Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42760
Title: รูปแบบการจัดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้แบบคอนสตรัคติวิสต์บนเครือข่ายด้วยกระบวนการสืบสอบเพื่อพัฒนาการคิดเชิงระบบในการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืนของนักศึกษาปริญญาตรี
Other Titles: A MODEL OF CONSTRUCTIVIST WEB-BASED LEARNING ENVIRONMENT MANAGEMENT USING INQUIRY LEARNING PROCESS TO ENHANCE SYSTEMS THINKING FOR SUSTAINABLE PRODUCT DESIGN OF UNDERGRADUATE STUDENTS
Authors: ศรินดา จามรมาน
Advisors: ปราวีณยา สุวรรณณัฐโชติ
ปุณณรัตน์ พิชญไพบูลย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: praweenya@gmail.com
Poonarat.P@Chula.ac.th
Subjects: กิจกรรมการเรียนการสอน
การออกแบบผลิตภัณฑ์
ความคิดและการคิด
Activity programs in education
Product design
Thought and thinking
ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและการพัฒนา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบ ศึกษาผลการใช้รูปแบบ และนำเสนอรูปแบบการจัดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้แบบคอนสตรัคติวิสต์บนเครือข่ายด้วยกระบวนการสืบสอบเพื่อพัฒนาการคิดเชิงระบบในการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืนของนักศึกษาปริญญาตรี โดยมีวิธีการดำเนินวิจัย 4 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาสภาพปัญหา ความต้องการในการจัดการเรียนการสอนวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืน 2) การสร้างรูปแบบการเรียนการสอน 3) การทดลองใช้รูปแบบกับกลุ่มตัวอย่าง 4) การนำเสนอรูปแบบ กลุ่มตัวอย่างในระยะที่ 1 ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 คน และนักศึกษาระดับปริญญาตรี 20 คน และกลุ่มตัวอย่างในระยะที่ 3 และ 4 ได้แก่ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 6 คน และนักศึกษาระดับปริญญาตรี 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบประเมินตนเองด้านทักษะการคิดเชิงระบบในการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืน 2) แบบประเมินผลงานที่แสดงทักษะการคิดเชิงระบบในการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืน 3) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 4) เว็บไซต์การเรียนวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test ผลการวิจัย พบว่า 1. รูปแบบการจัดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้แบบคอนสตรัคติวิสต์บนเครือข่ายด้วยกระบวนการสืบสอบเพื่อพัฒนาการคิดเชิงระบบในการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืนของนักศึกษาปริญญาตรี ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ 1) เนื้อหาการเรียนการสอนวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืน 2) นักศึกษาสาขาวิชาศิลปะ 3) การจัดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้แบบคอนสตรัคติวิสต์บนเครือข่าย ได้แก่ แหล่งการเรียนรู้ เครื่องมือที่ใช้ในการค้นหา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เครื่องมือช่วยบูรณาการ เครื่องมือสื่อสาร ฐานความช่วยเหลือการสร้างความคิดรวบยอด ฐานความช่วยเหลือเกี่ยวกับการคิด ฐานความช่วยเหลือกระบวนการ 4) ผู้เชี่ยวชาญประจำฐานการช่วยเหลือบนเครือข่าย 5) การวัดและประเมินผล ขั้นตอนการจัดการเรียนการสอนของรูปแบบที่พัฒนาขึ้นมี 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นเตรียมความพร้อม 2) ขั้นการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม 3) ขั้นการรวบรวมข้อมูลผลิตภัณฑ์ 4) ขั้นการดำเนินงานเชิงปฏิบัติการด้านความคิด 5) ขั้นการเลือกกลยุทธ์ทางการออกแบบ 6) ขั้นกระบวนการออกแบบจริง 2. การเรียนการสอนตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้น จากการทดลองพบว่า หลังการทดลองผู้เรียนมีทักษะการคิดเชิงระบบในการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืนสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีลำดับความถี่ในการเลือกใช้เครื่องมือในการจัดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้แบบคอนสตรัคติวิสต์บนเครือข่ายในทุกขั้นตอนการเรียน ได้แก่ แหล่งการเรียนรู้ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เครื่องมือช่วยบูรณาการ ฐานความช่วยเหลือการสร้างความคิดรวบยอด เป็นฐานความช่วยเหลือเกี่ยวกับการคิด ตามลำดับ 3. ผู้ทรงคุณวุฒิทุกท่านมีความเห็นรับรองรูปแบบการจัดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้แบบคอนสตรัคติวิสต์บนเครือข่ายด้วยกระบวนการสืบสอบเพื่อพัฒนาการคิดเชิงระบบในการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืนของนักศึกษาปริญญาตรีที่พัฒนาขึ้นว่ามีความเหมาะสมในการนำไปใช้จริง
Other Abstract: This research was a research and development design aimed to develop, explore the effectiveness, and propose a model of constructivist web-based learning environment management using inquiry learning process to enhance the undergraduate students’ system thinking for sustainable product design. The research consisted of four phases as follow: 1) identifying problem and needs of instructional design for sustainable product design, 2) developing the instructional model, 3) studying the effectiveness of the model with the sample group, and 4) proposing the model. The samples in the first phase were 3 experts and 20 undergraduate students; and 6 experts and 8 undergraduate students in the third and fourth phase. The research instruments were 1) Systems thinking skill for sustainable product design self-assessment form, 2) Systems thinking skill for sustainable product design performance appraisal form, 3) Instructional activities plans, and 4) Sustainable product design learning website. The data were analyzed by using mean, standard deviation and t-test dependent. The research found that 1. A model of constructivist web – based learning environment management using inquiry learning process to enhance systems thinking for sustainable product design of undergraduate students consisted of 5 components:1) Content of sustainable product design, 2) Arts students, 3) Management of constructivist web-based learning environment included of learning resources, searching tool, collecting tool, integrating tool, communication tool, conceptual scaffolding, metacognitive scaffolding and procedural scaffolding, 4) Experts stationed at web – based scaffolding, and 5) Measurement and evaluation. The instructional activities of the developed model comprised of 6 steps: 1) preparation, 2) identification of environmental effects, 3) collecting data of production, 4) concept design, 5) selection of the design strategy, and 6) planning product process. 2. Instructional activities according to the developed model, the researcher found that students had higher level of systems thinking skill for sustainable product design after learning with the developed model at the .05 level of significance. The frequency of used in constructivist web – based learning environment management tools in all learning steps were as follows: learning resources, collecting tools, integrating tools, conceptual scaffolding and metacognitive scaffolding respectively. 3. All experts have verified the developed model of constructivist web – based learning environment management using inquiry learning process to enhance systems thinking for sustainable product design of undergraduate students that the model can be applied practically.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42760
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.233
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.233
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5184253827.pdf8.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.