Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42199
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorไตรรัตน์ จารุทัศน์-
dc.contributor.advisorสมบัติ วนิชประภา-
dc.contributor.authorภูริต สุทธิยุทธ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์-
dc.coverage.spatialไทย-
dc.coverage.spatialกรุงเทพฯ-
dc.date.accessioned2014-04-18T03:38:23Z-
dc.date.available2014-04-18T03:38:23Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42199-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555en_US
dc.description.abstractภายหลังเหตุอุทกภัย ปี พ.ศ.2554 โครงการอสังหาริมทรัพย์ประเภทอาคารชุดพักอาศัย มีอัตราการเติบโตที่สูงสุด ร้อยละ 14 โดยส่วนใหญ่อยู่ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร และด้านภาพรวมความเสียหายที่เกิดจากเหตุอุทกภัย พื้นที่กรุงเทพมหานครได้รับความเสียหายมากที่สุดเช่นกัน โดยโครงการอาคารชุดพักอาศัยถือเป็นอสังหาริมทรัพย์ประเภทหนึ่ง ซึ่งในด้านความเสียหายที่เกิดขึ้นกับโครงการ ค่าใช้จ่ายจะถูกเก็บรวมกับค่าส่วนกลางที่ผู้พักอาศัยจะเป็นผู้รับผิดชอบทั้งหมด อีกทั้งเมื่อโครงการไม่สามารถป้องกันอุทกภัยได้ จะทำให้เกิดปัญหาด้านที่อยู่อาศัยตามมา ซึ่งเป็นเหตุผลที่ทำให้เกิดงานวิจัยที่ทำการศึกษาเกี่ยวกับแนวทางการป้องกันอุทกภัยสำหรับโครงการอาคารชุดพักอาศัย เพื่อรองรับเหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้น การวิจัยในครั้งนี้ ทำการศึกษากลุ่มตัวอย่างอาคารชุดพักอาศัยในเขตพื้นที่อุทกภัย ปี พ.ศ.2554 เพื่อศึกษาผลกระทบที่เกิดขึ้นกับตัวโครงการ และทัศนคติของผู้พักอาศัย รวมทั้งทำการศึกษาการปรับตัวของโครงการ เกี่ยวกับแนวทางป้องกันอุทกภัยที่เกิดขึ้นภายหลังอุทกภัย ปี พ.ศ.2554 เพื่อหาแนวทางการป้องกันที่เหมาะสม โดยทำการสำรวจและเปรียบเทียบโครงการที่สามารถป้องกันอุทกภัยได้และไม่สามารถป้องกันได้ อีกทั้งเป็นโครงการที่มีลักษณะทางกายภาพคล้ายกัน จำนวน 4 โครงการใน 2 พื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยรวบรวมปัจจัยที่มีผลต่อการป้องกันอุทกภัยของโครงการ และแนวทางการป้องกันอุทกภัยที่เหมาะสม ซึ่งจากข้อค้นพบสำหรับโครงการที่สามารถป้องกันอุทกภัยได้ มีลักษณะโครงการที่มีการเตรียมระบบโครงการ ด้านกายภาพทั้งบนดินและใต้ดินให้สามารถปรับเปลี่ยนเป็นระบบปิดได้ อีกทั้งมีการจัดการการป้องกันอุทกภัยที่เหมาะสม ได้แก่ ความร่วมมือของนิติบุคคลและผู้พักอาศัยในโครงการที่ไม่อพยพออก และได้รับความช่วยเหลือจากผู้ประกอบการ เจ้าของโครงการเดิม ทำให้สามารถป้องกันอุทกภัยได้สมบูรณ์ แต่สำหรับโครงการที่ไม่สามารถป้องกันอุทกภัยได้ ส่วนใหญ่ทำการป้องกันเฉพาะพื้นที่ห้องเครื่องควบคุมระบบโครงการเท่านั้น เพราะเป็นพื้นที่ที่สำคัญที่สุดในโครงการ ซึ่งถ้าได้รับความเสียหายจะทำให้งานระบบภายในอาคารไม่สามารถทำงานได้ ส่งผลทำให้ ผู้พักอาศัย ไม่สามารถใช้ชีวิตอยู่ในโครงการได้อีกด้วย ข้อเสนอแนะสำหรับโครงการที่มีอยู่เดิมหรือโครงการที่ก่อสร้างใหม่ ควรตรวจสอบแนวทางป้องกันอุทกภัยให้เหมาะสมกับรูปแบบโครงการ โดยส่วนแรกควรตรวจสอบสภาพกายภาพบนดินที่สามารถมองเห็นด้วยตา ได้แก่ แนวรั้วรอบ ถนนทางเข้า-ออกหรือบริเวณพื้นที่ที่มีความสำคัญ เช่น ห้องเครื่องควบคุมระบบโครงการ ควรใช้แนวทางป้องกันแบบถาวรหรือชั่วคราวตามความเหมาะสมของการป้องกัน อีกทั้งตรวจสอบสภาพแวดล้อมภายนอกโครงการในพื้นที่ข้างเคียงที่เป็นจุดเสี่ยง ได้แก่ พื้นที่ที่ติดคลอง/ลำรางสาธารณะ หรือพื้นที่อื่นๆ ควรป้องกันพื้นที่ติดบริเวณจุดเสี่ยงภายนอกเป็นพิเศษ ในส่วนที่สองตรวจสอบกายภาพใต้ดินโครงการ บริเวณจุดเชื่อมต่อแนวท่อระบายน้ำสาธารณะ โดยติดตั้งระบบประตูน้ำหรือเพิ่มบ่อสูบรวมกับประตูน้ำ ให้สามารถปรับระบบสุขาภิบาลโครงการเป็นระบบปิดได้ และส่วนสุดท้ายโครงการควรมีแนวทางการจัดการด้านการป้องกันอุทกภัยของโครงการที่เหมาะสม ซึ่งจากการสำรวจข้อมูลค่าก่อสร้างของโครงการที่เตรียมระบบป้องกันอุทกภัยในเบื้องต้น พบว่า งบประมาณจะเพิ่มขึ้นไม่ถึงร้อยละ 0.1 ของราคาค่าก่อสร้างเดิมen_US
dc.description.abstractalternativeSince the flood in Thailand in 2011, the number of condominiums projects has increased by 14%, with most located in the Bangkok municipality. The flood affected many parts of Bangkok where condos were located , adding repair costs to the already existing expenses of condo owners. Since the physical foundation of condo buildings cannot protect against flooding, it can be expected that there will be further problems. This is what has prompted this study for a plan to prevent future flooding of condos buildings in these areas. This study focuses on the condos that were damaged by flooding in 2011. The plan is to collect information on the effects of the flooding and the tenant’s attitudes regarding it ; and furthermore, to study the adjustments made to condo projects after the flood in order to find the most suitable method of flood prevention. The survey of this study included projects that were able to prevent flooding as well as the projects that could not. These four projects were studied in two areas with similar geography. The aim is to determine the factors that may help to find a suitable solution to prevent future flooding. According to the findings, the projects that could withstand the flood were the projects that had been prepared to prevent both above and underground flooding. These projects also had a suitable flood management plan that included the cooperation of the condo committee. the tenants who remained during the flooding, and the project manager. On the other hand, the projects that could not prevent flooding had taken only precautions regarding the foundation for fear that if this vital part should be damaged and the entire building will become uninhabitable. The recommendation for both completed and ongoing projects is to determine the most appropriate flood prevention measures for its building type. Both temporary and permanent prevention methods should be properly applied regarding the visible geographical features such the street entrance or critical areas such the system control room. In addition, it is also necessary to investigate the surrounding areas which might be at risk of flooding such as canals or public water supplies, as well as other risk areas which should be closely monitored. Next, the underground system connected to the public drainage system should be investigated. and an appropriate project drainage system should be set up where sumps can be closed or adjusted once the flood occurs. The study found that the additional cost for preparing these basic preventions requires an increase of less than 0.1% for the initial cost of the construction.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1592-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการจัดการอสังหาริมทรัพย์ -- ไทย -- กรุงเทพฯen_US
dc.subjectที่อยู่อาศัย -- ความเสียหายจากอุทกภัย -- ไทย -- กรุงเทพฯen_US
dc.subjectน้ำท่วม -- ไทย -- กรุงเทพฯen_US
dc.subjectน้ำท่วม -- ไทย -- 2554en_US
dc.subjectReal estate management -- Thailand -- Bangkoken_US
dc.subjectDwellings -- Flood damage -- Thailand -- Bangkoken_US
dc.subjectFloods -- Thailand -- Bangkoken_US
dc.subjectFloods -- Thailand -- 2011en_US
dc.titleการศึกษาผลกระทบและการปรับตัวสำหรับอสังหาริมทรัพย์ ประเภทอาคารชุด ภายหลังเหตุอุทกภัย ปี พ.ศ.2554 : กรณี ศึกษาพื้นที่กรุงเทพมหานคร ถนนลาดพร้าวและถนนปิ่นเกล้า-รัชดาen_US
dc.title.alternativeImprovements for high-rise real estate projects after flood crisis in Thailand of 2011 : case studies of Bangkok area, Lat Phrao road and Pin Klao-Ratchada roaden_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorTrirat.j@chula.ac.th-
dc.email.advisorSombat@ieee.org-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2012.1592-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
phurich_su.pdf48.87 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.