Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4177
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorประเสริฐ อัครประถมพงษ์-
dc.contributor.authorสมพงษ์ เข็มทองวงศา-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2007-09-18T09:12:46Z-
dc.date.available2007-09-18T09:12:46Z-
dc.date.issued2542-
dc.identifier.isbn9743340742-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4177-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542en
dc.description.abstractจัดทำและพัฒนาระบบการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต โดยใช้การตรวจวินิจฉัยองค์กร ในโรงงานผลิตกระป๋อง โดยมุ่งหมายเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพของการผลิต และคงรักษาให้สอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กร โดยจะใช้รูปแบบสำหรับการตรวจวินิจฉัย ที่ปรับปรุงมาจากระบบ Lean management system รูปแบบที่ประยุกต์กับสายการผลิตตัวอย่างจะมีหัวข้อควบคุม 7 หัวข้อ คือ ระบบการบริหาร การศึกษา/การฝึกอบรม มาตรฐาน การเปลี่ยนแม่พิทพ์อย่างรวดเร็ว การปรับปรุงเครื่องจักร และกระบวนการ การบำรุงรักษาด้วยตนเอง และการวางแผนการบำรุงรักษา ผลการตรวจวินิจฉัยองค์กร ประกอบกับการวิเคราะห์สภาพปัจจุบัน กำหนดค่าดัชนีวัดประสิทธิภาพที่มีผลต่อความพึงพอใจของลูกค้า และต่อคุณภาพการผลิตได้ 3 ค่าคือ 1) เวลาในการเปลี่ยนแม่พิมพ์ (นาที/ครั้ง) 2) ค่าวัดความสามารถของกระบวนการ Cpk (ความยาว, ความฉาก) 3) ผลผลิตต่อวัน (แผ่น/วัน) โดยเทคนิควิธีที่ใช้ในการปรับปรุงค่าดัชนีทั้งสามค่าคือ เทคนิคการลดเวลาการเปลี่ยนแม่พิมพ์ Single minute exchange of die; SMED และเทคนิคการควบคุมกระบวนการทางสถิติ จากผลการวิจัยพบว่า เวลาในการเปลี่ยนแม่พิมพ์จาก 59.94 นาทีลดลงเหลือ 31.28 นาที ค่าความสามารถของกระบวนการคุณภาพความยาวจาก 0.94 เพิ่มขึ้นเป็น 1.38 และคุณภาพฉากจาก 0.46 เพิ่มขึ้นเป็น 1.10 ผลผลิตจาก 90,158 แผ่น/วัน เป็น 114,600 แผ่น/วัน หรือ 27.1% นอกเหนือจากผลเชิงตัวเลขแล้วพบว่า มีผลประโยชน์ต่อองค์กร 3 ประการคือ 1) การดำเนินกิจกรรมปรับปรุง ที่เลือกสรรหลังผ่านการวิเคราะห์สภาพปัจจุบัน และการตรวจวินิจฉัยองค์กร ได้รับความร่วมมือจากฝ่ายบริหารและพนักงานเป็นอย่างดี 2) วิธีการตรวจวินิจฉัยองค์กร เป็นการสร้างวัฒนธรรมการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องให้แก่องค์กร 3) มีการกระจายวิธีการตรวจวินิจฉัยองค์กรไปยังแผนกผลิตอื่นๆ และแผนกโลจิกติกของโรงงานตัวอย่างen
dc.description.abstractalternativeTo establish and to develop the improvement of manufacturing efficiency by using corporate diagnosis in a can making industry in order to develop and to maintain performance indexes adhere to factory's goal. The diagnosis model is modified from Lean management system. The model consists of seven control points, management system, education, standardization, quick changeover, equipment/process improvement, autonomous maintenance and planned maintenance. Three performance indexes are developed from the result of corporate diagnosis and current situation analsis. All indexes make customer satisfy and improve production process quality. Indexes are listed as below. 1) Changeover time (min/time) 2) Process capability index; Cpk (Length and Squareness) 3) Production output (sheet per day) Two techiques are used improve performance indexes. Firstly, single minute exchange of die; SMED to reduce changeover time. Secondly, statistical process control; SPC. The result show that changeover time is reduced from 59.94 min to 31.28 min, process capability index for length is improved from 0.94 to 1.38, for squareness is improved from 0.46 to 1.10 and production output is increased from 90,158 to 114,600 sheet a day or 27.1%. The improvement result not only quantitative but qualitative dimension also as follows : 1) management and operation team are very support the improvement techniques, which are selected after do a corporate diagnosis and current situation analysis. 2) corporate diagnosis create a continuous improvement culture in organization. 3) corporate diagnosis is deployed to all manufacturing and logistic department at the sample factory.en
dc.format.extent17154407 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectอุตสาหกรรมภาชนะบรรจุอาหารen
dc.subjectการบริหารคุณภาพโดยรวมen
dc.subjectการควบคุมการผลิตen
dc.subjectการกระจายการทำงานเชิงคุณภาพen
dc.subjectการเพิ่มผลผลิตทางอุตสาหกรรมen
dc.titleการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต โดยการใช้การตรวจวินิจฉัยองค์กร : กรณีศึกษาอุตสาหกรรมการผลิตกระป๋องen
dc.title.alternativeImprovement of manufacturing efficiency by using corporate diagnosis : a case study of the can making industryen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineวิศวกรรมอุตสาหการen
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorPrasert.A@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
sompong.pdf5.55 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.