Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41841
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | กมลชนก สุทธิวาทนฤพุฒิ | |
dc.contributor.advisor | จุฬา สุขมานพ | |
dc.contributor.author | บัญญัติ คันธา | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | |
dc.date.accessioned | 2014-03-25T11:20:14Z | |
dc.date.available | 2014-03-25T11:20:14Z | |
dc.date.issued | 2550 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41841 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 | en_US |
dc.description.abstract | การศึกษาวิจัยนี้ มุ่งศึกษาถึงหลักเกณฑ์การอนุญาตประกอบการขนส่งสินค้าด้วยรถบรรทุกสาธารณะตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 ที่อาจเป็นปัญหาอุปสรรคต่อการขนส่งสินค้าทางถนน เพื่อให้การอนุญาตประกอบการขนส่งสินค้าด้วยรถบรรทุก ได้รับการพัฒนาและเอื้อผลดีต่อภาคการขนส่งทางถนนซึ่งเป็นกิจกรรมอย่างหนึ่งในระบบโลจิสติกส์ของประเทศ ผลการศึกษาพบว่า หลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการอนุญาตประกอบการขนส่งสินค้าด้วยรถบรรทุกยังไม่สอดคล้องกับระบบเศรษฐกิจของประเทศที่ใช้ระบบเศรษฐกิจแบบผสม (Mixed Economy) ซึ่งภาคเอกชนสามารถเข้ามาดำเนินการได้อย่างเสรี โดยมีการกำหนดขั้นตอนและหลักเกณฑ์การอนุญาตไว้ค่อนข้างมาก แต่ในภาพรวมของการอนุญาตทั่วประเทศเป็นแบบไม่มีการกำหนดจำนวนรถ และในขณะเดียวกันการกำกับดูแลการเข้าสู่กิจการ การควบคุมอัตราค่าบริการ การกำกับดูแลการแข่งขันการกำกับดูแลการออกจากกิจการ ผู้ประกอบการขนส่งสามารถดำเนินการได้อย่างเสรี การขออนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถบรรทุก จึงน่าจะหมดความจำเป็นที่จะทำการพิจารณาอนุมัติโดยคระกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง หรือคณะอนุกรรมการที่แต่งตั้งโดยคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง การศึกษาได้เสนอแนะให้ มาตรการระยะสั้นควรมีการปรับปรุงคณะอนุกรรมการ ฯ ให้มีองค์คณะที่เหมาะสมเท่าที่จำเป็น การลดเอกสารหลักฐานประกอบคำขอที่ไม่จำเป็น ปรับหลักเกณฑ์การขออนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลให้เข้มงวดขึ้น ส่วนมาตรการระยะยาว แก้ไขกฎหมายให้เปลี่ยนหลักการจากการขออนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก มาเป็นการอนุญาตจากนายทะเบียนโดยตรง และการสร้างมาตรฐานการกำกับดูแลในเชิงคุณภาพการให้บริการ | |
dc.description.abstractalternative | This research studied on the criteria regarding the permit and issuance of truck transport license under the Land Transport Act (LTA), B.E. 2522 (1979), especially on the criteria or issues that may hamper road goods transport. The aims of this study are not only to improve the permit and issuance of truck transport licenses but also to support and develop road goods transport which is a major essential in the total logistics supply-chain of Thailand. The study found that the criteria regarding the permit and issuance of (truck) transport licenses are not concordance with present Thailand economy. Because Thailand economy is a mixed economic system in which a private can get in and operate in the market quite freely. The criteria in permitting and issuance of (truck) transport licenses under LTA, B.E. 2522 are quite complex and restricted, however, at the macro level there are no regulations regarding the optimal numbers of vehicles as well as the numbers of transport operators. At the same times, there are no regulations regarding market entry and exit, freight tariff, operations and competition thus a transport operator can act and operate in the market freely. This implies that the permit and issuance of (truck) transport license may not reasonable any more. In addition, it also implies the consideration by the Central Land Transport Control Board (CLTB) or a sub-committee assigned by the CLTB should be void or cancelled. This study has proposed as follows. In the short-run:- 1.There should be an adjustment in the sub-committee assigned by the CLTB regarding the permitting and issuance of (truck) transport licenses where the members should be reduced as necessity. 2.Streamlining unnecessary paper works. 3.Strengthening the criteria regarding the permitting and issuance of private transport In the long-run there should be an amendment in the LTA, B.E.2522. Firstly, the authorization of transport licenses by the CLTB should be delegated to the Registrar. Secondly, the principle of regulations should focus on how to support and promote better level of service to the operators and economy. | |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.title | แนวทางการพัฒนาหลักเกณฑ์การประกอบการขนส่งด้วยรถบรรทุกตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 | en_US |
dc.title.alternative | Guideline for development of criteria for operating truck transport services under the Land Transport ACT, B.E.2522 (1979) | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | การจัดการด้านโลจิสติกส์ (สหสาขาวิชา) | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Banyat_ka_front.pdf | 1.8 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Banyat_ka_ch1.pdf | 1.94 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Banyat_ka_ch2.pdf | 10.14 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Banyat_ka_ch3.pdf | 8.72 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Banyat_ka_ch4.pdf | 2.5 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Banyat_ka_ch5.pdf | 2.98 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Banyat_ka_back.pdf | 12.53 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.