Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4224
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศุภจิตรา ชัชวาลย์-
dc.contributor.advisorปรีดา บุญ-หลง-
dc.contributor.authorพงศธร กล่อมสกุล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.date.accessioned2007-09-21T09:52:25Z-
dc.date.available2007-09-21T09:52:25Z-
dc.date.issued2547-
dc.identifier.isbn9741765185-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4224-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547en
dc.description.abstractการศึกษาผลของการให้กรดแอบไซซิก (ABA) จากภายนอกที่มีต่อการเติบโต การสะสมโพรลีน และการแสดงออกของยีน delta[superscript 1]-pyrroline-5-carboxylate synthetase (P5CS) ในข้าวสองพันธุ์/สายพันธุ์ คือ ข้าวพันธุ์เหลืองประทิว 123 (LPT123) เปรียบเทียบกับข้าวพันธุ์เหลืองประทิว 123 สายพันธุ์ทนเค็ม (LPT123-TC171) ภายใต้ภาวะแล้งและภาวะเค็ม พบว่าภาวะเค็มมีผลในการยับยั้งการเติบโตของข้าว LPT123 มากกว่าข้าว LPT123-TC171 โดยที่ข้าว LPT123 มีการลดลงของน้ำหนักสดต้นอย่างมีนัยสำคัญ รวมทั้งยังมีอัตราในการสะสมน้ำหนักแห้งของต้นและรากลดลงด้วย ในขณะที่ข้าว LPT123-TC171 ที่เจริญอยู่ภายใต้ภาวะเดียวกันสามารถรักษาน้ำหนักสดต้นเอาไว้ได้ และยังตรวจพบการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักแห้งของต้นและรากด้วย การเติบโตของข้าว LPT123 ได้รับผลกระทบจากภาวะแล้งมากกว่าข้าว LPT123-TC171 และยังพบว่าข้าว LPT123-TC171 มีอัตราการอดตายมากกว่า LPT123 ทั้งในภาวะแล้งและภาวะเค็ม ซึ่งแสดงให้เห็นว่ายีนที่ต้านทานต่อภาวะแล้งและยีนที่ต้านทานต่อภาวะเค็มของข้าว LPT123-TC171 มีความซ้อนทับกันอยู่ การให้กรดแอบไซซิกจากภายนอกโดยการฉีดพ่นทางใบแก่ข้าวทั้งสองพันธุ์/สายพันธุ์ ส่งผลให้ต้นกล้าข้าวมีความสามารถในการปรับตัวให้มีความทนทานต่อทั้งภาวะแล้งและภาวะเค็มได้ดีขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม ความสามารถในการทนของต้นกล้าข้าวที่เพิ่มขึ้นก็ยังขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของกรดแอบไซซิกที่ได้รับด้วย ในทางตรงกันข้ามหากฉีดพ่นกรดแอบไซซิกให้แก่ต้นกล้าข้าวที่เจริญอยู่ภายใต้ภาวะปกติ กลับส่งผลในการชะลอการเจริญเติบโตของต้นกล้าข้าว ภาวะเค็มส่งผลให้มีการสะสมโพรลีนและชักนำให้มีการแสดงออกของยีน P5CS ได้มากกว่าภาวะแล้ง และการตอบสนองต่อภาวะเครียดดังกล่าวของข้าว LPT123-TC171 จะเกิดขึ้นได้รวดเร็วกว่าข้าว LPT123 การฉีดพ่นกรดแอบไซซิกให้แก่ต้นกล้าข้าวซึ่งอยู่ภายใต้ภาวะเครียดจะส่งผลให้มีการสะสมโพรลีนได้รวดเร็วขึ้นและมีการแสดงออกของยีน P5CS ได้มากขึ้น ซึ่งผลจากการทดลองดังกล่าวนำไปสู่สมมติฐานที่ว่าการชักนำให้มีการแสดงออกของยีน P5CS ร่วมกับการสะสมโพรลีนที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งสามารถถูกชักนำได้ด้วยการให้กรดแอบไซซิกจากภายนอกนั้น อาจมีส่วนช่วยให้ต้นกล้าข้าวมีความสามารถในการต้านทานต่อภาวะแล้งและภาวะเค็มได้ดียิ่งขึ้นen
dc.description.abstractalternativeThe effects of exogenous abscisic acid application on growth, proline accumulation and delta[superscript 1]-pyrroline-5-carboxylate synthetase (P5CS) gene expression were determined in two rice cultivar/line, which were Leung Pra Tew 123 (LPT123) and the salinity-tolerant line, Leung Pra Tew 123-TC171 (LPT123-TC171), under drought- and salt- stress conditions. It was found that salt stress inhibited growth of LPT123 more than LPT123-TC171. Shoot fresh weight of LPT123 was reduced significantly and the accumulation rates of shoot and root dry weight were decreased, while LPT123-TC171 grown in the same condition could maintain shoot fresh weight and the increase in shoot and root dry weight was detected. Growth of LPT123 was more affected by drought stress than LPT123-TC171. Under both salt- and drought-stress condition, the higher survival rate was detected in LPT123-TC171, when compared to the original rice cultivar, LPT123. These suggested the overlapping between salt- and drought-tolerant gene expressionof LPT123-TC171. Spraying of abscisic acid to leaves of both rice lines resulted in improvement of tolerant ability to both salt- and drought-stress condition. However, the improvement of tolerant ability of rice seedling depended also on the concentration of abscisic acid. On the other hand, application of abscisic acid to rice seedlings, grown in normal condition, caused seedling growth retardation. Salt-stress condition had more impact on proline accumulation and induction of P5CS gene expression than drought-stress condition in both rice cultivar/line. LPT123-TC171 responded to the stress conditions faster than LPT123. ABA application to the stressed rice seedlings resulted in early accumulation of proline and induction of P5CS gene expression. These lead to the hypothesis that induction of P5CS gene expression together with early proline accumulation resulted from exogenous ABA application are responsible for the increase in stress-tolerant ability in rice seedlings.en
dc.format.extent4342669 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectข้าว -- การเจริญเติบโตen
dc.subjectกรดแอบไซซิกen
dc.subjectโพนลีนen
dc.titleผลของกรดแอบไซซิกจากภายนอกที่มีต่อการเติบโต การสะสมโพรลีน และการแสดงออกของยีน Delta[superscript 1] - pyrroline- 5 - carboxylate synthetase ในข้าว Oryza sativa L. เมื่ออยู่ในภาวะแล้งและภาวะเค็มen
dc.title.alternativeEffects of exogenous abscisic acid on growth, proline accumulation and Delta[superscript 1] -pyrroline-5-carboxylate synthetase gene expression during drought- and salt-stress conditions in rice Oryza sativa L.en
dc.typeThesisen
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineพฤกษศาสตร์en
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorSupachitra.C@Chula.ac.th-
dc.email.advisorPreeda.b@chula.ac.th-
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
PongsathornKl.pdf2.51 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.