Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41545
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนเรศร์ จันทน์ขาว-
dc.contributor.authorทิพาพร อติกานต์กุล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2014-03-19T12:23:41Z-
dc.date.available2014-03-19T12:23:41Z-
dc.date.issued2541-
dc.identifier.isbn9743324216-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41545-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541en_US
dc.description.abstractได้พัฒนาเทคนิคการถ่ายภาพด้วยนิวตรอนสำหรับเทอร์มัลนิวตรอนความเข้มต่ำ และเปรียบเทียบคุณภาพของภาพถ่ายที่ได้จากเทคนิคที่พัฒนาขึ้นกับเทคนิคปกติที่ใช้กันอยู่ ระบบถ่ายภาพด้วยนิวตรอนประกอบด้วยต้นกำเนิดนิวตรอน พลูโทเนียม-238/เบริลเลียมและอะเมริเซียม-241-เบริลเลียม ฉากเปลี่ยนนิวตรอน NE-426 นิวตรอนคอลลิเมเตอร์มีค่า L/D เท่ากับ 15 และอัตราส่วนแคดเมียม 13.18 โดยมีเทอร์มัลนิวตรอนฟลักซ์ที่ตำแหน่งถ่ายภาพ 1.22 x 10² นิวตรอนต่อตารางเซนติเมตรต่อวินาที การถ่ายภาพด้วยนิวตรอนโดยเทคนิคพรี-เอกซ์โพเชอร์ ใช้ฟิล์มอิลฟอร์ด เอชพี 5 พลัส พรี-เอกซ์โพสด้วยแสงจากเครื่องขยายภาพเป็นเวลา 0.4 ถึง 1.0 วินาที สามารถลดระยะเวลาในการถ่ายภาพได้ถึง 50% ของเวลาในการถ่ายภาพโดยเทคนิคปกติ การถ่ายภาพด้วยนิวตรอนที่อุณหภูมิ -20 ถึง -40 องศาเซลเซียส โดยใช้ไนโตรเจนเหลวในการหล่อเย็นฟิล์มและฉาก บันทึกภาพด้วยฟิล์มอิลฟอร์ด เอชพี 5 พลัส ให้ภาพถ่ายที่มีความดำของฟิล์มสูงกว่าภาพถ่ายโดยเทคนิคปกติเกือบ 2 เท่า การถ่ายภาพด้วยนิวตรอนโดยใช้ฟิล์มฟูจิ เอฟพี -3000บี สามารถลดระยะเวลาในการถ่ายภาพได้ถึง 20 เท่า และใช้เวลาในกระบวนการสร้างภาพเพียง 15 วินาที การถ่ายภาพด้วยนิวตรอนทั้ง 3 เทคนิคนี้ ให้ภาพถ่ายที่มีค่าความดำบนฟิล์ม ความไวในการเกิดภาพ ความเปรียบต่าง และความคมชัดเป็นที่น่าพอใจ จึงเป็นเทคนิคที่เหมาะสมสำหรับเทอร์มัลนิวตรอนความเข้มต่ำ ซึ่งจะเป็นประโยชน์สำหรับนำมาประยุกต์ใช้งานในการตรวจสอบวัสดุโดยไม่ทำลาย ขณะที่การถ่ายภาพด้วยนิวตรอนโดยใช้กล้องถ่ายรูป บันทึกภาพด้วยฟิล์มฟูจิ นีโอแพน 1600 ถ่ายภาพนาน 5 วัน พบว่าไม่เกิดภาพบนฟิล์ม แต่ได้ภาพถ่ายที่มีคุณภาพดีเมื่อใช้นิวตรอนที่มีความเข้ม 7.85 x 10⁵ นิวตรอนต่อตารางเซนติเมตรต่อวินาที จากเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูวิจัย ปปว. 1/1 และรังสีเอกซ์จากเครื่องกำเนิดรังสีเอกซ์ ข้อดีของเทคนิคใช้กล้องถ่ายรูปกับฟิล์มฟูจิ นีโอแพน 1600 คือ มีราคาถูกกว่าเทคนิคอื่นๆ มากen_US
dc.description.abstractalternativeNeutron radiographic techniques for low thermal neutron flux were developed and the quality of radiographs was compared with those obtained from a conventional technique. The experimental setup conditions for neutron radiography consisted of Pu-238/Be and Am-241/Be neutron sources, a NE-426 neutron converter screen, a neutron collimator with an L/D ratio of 15 and a cadmium ratio of 13.18 providing a thermal neutron flux of 1.22 x 10² n/cm² -s at the specimen position. Neutron radiography using Ilford HP 5 plus films pre-exposed to light from a photo-enlarger for 0.4 to 1.0 s was found to reduce the exposure time by 50%. It was also found that by cooling the Ilford HP 5 plus films and neutron converter screen using liquid nitrogen to -20 to -40 °C, the radiographs would increase their optical density by a factor of 2. When Fuji FP-3000B films were used the exposure time was reduced by as much as 20 times and it took only 15 s to process the films. In terms of optical density, sensitivity, contrast and sharpness, all 3 techniques were found to provide satisfactory results and hence, they are suitable for low thermal neutron flux radiography and can be applied as a non-destructive testing tool. On the contrary, neutron radiography with camera using Fuji Neopan 1600 films did not reveal any image on the film even after 5 days of exposure. However, when a high thermal neutron flux of 7.85 x 10⁵ n/cm² -s from the Thai Research Reactor TRR1/M1 or x-ray from an x-ray machine were instead used, high quality radiographs could be obtained. The major advantage of using camera/Fuji Neopan 1600 film was that it was much cheaper than the other developed techniquesen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectThermal neutronen_US
dc.subjectNeutron radiographyen_US
dc.subjectNeutronsen_US
dc.subjectนิวตรอนen_US
dc.subjectแหล่งกำเนิดนิวตรอนen_US
dc.subjectเทอร์มัลนิวตรอนen_US
dc.subjectการถ่ายภาพด้วยนิวตรอนen_US
dc.titleการพัฒนาเทคนิคการถ่ายภาพด้วยนิวตรอนสำหรับเทอร์มัลนิวตรอนความเข้มต่ำen_US
dc.title.alternativeDevelopment of neutron radiographic techniques for low thermal neutron fluxen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineนิวเคลียร์เทคโนโลยีen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorNares.C@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Tipaporn_At_front.pdf358.59 kBAdobe PDFView/Open
Tipaporn_At_ch1.pdf187.18 kBAdobe PDFView/Open
Tipaporn_At_ch2.pdf742.45 kBAdobe PDFView/Open
Tipaporn_At_ch3.pdf1.2 MBAdobe PDFView/Open
Tipaporn_At_ch4.pdf1.24 MBAdobe PDFView/Open
Tipaporn_At_ch5.pdf191.68 kBAdobe PDFView/Open
Tipaporn_At_back.pdf255.74 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.