Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41714
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวราภรณ์ ชัยวัฒน์-
dc.contributor.authorนรินทร์รัตน์ ศรีชูชาติ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์-
dc.date.accessioned2014-03-23T06:14:33Z-
dc.date.available2014-03-23T06:14:33Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41714-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์และอำนาจการทำนายของการรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค การรับรู้ความสามารถของตนเอง และความรู้สึกทางบวกกับพฤติกรรมส่งเสริมพัฒนาการทารกวัย 0-2 เดือนของมารดาในภาคใต้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ มารดาภาคใต้ที่มีบุตรอายุ 0-2 เดือนซึ่งพาบุตรมารับวัคซีนคลินิกเด็กสุขภาพดี จำนวน 100 คนได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามพฤตกรรมส่งเสริมพัฒนาการทารกวัย 0-2 เดือน แบบสอบถามการรับรู้ประโยชน์แบบสอบถามการรับรู้อุปสรรค แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถของตนเองและแบบสอบถามความรู้สึกทางบวกต่อพฤติกรรมส่งเสริมพัฒนาการทารกวัย 0-2 เดือน ของมารดา เครื่องมือทุกชุดมีความตรงตามเนื้อหาและความเที่ยงเป็นที่ยอมรับได้โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ของความสอดคล้องภายใน .89, .88, .74, .86 และ .87 ตามลำดับ วิเคราะห์ระดับพฤติกรรมส่งเสริมพัฒนาการทารกวัย 0-2 เดือนของมารดา โดยหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของการรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค การรับรู้ความสามารถของตนเอง และความรู้สึกทางบวกต่อพฤติกรรมส่งเสริมพัฒนาการทารกวัย 0-2 เดือนของมารดา ด้วยการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน พร้อมทั้งศึกษาอำนาจการทำนายของตัวแปรทั้งหมด ด้วยการคำนวณค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ โดยใช้วิธีวิเคราะห์แบบถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอนและสร้างสมการทำนาย ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้ 1. กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 69 มีพฤติกรรมส่งเสริมพัฒนาการทารกวัย 0-2 เดือน อยู่ในระดับสูง 2. การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้ความสามารถของตนเอง และความรู้สึกทางบวกมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมส่งเสริมพัฒนาการทารกวัย 0-2 เดือนของมารดาในภาคใต้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนการรับรู้อุปสรรค มีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมส่งเสริมพัฒนาการทารกวัย 0-2 เดือนของมารดาในภาคใต้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. การรับรู้ความสามารถของตนเองและการรับรู้ประโยชน์สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมส่งเสริมพัฒนาการทารกวัย 0-2 เดือนของมารดาในภาคใต้ ได้ร้อยละ 25.1 (R2 = .251) ดังนั้นจึงสร้างสมการได้ดังนี้ พฤติกรรมส่งเสริมพัฒนาการทารก = .249* การรับรู้ความสามารถของตนเอง +.200* การรับรู้ประโยชน์-
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study was to examine the relationships among perceived benefit, perceived barrier, perceived self-efficacy, positive affect relativity questionnaire and infant development promoting behavior of mothers. Sample consisted of 100 mothers in Southern region. Multi-Stage sampling was applied. Instruments consisted of the demographic data questionnaire, perceived benefit questionnaire, perceived barrier questionnaire, perceived self-efficacy questionnaire, positive affect relativity questionnaire, and infant development promoting behavior of mother’s questionnaire, Content validity for all questionnaires was reviewed by a panel of experts. Their Cronbach’s alpha coefficients were .89, .88, .74, .86 and .87 respectively. Descriptive statislics, Pearson product-moment correlation and stepwise multiple regression were used for statistical analysis. The results were as follows: 1. Sixty – nine percents of mothers of 0-2 month-old infants in this study perform the infant development promoting behavior at the high level 2. There were significantly positive correlations between perceived benefit, perceived self – efficacy, positive affect relativity questionnaire, and infant development promoting behavior of mothers in Southern region at the level of .05, and negative correlation between perceived barrier and and infant development promoting behavior of mothers at the level of .05. 3. Perceived self-efficacy and perceived benefit can significantly explain 25.1% of the variance of infant development promoting behavior in mothers of 0-2 month-old infants at the level of .05. Predicted formula is as follows Infant-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectพัฒนาการของเด็ก-
dc.subjectมารดา -- ไทย (ภาคใต้)-
dc.subjectChild development-
dc.subjectMothers -- Thailand, Southern-
dc.titleปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมพัฒนาการทารกของมารดาในภาคใต้en_US
dc.title.alternativeFactors related to infant development promoting behavior of mothersen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineพยาบาลศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Narinrat_sr_front.pdfหน้าปกและบทคัดย่อ1.65 MBAdobe PDFView/Open
Narinrat_sr_ch1.pdfบทที่ 11.94 MBAdobe PDFView/Open
Narinrat_sr_ch2.pdfบทที่ 24.78 MBAdobe PDFView/Open
Narinrat_sr_ch3.pdfบทที่ 31.98 MBAdobe PDFView/Open
Narinrat_sr_ch4.pdfบทที่ 41.81 MBAdobe PDFView/Open
Narinrat_sr_ch5.pdfบทที่ 52.17 MBAdobe PDFView/Open
Narinrat_sr_back.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก3.9 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.