Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42469
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศิริวรรณ ศิลาพัชรนันท์-
dc.contributor.authorวิสุทธิ์ ศิริพรนพคุณ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2015-06-23T09:20:22Z-
dc.date.available2015-06-23T09:20:22Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42469-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ผ.ม.) --จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555en_US
dc.description.abstractน่านเป็นเมืองที่มีอายุเก่าแก่กว่า 600 ปี มีการผสานกันระหว่างพื้นที่อยู่อาศัยกับระบบการจัดการน้ำภายในเมือง โดยที่เมืองน่านมีความสำคัญในฐานะเป็นศูนย์กลางการปกครอง การค้าและการบริการของจังหวัด ต่อมามีความต้องการใช้ที่ดินเพิ่มขึ้น ทำให้การปลูกสร้างอาคารและระบบสาธารณูปโภคต่างๆขยายรุกล้ำไปยังพื้นที่ที่แต่เดิมใช้เป็นทางระบายน้ำและพื้นที่รับน้ำ ส่งผลให้เมืองน่านเกิดปัญหาอุทกภัยบ่อยครั้งและรุนแรงขึ้น เกิดความเสียหายต่อที่อยู่อาศัย พื้นที่เศรษฐกิจ สิ่งปลูกสร้างที่สำคัญและถนนสายหลักภายในเมือง ส่งผลต่อกิจกรรมต่างๆและความเสียหายทางเศรษฐกิจของเมืองน่าน การศึกษานี้มุ่งเน้นถึงผลกระทบด้านกายภาพที่เกิดขึ้นจากอุทกภัยโดยมีวัตถุประสงค์คือ 1) ศึกษาลักษณะทางภูมิศาสตร์ โครงสร้างและองค์ประกอบทางกายภาพของเมืองน่าน 2) ศึกษาสถานการณ์อุทกภัย ลักษณะการเกิดอุทกภัยและสาเหตุที่ทำให้เกิดอุทกภัยในเขตเมืองน่าน 3) วิเคราะห์ระดับความรุนแรงและผลกระทบของอุทกภัยต่อพื้นที่ปลูกสร้างและโครงสร้างพื้นฐานในเขตเมืองน่าน วิธีการศึกษาเป็นการวิเคราะห์ปริมาณน้ำฝน น้ำท่าและการใช้ประโยชน์ที่ดินร่วมกับการใช้โปรแกรม Nays2D Flood เป็นเครื่องมือในการจำลองสถานการณ์อุทกภัย เพื่อวิเคราะห์ลักษณะการเกิดอุทกภัยและผลกระทบ จากการศึกษาพบว่าสาเหตุที่ทำให้เมืองน่านเกิดอุทกภัยใน พ.ศ.2549 และ พ.ศ.2554 คือปริมาณฝนที่ตกหนักบริเวณภูเขาด้านทิศตะวันตกของเมืองวัดปริมาณน้ำฝนสูงสุดต่อวันได้ 103.3 มิลลิเมตร ประกอบกับการทำลายป่าต้นน้ำเป็นเหตุให้การไหลบ่าในแม่น้ำมีสูงขึ้น น้ำจึงล้นตลิ่งและไหลบ่าเข้าท่วมเมือง นอกจากนี้การรุกล้ำพื้นที่ระบายน้ำ การสร้างถนนขวางทางระบายน้ำ เป็นปัจจัยที่ส่งผลให้อุทกภัยรุนแรงเพิ่มขึ้น และจากการศึกษาผลกระทบของอุทกภัยใน พ.ศ.2554 พบว่าระดับน้ำกับระยะเวลาท่วมขังมีความสัมพันธ์กัน โดยชุมชนที่น้ำท่วมสูง0.00-0.50เมตรประมาณ 1 วันมี 11 ชุมชน น้ำท่วมสูง0.50-1.50เมตรประมาณ 2 วันมี 12 ชุมชน น้ำท่วมสูงกว่า1.50เมตรนานกว่า 3 วันมี 3 ชุมชน และ 4 ชุมชนที่ไม่ถูกน้ำท่วม นอกจากนี้ความรุนแรงของอุทกภัยขึ้นอยู่กับลักษณะของอาคาร กล่าวคืออาคารที่มีการต่อเติมพื้นที่ใช้สอยชั้นใต้ถุนได้รับผลกระทบมากเนื่องจากไม่มีการถมดินและลักษณะภูมิประเทศเดิมเป็นพื้นที่ต่ำ ขณะที่อาคารที่สร้างขึ้นใหม่ในพื้นที่ซึ่งมีปัญหาน้ำท่วมมักปรับระดับดินให้สูงกว่าระดับน้ำที่เคยท่วม ส่งผลให้อุทกภัยมีแนวโน้มความรุนแรงขึ้นเนื่องจากพื้นที่ที่ถมสูงขึ้นขวางกั้นทางระบายน้ำ ทำให้น้ำที่ท่วมขังไม่สามารถไหลออกจากพื้นที่ได้อย่างสะดวก และทำให้ระดับน้ำท่วมเพิ่มสูงขึ้นและท่วมขังนานขึ้น ดังนั้นเพื่อลดผลกระทบควรกำหนดรูปแบบอาคารที่มีการยกใต้ถุนอาคารแทนการถมดินสูง รวมถึงกำหนดพื้นที่เสี่ยงภัยสำหรับเตรียมการก่อนการเกิดอุทกภัยen_US
dc.description.abstractalternativeEstablished for more than 600 years, Nan is not only a city whose city plan balances between residential areas and water management system but also the governmental, commercial and service center of the province. Later, there is a more demand for land use; as a result, buildings and utility systems are set up in the areas where they were used as drainage system and floodway. This leads to more frequent and more severe floods, resulting in damage to housing, economic areas, important buildings and major roads in the city. The damage costs the city a fortune economically. This study focused on the physical impacts of floods and the objectives of this study were to 1) examine the city’s geographical features, structure and physical elements, 2) investigate floods, their occurrence and their causes , and 3) analyze the severity of floods and their impacts on the built-up areas and the infrastructure in Nan city. The methodology covered the analysis of the amount of rainfall, the amount of runoff and the land use by using Nays2D Flood program, which reproduced floods. Then their occurrences and their impacts were analyzed. It was found that the 2006 and the 2011 floods in Nan city were caused by the heavy rainfall in the mountains to the west of the city. The highest level of rainfall was gauged at 103.3 millimeter a day. In addition, the deforestation in the watershed area caused the rivers to overflow the city. The encroachment of drainage and the road construction obstructing the drainage were major factors which increased the severity of the floods. According to the findings obtained from the study of 2011 floods, the water level and the duration of inundation were related. Eleven communities were flooded for 1 day with the water level from 0.00 to 0.50 meter. Twelve communities were flooded for 2 days with the water level from 0.51 to 1.50 meters. Three communities were flooded for 3 days with the water level over 1.50 meters and four communities stayed dry. Moreover, the severity of the floods were in line with the type of building in that the building whose first floor was extended for functional use was affected more since it was built on the low lying area and the area was not elevated with more dirt. Meanwhile,newly-constructed buildings were less affected because they were elevated higher than the watermark left by the previous flood. These newly-constructed buildings will lead to more severity of floods because they obstruct the water flow; consequently, the water level will be higher and stay longer. To solve these problems, buildings should be built on high stilts rather than elevating the area by filling it in and flood-prone areas should be determined so that they can be well-prepared for the approaching floods.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1046-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectอุทกภัย -- ไทย -- น่านen_US
dc.subjectการตั้งถิ่นฐาน -- ไทย -- น่านen_US
dc.subjectการป้องกันน้ำท่วม -- ไทย -- น่านen_US
dc.subjectFloods -- Thailand -- Nanen_US
dc.subjectLand settlement -- Thailand -- Nanen_US
dc.subjectFlood control -- Thailand -- Nanen_US
dc.titleผลกระทบของอุทกภัยต่อพื้นที่ปลูกสร้างและโครงสร้างพื้นฐานในเขตเมืองน่านen_US
dc.title.alternativeImpacts of floods on built-up areas and infrastructure in Nan cityen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameการวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการวางแผนภาคและเมืองen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSiriwan.Si@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2012.1046-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
wisut _Si.pdf19.47 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.