Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41608
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจิราพร เกศพิชญวัฒนา-
dc.contributor.authorญาดารัตน์ บาลจ่าย-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์-
dc.date.accessioned2014-03-23T04:13:05Z-
dc.date.available2014-03-23T04:13:05Z-
dc.date.issued2549-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41608-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้โปรแกรมกิจกรรมศิลปะแบบกลุ่มต่อความว้าเหว่ของผู้สูงอายุ โดยใช้แนวคิดทฤษฎีกิจกรรมของผู้สูงอายุ (Activity theory) ตามรูปแบบของ McClelland (1982) แนวคิดกิจกรรมศิลปะสำหรับผู้สูงอายุ ของ Leitner and Leitner (2004) และแนวทางการทำกลุ่มกับผู้สูงอายุของ Corey and Corey (2006) ใช้การวิจัยแบบ Pre-experimental design ชนิดกลุ่มเดียว วัดซ้ำ 4 ครั้ง โดยทำการวัดก่อนการทดลอง 2 ครั้ง ห่างกัน 4 สัปดาห์และหลังการทดลอง 2 ครั้งห่างกัน 4 สัปดาห์ กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุทั้งเพศชายและเพศหญิง ที่พักอาศัยในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุวาสนะเวศม์ จ. พระนครศรีอยุธยา จำนวน 29 คน ที่ได้มาจากการคัดเลือกตามเกณฑ์ที่กำหนด จัดกิจกรรมศิลปะแบบกลุ่มให้แก่ผู้สูงอายุทั้ง 29 คน โดยแบ่งกลุ่มย่อย (กลุ่มละ 8,10,11 คนตามลำดับ) เพื่อให้ผู้วิจัยดูแลการทำกิจกรรมได้อย่างทั่วถึง ผู้สูงอายุเข้าร่วมโปรแกรมกิจกรรมศิลปะแบบกลุ่ม สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ครั้งละ 1 - 1½ ชั่วโมง เป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ รวมทั้งสิ้นกลุ่มละ 12 ครั้ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดความว้าเหว่ของผู้สูงอายุ ที่ผู้วิจัยได้ปรับปรุงจากแบบวัดความว้าเหว่ของวัลลภา โคสิตานนท์ (2542) ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ และมีค่าความเที่ยงของแบบสอบถาม จากการคำนวณค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ .91 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ และการเปรียบเทียบรายคู่ ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการอภิปรายกลุ่มภายหลังการเข้าร่วมกิจกรรมศิลปะแบบกลุ่ม นำข้อมูลมาวิเคราะห์เนื้อหา เพื่อสรุปเป็นข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติกิจกรรมศิลปะแบบกลุ่มสำหรับผู้สูงอายุ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1.ค่าเฉลี่ยคะแนนความว้าเหว่หลังการเข้าร่วมโปรแกรมกิจกรรมศิลปะแบบกลุ่มลดลงกว่าก่อนการเข้าร่วมโปรแกรมกิจกรรมศิลปะแบบกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.ค่าเฉลี่ยคะแนนความว้าเหว่ก่อนการเข้าร่วมโปรแกรมกิจกรรมศิลปะแบบกลุ่มครั้งที่ 1 และก่อนการเข้าร่วมโปรแกรมกิจกรรมศิลปะแบบกลุ่มครั้งที่ 2 ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3.ค่าเฉลี่ยคะแนนความว้าเหว่หลังการเข้าร่วมโปรแกรมกิจกรรมศิลปะแบบกลุ่มครั้งที่ 1 และหลังการเข้าร่วมโปรแกรมกิจกรรมศิลปะแบบกลุ่มครั้งที่ 2 ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ-
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this pre-experimental research was to examine the effect of group-art activity on loneliness in elderly. McClelland’s activity theory (1982), Leitner and Leitner’s concept of art for elderly (2004), and Corey and Corey’s group process (2006) were utilized for the conceptual framework of this study. The research design was the one group repeated measures, 2 times pre-test within 4 weeks and 2 times post-test within 4 weeks after the experimental. Subjects consisted of 29 older persons living in Vasanawes Home for The Aged, was recruited through a set of criteria. According to the feasibility of supervision by a researcher, 29 elderly were devided in to three small subgroups (group 8,10,11 persons respectively). All the subjects attended the group-art activity program, designed by the researcher, for 6 weeks, twice a week for 1 - 1½ hours session. Research instruments were Loneliness Scale and program of group-art activities. Loneliness scale was tested for content validity and reliability which reliability was .91. Data were analyzed by descriptive statistics, repeated measures ANOVA and pairwise comparison. Data from group discussion were analyzed by content analysis which was used as the ideas and suggestions for group-art activity. Findings were as follows; 1.Mean score of loneliness of older persons who participated in the group-art activity program was significantly lower than the mean score prior to the experiment at the level of .05 2.Mean score of loneliness of older persons who participated in regular activities measured twice before the experiment was not significantly different. 3.Mean score of loneliness of older persons who participated in regular activities measured twice after the experiment was not significantly different.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2006.588-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectผู้สูงอายุ-
dc.subjectกลุ่มสัมพันธ์-
dc.subjectความว้าเหว่ในวัยสูงอายุ-
dc.subjectศิลปะกับผู้สูงอายุ-
dc.subjectOlder people-
dc.subjectSocial groups-
dc.subjectLoneliness in old age-
dc.subjectArts and older people-
dc.titleผลของการใช้โปรแกรมกิจกรรมศิลปะแบบกลุ่มต่อความว้าเหว่ของผู้สูงอายุen_US
dc.title.alternativeThe effect of group-art activity program on loneliness in elderlyen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineพยาบาลศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2006.588-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Yadarat_ba_front.pdfหน้าปกและบทคัดย่อ1.44 MBAdobe PDFView/Open
Yadarat_ba_ch1.pdfบทที่ 12.58 MBAdobe PDFView/Open
Yadarat_ba_ch2.pdfบทที่ 27.12 MBAdobe PDFView/Open
Yadarat_ba_ch3.pdfบทที่ 34.09 MBAdobe PDFView/Open
Yadarat_ba_ch4.pdfบทที่ 42.24 MBAdobe PDFView/Open
Yadarat_ba_ch5.pdfบทที่ 53.71 MBAdobe PDFView/Open
Yadarat_ba_back.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก5.56 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.