya_su_back.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก4.74 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.