Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42454
Title: การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการคุ้มครองอุตสาหกรรมในประเทศไทย
Other Titles: The change in the structure of protection for manufacturing in Thailand
Authors: วัชริน มีรอด
Advisors: ไพฑูรย์ วิบูลชุติกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Paitoon.W@Chula.ac.th
Subjects: ภาษีศุลกากร
อุตสาหกรรม -- ไทย
การค้าเสรี
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของมาตรการภาษีศุลกากรซึ่งจะมีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมนั้น วิทยานิพนธ์นี้ใช้การวัดอัตราการคุ้มครองตามราคา (Nominal Rates of Protection : NRP) และอัตราการคุ้มครองที่แท้จริง (Effective Rates of Protection : ERP) ในช่วงปี พ.ศ.2533-2540 โดยคำนวณจากอัตราภาษีตามกฎหมายและอัตราภาษีที่เก็บได้จริง การศึกษาอัตราการคุ้มครองตามราคาในปีพ.ศ.2533, 2535, 2538, และ 2540 โดยใช้อัตราภาษีตามกฎหมายจะพบว่าอุตสาหกรรมของไทยมีอัตราการคุ้มครองตามราคาเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 40.00, 39.71, 18.81, และ 14.17 ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่าอัตราการคุ้มครองตามราคาเฉลี่ยของอุตสาหกรรมในแต่ละปีลดลงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงก่อนและหลังการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภาษี ในส่วนของอัตราการคุ้มครองตามราคาที่คำนวณจากภาษีที่เก็บได้จริงนั้นมีค่าต่ำกว่าอัตรภาษีตามกฎหมายถึงเกือบเท่าตัว กล่าวคือ อัตราการคุ้มครองตามราคาโดยใช้อัตราภาษีที่เก็บได้จริงมีค่าเท่ากับร้อยละ 15.15, 13.58, 8.62, และ 6.92 ในปีพ.ศ.2533, 2535, 2538, และ 2540 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ในการศึกษาอัตราการคุ้มครองตามราคาในช่วงพ.ศ.2533-2540 จะพบว่ามีข้อน่าสังเกตอย่างน้อย 2 ประการ ประการแรกแม้ว่าการคุ้มครองตามราคาจะมีค่าสูงมากโดยเฉพาะเมื่อพิจารณาจากอัตราภาษีตามกฎหมายแต่นั่นไม่ได้หมายความว่าอุตสาหกรรมที่มีค่า NRP สูง จะต้องเป็นอุตสาหกรรมที่รัฐต้องการให้ความคุ้มครอง ประการที่สอง ความลำเอียงที่เกิดจากมาตรการภาษียังคงมีอยู่ แม้ว่าโดยภาพรวมแล้วอุตสาหกรรมจะได้รับการคุ้มครองที่ลดลง แต่อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างของอัตราภาษีรายอุตสาหกรรมซึ่งวัดโดยค่าความแปรปรวนยังลดลงไม่มากนัก ในด้านของอัตราการคุ้มครองที่แท้จริง (ERP) ตามแนวคิดของ Balassa โดยใช้อัตราภาษีตามกฎหมาย ในปี 2533, 2535, 2538, และ 2540 พบว่าอุตสาหกรรมไทยมีค่า ERP เฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 95.52, 56.79, 23.81 และ 14.78 ตามลำดับ ขณะที่ ERP ตามแนวความคิดของ Corden ในช่วงเวลาเดียวกันมีค่าเท่ากับร้อยละ 53.13, 48.28, 21.48, และ 14.73 ตามลำดับในด้านของ ERP ที่คำนวณจากอัตราภาษีที่เก็บได้จริง ตามแนวความคิดของ Balassa มีค่าเท่ากับร้อยละ 32.04, 28.33, 16.18, และ 12.48 ตามลำดับ ขณะที่ ERP Corden มีค่าเท่ากับร้อยละ 15.58, 13.51, 7.65, และ 6.37 ตามลำดับ โดยสรุปแล้ว การศึกษาพบว่า นโยบายการปรับลดภาษีและการปรับเปลี่ยนโครงสร้างภาษีตามแผนการปรับลดจำนวนอัตราภาษีจาก 39 อัตรา ให้เหลือ 6 อัตรานั้น ถ้าหากสามารถนำไปปฏิบัติเป็นรูปธรรมได้แล้ว จะช่วยให้ระบบภาษีมีความเป็นกลางมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม โครงสร้างภาษีจากต้นทศวรรษ 1990 จนถึงปัจจุบันยังคงจะต้องปรับทางด้านความเป็นกลางต่อไป เนื่องจากอุตสาหกรรมทดแทนการนำเข้ายังคงเป็นอุตสาหกรรมที่ได้รับการคุ้มครองสูงสุด ขณะที่อุตสาหกรรม
Other Abstract: The objective of this thesis is to evaluate changes in tariff rates during 1990-1997 by measuring Nominal Rates of Protection (NRP) and Effective Rates of Protection (ERP), using both scheduled and actual tariff rates. The nominal rates of protection in 1990, 1992, 1995, and 1997 based on scheduled tariff rates were about 40 percent 39.71 percent 18.81 percent and 14:17 percent respectively. The calculation shows that the NRP rates were reduced overtime. The nominal rates of protection based on actual tariff rates were around half of the NRP calculated by using scheduled tariff rates. They were about 15.15 percent 13.58 percent 8.62 percent and 6.92 percent in 1990, 1992, 1995, and 1997 respectively. The effective rates of protection using Balassa's concept and scheduled tariff rates were about 95.52 percent 56.79 percent 23.81 percent and 14.78 percent, whereas ERP rates using Corden's concept were about 53.13 percent 48.28 percent 21.48 percent and 14.73 percent in 1990, 1992, 1995, and 1997 respectively. The effective rates of protection using Balassa's concept based on actual tariff rates were about 32.40 percent 28.33 percent 16.18 percent whereas ERP rates using Corden's concept were about 15.58 percent 13.51 percent 7.65 percent and 6.37 percent respectively. In conclusion, we find that first, high NRP rates of industries do not imply high protection. We need the measurement of ERP to further analyze Thailand's protection system. Second, accroding to ERP measurement, export industries had lower protection than import- competing industries. Third, if the number of tariff rates were to reduce from 30 to 6, the tariff stucture could become more neutralized and efficient
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เศรษฐศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42454
ISBN: 9476368249
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Watcharin_Me_front.pdf780.98 kBAdobe PDFView/Open
Watcharin_Me_ch1.pdf722.27 kBAdobe PDFView/Open
Watcharin_Me_ch2.pdf1.11 MBAdobe PDFView/Open
Watcharin_Me_ch3.pdf854.29 kBAdobe PDFView/Open
Watcharin_Me_ch4.pdf810.06 kBAdobe PDFView/Open
Watcharin_Me_ch5.pdf1.27 MBAdobe PDFView/Open
Watcharin_Me_ch6.pdf708.05 kBAdobe PDFView/Open
Watcharin_Me_back.pdf1.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.