Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42205
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorไตรรัตน์ จารุทัศน์-
dc.contributor.advisorมานพ พงศทัต-
dc.contributor.authorรพีพรรณ ทองพรายวงศ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์-
dc.coverage.spatialไทย-
dc.coverage.spatialนครราชสีมา-
dc.date.accessioned2014-04-18T07:49:27Z-
dc.date.available2014-04-18T07:49:27Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42205-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555en_US
dc.description.abstractสภาพการณ์ตลาดการท่องเที่ยวโลกในปัจจุบันมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและอยู่ในอัตราที่เพิ่มขึ้น องค์การการท่องเที่ยวโลก (World Tourism Organization: UNWTO) คาดการณ์ว่าในปี 2563 จะมีนักท่องเที่ยวเดินทางระหว่างประเทศเป็นจำนวนประมาณ 1.5 พันล้านคน โดยท่องเที่ยวในทวีปเอเชียประมาณ 397 ล้านคน คิดเป็นอัตราการเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 6.5 ต่อปี สำหรับประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น โดยในปี 2555 การท่องเที่ยวสร้างรายได้จากตลาดต่างประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 9 เมื่อเทียบกับปี 2554 ประมาณรายได้ 846,000 ล้านบาท และมีจำนวนนักท่องเที่ยว 20.58 ล้านคน ในปัจจุบันธุรกิจที่พักมีการพัฒนาอย่างมากมายเพื่อรองรับกลุ่มนักท่องเที่ยวที่แสวงหา ประสบการณ์ สิ่งใหม่มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ(Eco-Tourism)ที่กำลังนิยม ส่งผลให้การพัฒนาโรงแรม นำธรรมชาติเข้ามาสร้างเอกลักษณ์ คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น ก่อให้เกิดโรงแรมบูติคสไตล์ Natural ที่เน้นธรรมชาติ สุขภาพ และการผ่อนคลาย เพื่อตอบรับกระแสการท่องเที่ยวแนวใหม่ข้างต้น จึงมีการพัฒนาโรงแรมประเภท บูติค แคมป์ปิ้ง รีสอร์ท ที่มีความเป็นมิตรกับธรรมชาติ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนา พร้อมทั้งเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงและพัฒนา ให้มีความเหมาะสมกับนักท่องเที่ยวกลุ่มเป้าหมาย เพิ่มมูลค่าสูงสุดให้ผู้ประกอบการ ในการศึกษาผู้วิจัยได้แบ่งกลุ่มโรงแรมประเภท บูติค แคมป์ปิ้ง รีสอร์ท โดยวิเคราะห์จากระดับราคาห้องพัก ออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1)ระดับบน 2)ระดับกลาง 3)ระดับล่าง โดยทำการศึกษาโครงการคีรีมายา กอล์ฟ รีสอร์ท แอนด์ สปา และฟาร์มโชคชัย บูติค แคมป์ จังหวัด นครราชสีมา ซึ่งอยู่ในกลุ่มระดับบน และระดับกลางตามลำดับ จากการศึกษาผู้วิจัยพบว่า นักท่องเที่ยวกลุ่มตัวอย่าง มีสัดส่วนเพศชายเท่าๆกับเพศหญิง อายุ 30-39ปี นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เลือกเข้าพักโรงแรมบูติก 1-2ครั้งต่อปี และเลือกกลับมาพักที่โรงแรมเดิม ปัจจัยในการเลือกพักมากที่สุดคือ สไตล์การออกแบบ ทำเลที่ตั้ง การบริการ กิจกรรมภายใน สิ่งอำนวยความสะดวก ตามลำดับ และปัจจัยในการเลือกรูปแบบโรงแรมคือ ความสวยงาม ให้บรรยากาศที่ดี ตรงกับความชอบไลฟ์สไตล์ของตนเอง ต้องการความทันสมัยแปลกใหม่ ตามลำดับ นอกจากนี้รูปแบบพื้นที่ใช้สอยที่จะสามารถเพิ่มมูลค่าได้ ส่วนใหญ่นักท่องเที่ยวมีการคำนึงถึงสภาพแวดล้อมมากขึ้น ต้องการใกล้ชิดธรรมชาติ มีความกลมกลืนกับธรรมชาติ ในทุกส่วนขององค์ประกอบในการออกแบบ พร้อมทั้งนักท่องเที่ยวต้องการความสงบ เป็นส่วนตัวสูง และการบริการที่พิเศษ นอกจากนี้เมื่อนำมาเปรียบเทียบ อัตราการเข้าพัก รายได้และต้นทุนต่อตารางเมตร พบว่า กลุ่มระดับกลาง สามารถสร้างมูลค่าให้กับโครงการได้ดีกว่า ข้อเสนอแนะ เนื่องจากนักท่องเที่ยวเลือกเข้าพักในช่วง High season(พฤศจิกายน ถึง กุมพาพันธ์)เป็นส่วนใหญ่ ส่งผลให้ผู้ประกอบการควรวางแผนการตลาด ปรับโปรโมชั่นเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาพักในช่วง Low season มากยิ่งขึ้น ดังนั้นการพัฒนาโรงแรม บูติค แคมป์ปิ้ง รีสอร์ท ควรสร้างจุดขาย โดยเน้นไปที่ความแตกต่าง เอกลักษณ์เฉพาะ ของทำเลที่ตั้ง ผลิตภัณฑ์ กิจกรรม การบริการ พร้อมทั้งประสบการณ์ที่นักท่องเที่ยวจะได้รับ จึงจะส่งผลให้โครงการมีความน่าสนใจ สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มขึ้น พร้อมทั้งควรมีการพึ่งพาอาศัยกันกับธรรมชาติ จึงก่อให้เกิดความยั่งยืนในการพัฒนาโครงการต่อไปen_US
dc.description.abstractalternativeThe current tourism market is growing rapidly.The World Tourism Organization (UNWTO) forecasted that in 2020 approximately 1.5 billion people will travel internationally, and approximately 397 million people will travel in Asia, which is an average growth of 6.5 percent per year.Thailand tourism revenue in 2012 from international markets increased by 9 percent compared with 2011 with 846 million baht and 20.58 million people visiting the country. A variety of hotels have been created to serve a range of tourists who are becoming more adventurous and increasingly interested in ecotourism. As a result, the hotel development plans to make hotels more environmentally friendly have lead to boutique hotels with more natural style with an emphasis on health and relaxation.There has also been development of boutique camping resorts that are environmentally friendly.This research aimed to study the process of boutique camping resort development and to propose improvements of resorts to serve the target group and add value to the product. The study classified the boutique camping resorts into three groups which analyze the room rates as follows: 1)Luxury 2)Mid range 3)Camp ground. The case study of the research are Kirimaya Golf Resort & Spa and Farm Chokchai Boutique Camp, Nakornratchasima Province, which is the luxury level and Mid range, respectively. According to the study, the researchers found that an proportion of male females, aged between 30-39. They stayed at the boutique camping resort once or twice a year and tended to choose the same hotel as they did before. The major factors for choosing the boutique camping resort were design style, location, service, and facilities, respectively.The major factors for choosing the type of hotel were a beautiful atmosphere, match to their lifestyle preferences, and modern style, respectively. The majority of tourists think about the environmental impact. The element of design should blend with nature. They want more privacy, a calm atmosphere and special service. In addition, the researcher compared occupancy levels, income and the cost per square meter found that the mid range creates better revenue. It is recommended that due to the number of tourists choosing to stay during the high season, the developer will adjust the marketing plan and promotion to attract tourists to stay during the low season. Thus the development of Boutique camping resorts needs to focus on unique and market differentiation in element of hotel as following: location, product, activity, service and experience. The project will be interesting and successful. Accordingly the project should be related to nature for enhanced sustainable development.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2012.736-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการพัฒนารีสอร์ท -- ไทย -- นครราชสีมาen_US
dc.subjectการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ -- ไทย -- นครราชสีมาen_US
dc.subjectคีรีมายา กอล์ฟ รีสอร์ท แอนด์ สปาen_US
dc.subjectฟาร์มโชคชัย บูติค แคมป์en_US
dc.subjectResort development -- Thailand -- Nakhon Ratchasimaen_US
dc.subjectReal estate development -- Thailand -- Nakhon Ratchasimaen_US
dc.subjectKirimaya Golf Resort & Spa Projecten_US
dc.subjectFarm Chokchai Boutique Campen_US
dc.titleกระบวนการพัฒนาโครงการ บูติค แคมป์ปิ้ง รีสอร์ท : กรณีศึกษา คีรีมายา กอล์ฟ รีสอร์ท แอนด์ สปา และ ฟาร์มโชคชัย บูติค แคมป์ จังหวัดนครราชสีมาen_US
dc.title.alternativeThe development process of boutique camping resort : cases study of Kirimaya Golf Resort & Spa Project and Farm Chokchai Boutique Camp, Nakornratchasima Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorTrirat.j@chula.ac.th-
dc.email.advisormbongsadat@yahoo.co.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2012.736-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
rapeepun_th.pdf28.51 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.