Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42719
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ธเรศ ศรีสถิตย์ | en_US |
dc.contributor.author | ศกลธน ราโชกาญจน์ | en_US |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | en_US |
dc.date.accessioned | 2015-06-24T06:11:25Z | |
dc.date.available | 2015-06-24T06:11:25Z | |
dc.date.issued | 2556 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42719 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการผลิตแท่งเชื้อเพลิงจากต้นข้าวโพดด้วยวิธีการพื้นผิวตอบสนอง (Response Surface Methodology, RSM) ซึ่งเป็นการนำต้นข้าวโพดที่เป็นวัสดุเหลือใช้จากการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มาเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตเป็นแท่งเชื้อเพลิง เพื่อให้แท่งเชื้อเพลิงที่ได้มีประสิทธิภาพและเหมาะสมสำหรับนำไปใช้งานในระดับครัวเรือนและอุตสาหกรรม โดยการวิจัยแบ่งการทดลองออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นการศึกษาสัดส่วนที่เหมาะสมระหว่างต้นข้าวโพด ซังข้าวโพด และตัวประสานจากแป้งมันสำปะหลัง โดยนำต้นข้าวโพดมาเป็นส่วนผสมในปริมาณมากที่สุด ขณะที่นำซังข้าวโพดกับตัวประสานมาเป็นส่วนผสมในปริมาณน้อยที่สุด และยังคงทำให้แท่งเชื้อเพลิงที่ผลิตได้มีค่าความทนแรงอัดสูง ส่วนที่สองเป็นการศึกษาอุณหภูมิและเวลาที่เหมาะสมในกระบวนการคาร์บอไนเซชันแท่งเชื้อเพลิง เพื่อให้แท่งเชื้อเพลิงมีค่าพลังงานความร้อน และร้อยละของผลิตภัณฑ์สูง โดยใช้อุณหภูมิและระยะเวลาที่ต่ำที่สุดในกระบวนการคาร์บอไนซเซชันแท่งเชื้อเพลิง เพื่อเป็นการประหยัดเวลาและลดการใช้ทรัพยากรในขั้นตอนการผลิตแท่งเชื้อเพลิง ผลการศึกษา พบว่า สัดส่วนที่เหมาะสมที่สุดระหว่างต้นข้าวโพด ซังข้าวโพดและตัวประสานจากแป้งมันสำปะหลัง คือ 7.5:1.5:2 โดยน้ำหนัก ตามลำดับ ซึ่งมีค่าความทนแรงอัดอยู่ที่ 0.3556 MPa และมีค่าความหนาแน่นอยู่ที่ 365.15 Kg/m3 โดยมีอุณหภูมิและเวลาที่เหมาะสมที่สุดในกระบวนการคาร์บอไนเซชันแท่งเชื้อเพลิง คือ อุณหภูมิ 475 องศาเซลเซียส ใช้เวลา 90 นาที โดยให้ค่าพลังงานความร้อน 4,689.43 Kcal/kg และร้อยละของผลิตภัณฑ์มีค่าสูงสุด คือ ร้อยละ 40.20 ปริมาณความชื้น และปริมาณเถ้าต่ำสุด คือ ร้อยละ 7.45 และ5.54 ตามลำดับ ขณะที่มีปริมาณของแข็งรวม ปริมาณของแข็งระเหย และปริมาณคาร์บอนสูงสุด คือ ร้อยละ 94.46 87.01 และ 48.34 ตามลำดับ ดังนั้น จากการศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการผลิตแท่งเชื้อเพลิงจากต้นข้าวโพดด้วยวิธีการพื้นผิวตอบสนอง พบว่า แท่งเชื้อเพลิงจากต้นข้าวโพดมีศักยภาพที่จะพัฒนาไปใช้งานทั้งในระดับครัวเรือน และระดับอุตสาหกรรม | en_US |
dc.description.abstractalternative | The objective of this research was to study the optimum condition for fuel briquettes produced from corn stem using Response Surface Methodology (RSM). Corn stem was a waste from maize production and can be used as a raw material in the production of appropriate fuel for households and industries. The experiments were carried out into two parts. The first one was study the ratio of the corn stem, cob and binder from starch of cassava that gave the higher compressive strength of briquettes, and this briquettes must be had the weight of corn stem was high but the weight of cob and binder was low. The second one was study about temperature and time of carbonization that gave the briquettes had heating value and percent yield were high, and the carbonization must be used lowest temperature and time for reduce resource in production process of briquettes. The results showed that the appropriate in ratio of corn stem, cob and binder by weight was 7.5:1.5:2. This ratio was give the highest compressive strength was 0.3556 MPa and the density was 365.15 Kg/m3 respectively. And the appropriate of carbonization temperature was 475 degree Celsius and time was 90 minute. That gave the briquettes has heating value (4,689.43 Kcal/kg) and percent yield (40.20%) were high, the moisture content (5.54%) and ash content (7.45%) were low. But the total solids (94.46%), volatile solids (87.01%) and carbon content (48.34%) were high. From the optimum condition for fuel briquettes produced from corn stem using Response Surface Methodology (RSM). It was found that briquettes had the potential that could be developed for households and small industries. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.188 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | กรรมวิธีการผลิต | |
dc.subject | เชื้อเพลิง | |
dc.subject | Manufacturing processes | |
dc.subject | Fuel | |
dc.title | สภาวะที่เหมาะสมในการผลิตแท่งเชื้อเพลิงจากต้นข้าวโพดด้วยวิธีการพื้นผิวตอบสนอง | en_US |
dc.title.alternative | OPTIMUM CONDITION FOR FUEL BRIQUETTES PRODUCED FROM CORN STEM USING RESPONSE SURFACE METHODOLOGY (RSM) | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Thares.s@chula.ac.th | en_US |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2013.188 | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5587173120.pdf | 7 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.