Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41885
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorมาริษศักร์ กัลล์ประวิทธ์
dc.contributor.advisorสุมิตร ดุรงค์พงษ์ธร
dc.contributor.authorอดิเรก วชิรขจรชัย
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned2014-03-25T12:09:35Z
dc.date.available2014-03-25T12:09:35Z
dc.date.issued2550
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41885
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550en_US
dc.description.abstractการศึกษาผลของการให้เคตามีนเข้าช่องเหนือเยื่อดูราต่อระดับของไอโซฟลูเรนระหว่างการทำศัลยกรรมขาหลังในสุนัข 30 ตัวซึ่งแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ๆ ละ 10 ตัว ภายหลังเตรียมการสลบด้วยการฉีดเอซโปรมาซีนขนาด 0.05/กก. ร่วมกับมอร์ฟีน 0.3 มก./กก. เข้ากล้ามเนื้อ และชักนำสลบด้วยโปรโปฟอลขนาด 4 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ แล้วจึงฉีดน้ำเกลือ 1 มล./นน. ตัว 4.5 กก.เข้าช่องเหนือเยื่อดูราของไขสันหลังในสุนัขกลุ่มที่ 1 (กลุ่มควบคุมลบ) เคตามีน 4 มก./กก.ผสมกับน้ำเกลือให้มีปริมาตร 1 มล./นน. ตัว 4.5 กก.ในสุนัขกลุ่มที่ 2 (กลุ่มทดลอง) และบิวพิวาเคน 0.5% 1 มล./นน.ตัว 4.5 กก. ในกลุ่มที่ 3 (กลุ่มควบคุมบวก) ปรับและบันทึกความเข้มข้นของยาดมสลบไอโซฟลูเรนในระหว่างการทำศัลยกรรมที่ระดับน้อยที่สุดที่ทำให้สุนัขมีความลึกของการสลบเพียงพอสำหรับทำการผ่าตัดได้ ทุก 5 นาทีเป็นเวลา 60 นาที ควบคุมระดับความดันของคาร์บอนไดออกไซด์ในลมหายใจออกระหว่าง 30-35 มม. ปรอทตลอดการผ่าตัด วัดอัตราการเต้นของหัวใจ ความดันเลือดแดงและเปอร์เซ็นตร์ของฮีโมโกลบินที่จับกับออกซิเจนตั้งแต่ก่อนและภายหลังให้ยาเตรียมการสลบ และทุก 5 นาทีตลอด 60 นาทีของการทำศัลกรรม จากการเปรียบเทียบค่าสัญญาณชีพที่ทำการวัดทุกค่าของสุนัขทั้ง 3 กลุ่ม พบว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) ค่าเฉลี่ยความเข้มข้นของยาดมสลบไอโซฟลูเรนในช่วง 15, 30, 45 และ 60 นาทีแรกของการผ่าตัดมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ระหว่างสุนัขกลุ่มที่ 1 และ 2 และระหว่างกลุ่มที่ 1 และ 3 แต่ไม่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) ระหว่างสุนัขกลุ่มที่ 2 และ 3 โดยพบว่าสุนัขกลุ่มที่ 2 และ 3 ใช้ความเข้มข้นของยาดมสลบน้อยกว่าความเข้มข้นที่ใช้ในกลุ่มที่ 1 ประมาณ 33% และ 38% ตามลำดับจากการศึกษาครั้งนี้สรุปได้ว่าการให้เคตามีนฉีดเข้าช่องเหนือเยื่อดูราสามารถลดปริมาณการใช้ยาดมสลบไอโซฟลูเรนในสุนัขที่เข้ารับการทำศัลยกรรมขาหลังและไม่มีผลกระทบต่อระบบไหลเวียนเลือด
dc.description.abstractalternativeThe effects of epidural ketamine on isoflurane concentration were studied clinically during hindlimb surgery in 30 dogs divided into 3 groups of 10 dogs. All dogs were intramuscularly premedicated with acepromazine (0.05 mg/kg) and morphine (0.3 mg/kg). Anesthesia was induced with propofol (4 mg/kg) intravenously. Normal saline (NSS) at the volume of 1 ml/4.5 kg (negative control group), ketamine 4 mg/kg diluted in NSS to a volume of 1 ml/4.5 kg (treatment group). and 0.5% bupivacaine at the volume of 1 ml/4.5 kg (positive control group) were epidurally administered in group 1, 2 and 3 respectively. Isoflurane at the lowest concentration for maintaining surgical anesthesia was recorded at 5-minute interval for 60 minutes. ETCO2 was maintained at 30-35 mmHg during the operations. Heart rate, blood pressures, and SpO2 were recorded before and after premedication, and at 5-minute intervals during 60 minutes of surgery. During surgery, all vital parameters of all 3 groups were not significantly different (p>0.05). There were significant differences (p<0.05) of the average isoflurane concentrations during 15, 30, 45 and 60 minutes of surgery between group 1 and 2 and between group 1 and 3 but not between group 2 and 3. Isoflurane concentrations used in group 2 and 3 were less than that used in group 1 approximately 33% and 38%, respectively. In conclusion, epidural ketamine had efficacy on reducing isoflurane concentration during hindlimb surgery and had no adverse effect on circulatory system.
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1240-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectสุนัข -- ศัลยกรรม
dc.titleผลของการให้เคตามีนเข้าช่องเหนือเยื่อดูราต่อระดับของไอโซฟลูเรนระหว่างการทำศัลยกรรมขาหลังในสุนัขen_US
dc.title.alternativeEffect of Epidural Ketamine on Isoflurane Concentration during Hindlima Surgery in Dogsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineศัลยศาสตร์ทางสัตวแพทย์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2007.1240-
Appears in Collections:Vet - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Adireak_wa_front.pdf1.89 MBAdobe PDFView/Open
Adireak_wa_ch1.pdf900.91 kBAdobe PDFView/Open
Adireak_wa_ch2.pdf2.42 MBAdobe PDFView/Open
Adireak_wa_ch3.pdf1.47 MBAdobe PDFView/Open
Adireak_wa_ch4.pdf2.55 MBAdobe PDFView/Open
Adireak_wa_ch5.pdf1.67 MBAdobe PDFView/Open
Adireak_wa_back.pdf5.78 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.