Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41886
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสมยศ ชิดมงคล
dc.contributor.authorทุติยา จันทร์ปลอด
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
dc.date.accessioned2014-03-25T12:10:06Z
dc.date.available2014-03-25T12:10:06Z
dc.date.issued2550
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41886
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550en_US
dc.description.abstractการวิจัยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1.ศึกษาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ขอนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้กลวิธีการรู้คิดเทียบกับเกณฑ์ขั้นต่ำ คือ สูงกว่าร้อยละ 50 ของคะแนนที่ได้จากแบบวัดความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ 2.เปรียบเทียบความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้กลวิธีการรู้คิดกับกลุ่มปกติ 3.เปรียบเทียบความสามารถในการกำกับตนเองในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ก่อนและหลังการทดลองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้กลวิธีการรู้คิด 4.เปรียบเทียบความสามารถในการกำกับตนเองในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้กลวิธีการรู้คิดกับกลุ่มปกติ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2โรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ จังหวัดนครศรีธรรมราช กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนท่านครญาณวโรภาสอุทิศ จำนวน 80 คน เป็นนักเรียนกลุ่มทดลองจำนวน 40 คน และกลุ่มควบคุมจำนวน 40 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้กลวิธีการรู้คิดและนักเรียนกลุ่มควบคุมได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยกลวิธีการรู้คิด และแผนแบบปกติ แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้โจทย์หาคณิตศาสตร์ และแบบวัดการกำกับตนเองในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยนำมาหาค่ามัชฌิมเลขคณิต ค่ามัชฌิมเลขคณิตร้อยละ ค่าส่วเนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1.นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้กลวิธีการรู้คิดมีความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์สูงกว่าขั้นต่ำ คือสูงกว่าร้อยละ 50 ของคะแนนสอบทั้งฉบับ 2.นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดกิจรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้กลวิธีการรู้คิดมีความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3.นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้กลวิธีการรู้คิดมีความสามารถในการกำกับตนเองในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบปกติ ที่ระดับนัยสำคัญ .05
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were: 1) to study mathematical problem solving abilities of eighth grade students being taught by organizing mathematics learning activities using the metacognitive strategies and by conventional approach, 3) to compare self-regulation in learning mathematics of eighth grade students before and after being taught by organizing mathematics learning activities using the metacognitive strategies and 4) to compare self-regulation in learning mathematics of eighth grade students between groups being taught by organizing mathematics learning activities using the metacognitive strategies and by organizing mathematics learning activities using conventional approach. The population of the research were eighth grade students in schools under the Office of The Basic Education Commission, Ministry of Education in Nakhonsrithammarat province. The subjects were eighth grade students of Tanakornyanwarobhat-aou-tit school in academic year 2007. They were divided into two groups, one experimental group with 40 students and the other controlled group with 40 students. Students in experimental group were taught by organizing mathematics learning activities using the metacognitive strategies and those in controlled group were taught by conventional approach. The research instruments were the lesson plans divided into treatment plans and conventional plans, the mathematical problem solving ability test and self-regulation in learning mathematics scale. The data were analyzed by means of arithmetic means, percentage of mean, standard deviations, and t – tests. The results of the study revealed that: 1.Mathematical problem solving abilities of eighth grade students being taught by organizing mathematics learning activities using the metacognitive strategies were higher than the minimum criterion of 50 percent. 2. Mathematical problem solving abilities of eighth grade students being taught by organizing mathematics learning activities using the metacognitive strategies were higher than those of students being taught by conventional approach at .05 level of significance. 3.Self-regulation in learning mathematics of eighth grade students after being taught by organizing mathematics learning activities using the metacognitive strategies were higher than before being taught at .05 level of significance. 4.Self-regulation in learning mathematics of eighth grade students being taught by organizing mathematics learning activities using the metacognitive strategies were higher than those of students being taught by conventional approach at .05 level of significance.
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1338-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectคณิตศาสตร์ -- กดารศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
dc.subjectการเรียนรู้จากการรู้คิด
dc.titleผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้กลวิธีการรู้คิดที่มีต่อความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์และการกำกับตนเองในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จังหวัดนครศรีธรรมราชen_US
dc.title.alternativeEffects of using metacognitive strategies in organizing mathematics activities on mathematical problem solving ability and self-regulation in learning mathematics of eighth grade students in Nakhonsrithammaraten_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการศึกษาคณิตศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2007.1338-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thutiya_ja_front.pdf2.02 MBAdobe PDFView/Open
Thutiya_ja_ch1.pdf2.13 MBAdobe PDFView/Open
Thutiya_ja_ch2.pdf9.22 MBAdobe PDFView/Open
Thutiya_ja_ch3.pdf4.77 MBAdobe PDFView/Open
Thutiya_ja_ch4.pdf1.13 MBAdobe PDFView/Open
Thutiya_ja_ch5.pdf3.67 MBAdobe PDFView/Open
Thutiya_ja_back.pdf10.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.