Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4213
Title: ความชุกของภาวะความบกพร่องทางเพศในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ที่ใช้ยาต้านเศร้ากลุ่มเซโรโทนิน สเปซิฟิก รีอัพเทค อินฮิบิเตอร์
Other Titles: Prevalence of sexual dysfunction for depressive patient who use serotonin specific reuptake inhibitors
Authors: จิตราภรณ์ บุญถนอม
Advisors: นิพัทธิ์ กาญจนธนาเลิศ
วีนัส อุดมประเสริฐกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Nipatt.K@Chula.ac.th
Venus.U@Chula.ac.th
Subjects: ความผิดปกติทางเพศ
ความซึมเศร้า
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความชุกของภาวะบกพร่องทางเพศในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่ได้รับยาต้านเศร้ากลุ่มเซโรโทนิน สเปซิฟิก รีอัพเทค อินฮิบิเตอร์ซึ่งมารับบริการที่ตึก ภปร. ชั้น 12 โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จำนวน 102 คน รูปแบบการวิจัยเป็นแบบพรรณนา โดยศึกษาเฉพาะช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ปัจจัยที่ศึกษา ได้แก่ ปัจจัยพื้นฐาน ปัจจัยจากยาต้านเศร้ากลุ่มเซโรโทนิน สเปซิฟิก รีอัพเทคอินฮิบิเตอร์ แบบสอบถามที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วยข้อมูลพื้นฐาน ข้อมูลการรักษาพยาบาลข้อมูลเกี่ยวกับเพศสัมพันธ์ ข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมทางเพศก่อน-หลัง ที่ได้รับการรักษาด้วยยากลุ่มเซโรโทนิน สเปซิฟิก รีอัพเทค อินฮิบิเตอร์ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง โดยศึกษาข้อมูลจากหนังสือจิตเวชศาสตร์เรื่องความบกพร่องทางเพศ ทั้งยังดัดแปลงจากแบบสอบถามภาวะบกพร่องทางเพศของ Arizona Sexual Experience Inventory และนำข้อมูลที่ได้มาหาจำนวน ร้อยละและการทดสอบไคสแคว์ ผลการศึกษาความชุกของภาวะบกพร่องทางเพศแบ่งเป็น 4 ด้านดังนี้ ความชุกของภาวะบกพร่องทางเพศด้านความต้องการทางเพศกรณีไม่มีจินตนาการทางเพศ ร้อยละ 21.6 ไม่มีอารมณ์ทางเพศจากการดูหรือการอ่าน ร้อยละ 14.7 และไม่มีอารมณ์จากการสัมผัสหรือเล้าโลม ร้อยละ 19.6 ความชุกของภาวะบกพร่องทางเพศด้านการตื่นตัวทางเพศกรณีผู้ป่วยหญิงไม่มีน้ำหล่อลื่นในช่องคลอดร้อยละ 41.6 กรณีผู้ป่วยชายที่องคชาติไม่สามารถแข็งตัวหรือองคชาติไม่สามารถคงความแข็งตัวได้ ร้อยละ 28.6 ความชุกของภาวะบกพร่องทางเพศด้านความสุขสุดยอดทางเพศกรณีไม่มีความสุขสุดยอดพบร้อยละ 22.5 มีความสุขสุดยอดได้เร็วหรือช้ากว่าความต้องการ ร้อยละ 40.2 กรณีผู้ป่วยชายไม่หลั่งน้ำอสุจิพบ ร้อยละ 4.8 และ การหลั่งน้ำอสุจิได้ช้าหรือเร็วกว่าความต้องการพบ ร้อยละ 38.1 ความเจ็บปวดที่เกิดจากการร่วมเพศ ร้อยละ 30 และหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ร้อยละ 40.2
Other Abstract: The purpose of this research was to study prevalence of sexual dysfunctions for depressive patients who had used serotonin specific reuptake inhibitors. The participants were 102 depressive patients who treated which serotonin specific reuptake inhibitors at 12 floors King Building Chulalongkorn Memorial Hospital. This research is a descriptive and cross-sectional study. Factors were demographic factors and serotonin specific reuptake inhibitors. The questionnaire was the questions about demographic data, treatment data, sexual response data between and treated which serotonin specific reuptake inhibitors. The researcher built the questions by studied psychology text book and applied questionnaires of Arizona Sexual Experience Inventory. Data were analyzed by percentage and chi-square test. Result of the prevalence of sexual dysfunctions for depressive patients who have been used serotonin specific reuptake inhibitors revealed sexual desire disorder (Patient couldn't have desire for sexual activities when they had read the erotic story or seen the pornographic books 21.6%, patient didn't have libido when they had read the erotic story or seen the pornographic books 14.7% patient didn't have libido when couple had simulated at erotic zone 19.6%), frigidity 41.6%, impotence 28.6% orgasmic disorder (Patient didn't have orgasm 22.5% and delay or fast orgasm 40.2%, inhibited ejaculation 4.8%, premature ejaculation or delay ejaculation 38.1%), dyspareunia 30% and avoid sexual activity 40.2%
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เพศศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4213
ISBN: 9741765517
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
chitraporn.pdf2.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.