Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41720
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorทรายแก้ว ทิพากร-
dc.contributor.advisorดวงกมล ชาติประเสริฐ-
dc.contributor.authorนนทนา แสวงรุจน์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2014-03-23T06:20:51Z-
dc.date.available2014-03-23T06:20:51Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41720-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาค่านิยมในเรื่องความงามของผู้อ่านนิตยสารหัวนอก วิเคราะห์เนื้อหาสื่อที่เกี่ยวข้องกับความงามในนิตยสารหัวนอก ศึกษาอิทธิพลของเนื้อหาของสื่อนิตยสารหัวนอกที่เกี่ยวข้องกับความงามต่อค่านิยมความงามของผู้อ่าน การเก็บรวบรวมข้อมูลจากการตอบแบบสอบถาม การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกับกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ บรรณาธิการความงามของนิตยสารแอล นิตยสารคอสโมโพลิแทน และนิตยสารคลีโอ รวมทั้งกลุ่มตัวอย่างนิสิตนักศึกษาในกรุงเทพมหานครทั้ง 10 สถาบัน ผลการวิจัยพบว่า การวิเคราะห์สื่อนิตยสารทั้ง 3 ฉบับนี้ ผู้ผลิตต้องการนำเสนอนิตยสารที่ตอบสนองการใช้ชีวิตของผู้หญิงรุ่นใหม่ โดยจะเน้นให้ผู้อ่านนำสิ่งที่อ่านได้มาปรับใช้ให้เหมาะสม เพื่อให้เป็นผู้หญิงทันสมัย และภายในสองปีที่ผ่านมาคือปี 2548 และ 2549 ประเภทสินค้าที่นำเสนอมากที่สุดคือ สินค้าเกี่ยวกับบุคลิกภาพ โดยนิตยสารแอลเป็นนิตยสารที่มีประเภทสินค้านำเสนอมากที่สุด โดยเฉพาะสินค้าทั่วๆ ไปที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ทั้งนี้วิธีการนำเสนอในนิตยสารส่วนใหญ่มักจะสอดแทรกภาพความงามผ่านตามคอลัมน์ต่างๆ โดยผ่านการถ่ายทอดของกลวิธีการเขียนอันได้แก่ การใช้โวหารภาษาเขียน การใช้ภาษาในทางการแพทย์ นอกจากนั้นจากการเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างพบว่า นิสิตนักศึกษาส่วนใหญ่เปิดรับสื่อโทรทัศน์มากที่สุด รองลงมาคือเพื่อนและอินเตอร์เน็ต โดยนิตยสารที่นิสิตนักศึกษาอ่านบ่อยมากเป็นประจำคือ นิตยสารคลีโอ ส่วนใหญ่จะหาอ่านตามสถานบริการต่างๆ เช่น ร้านเสริมสวย และใช้เวลาในการอ่านโดยเฉลี่ย 1 ชั่วโมงต่อ 1-10 วัน/ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 70-80 ซึ่งระยะเวลาในการอ่านส่วนใหญ่น้อยกว่า 6 เดือน และจะอ่านละเอียดเป็นบางคอลัมน์ ส่วนเหตุผลในการอ่านคือเพื่อหาความรู้ทั่วๆ ไป และติดตามข่าวสารแฟชั่น โดยกลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นในเรื่องค่านิยมอยู่ในระดับเห็นด้วยปานกลางค่อนข้างสูง และมีความสนใจเนื้อหาด้านความงามในการดูแลผิวพรรณมากที่สุด ทั้งนี้เมื่อทดสอบสมมติฐานเปรียบเทียบระหว่างผู้อ่านกับผู้ไม่อ่านโดยมีลักษณะตัวแปรทั่วไปมาคุมแล้ว พบว่า นิตยสารหัวนอกมีอิทธิพลต่อค่านิยมในเรื่องการแต่งกายและการแต่งหน้าค่อนข้างมาก ซึ่งปัจจัยจากสื่อ เพื่อน และครอบครัว มีอิทธิพลต่อการบริโภคค่านิยมความงามของกลุ่มนิสิตนักศึกษาเป็นอย่างมาก และการใช้ภาษาภาพ เป็นต้น-
dc.description.abstractalternativeThe research aims to study the Thai-version foreign magazine on the beauty values of readers; analyze the relationship between the media and its content on beauty in those magazines; explore the influence of the magazines on readers in terms of beauty values. In collecting the data for this research, questionnaires and interviews have been were used. The interview has been were made with both the magazine readers—the sample group of students from ten universities in Bangkok, and with the beauty editors of three major magazines: Elle, Cosmopolitan and Cleo. The result shows that all three magazines - Elle, Cosmopolitan and Cleo - aim to respond to the lifestyle of modern women by helping them keep up with new trends and offer the idea to improve themselves. In the past two years, 2005-2006, the products about personality have been represented mostly in the magazines. This is probably because this kind of products is daily used in everyday life. The magazines encourage the readers to consume the products, reassuring them how the products can improve their looks. In most columns, there is the construction of beauty image through writing style using persuasive language, medical term and imagery. Moreover, the data collected from the sample group indicates that most university students receive information from televisions, friends and internet respectively. The most frequently read magazine is Cleo. Most students read magazines in beauty salons. The average of reading is one hour every 1-10 days or around 70-80 percent. Most of them started reading less than six months. Only some columns have been care-fully read. The reasons of reading are to find general knowledge and keep up with news and fashion. The sample group accepts beauty values in moderate to quite high rate. They are interested most in the topic of beauty and skin care. In proving the hypothesis comparing between the readers and the non-readers of the magazines under the condition of general variable, the result shows that the Thai-version foreign magazines significantly influence the beauty values of readers Media, friends and families are other major influences on the beauty values of university students.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.titleอิทธิพลของสื่อนิตยสารหัวนอกภาษาไทยต่อค่านิยมความงามของผู้อ่านen_US
dc.title.alternativeThai-Version Foreign Magazines and Their Influence on the Reader' Beauty Valuesen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineพัฒนามนุษย์และสังคมen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nonthacha_sa_front.pdf2.01 MBAdobe PDFView/Open
Nonthacha_sa_ch1.pdf1.63 MBAdobe PDFView/Open
Nonthacha_sa_ch2.pdf5.65 MBAdobe PDFView/Open
Nonthacha_sa_ch3.pdf1.91 MBAdobe PDFView/Open
Nonthacha_sa_ch4.pdf4.26 MBAdobe PDFView/Open
Nonthacha_sa_ch5.pdf5.52 MBAdobe PDFView/Open
Nonthacha_sa_ch6.pdf4.72 MBAdobe PDFView/Open
Nonthacha_sa_ch7.pdf1.89 MBAdobe PDFView/Open
Nonthacha_sa_back.pdf3.58 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.