Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42780
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์en_US
dc.contributor.advisorเอกชัย กี่สุขพันธ์en_US
dc.contributor.authorสอาดลักษม์ จงคล้ายกลางen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-06-24T06:21:17Z
dc.date.available2015-06-24T06:21:17Z
dc.date.issued2556en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42780
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556en_US
dc.description.abstractการวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารที่เกี่ยวข้องกับการเสริมสร้างพลังอำนาจของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 2. พัฒนารูปแบบการบริหารเพื่อเสริมสร้างพลังอำนาจของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน มีขั้นตอนการวิจัย 4 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาข้อมูลสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) การสร้างรูปแบบการบริหารเพื่อเสริมสร้างพลังอำนาจของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) การประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบ 4) การปรับปรุงและนำเสนอรูปแบบ ประชากรคือ สถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 31,770 โรง กลุ่มตัวอย่างจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage random sampling) จำนวน 396 โรง ผู้ให้ข้อมูล 1,850 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ และครูผู้สอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม แบบตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย และเทคนิค PNIModified ตรวจสอบรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 25 คน และสนทนากลุ่มโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 15 คน ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันของการบริหารเพื่อเสริมสร้างพลังอำนาจของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ รูปแบบการบริหารแบบเพื่อนร่วมงาน (ค่าเฉลี่ย=3.50) รองลงมาคือ รูปแบบการบริหารแบบวัฒนธรรม (ค่าเฉลี่ย=3.46) และค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ รูปแบบการบริหารแบบการเมือง (ค่าเฉลี่ย=3.25) สภาพที่พึงประสงค์ พบว่า การบริหารแบบเพื่อนร่วมงาน มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด (ค่าเฉลี่ย=4.19) รองลงมาคือ รูปแบบการบริหารแบบวัฒนธรรม (ค่าเฉลี่ย= 4.09) และค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ รูปแบบการบริหารแบบการเมือง (ค่าเฉลี่ย=3.91) ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น รูปแบบการบริหารแบบเพื่อนร่วมงาน มีค่าสูงสุด (PNI modified =0.22) รองลงมาคือ รูปแบบการบริหารแบบวัฒนธรรม (PNI modified =0.21) และต่ำที่สุดคือ รูปแบบการบริหารแบบการเมือง (PNI modified = 0.17) 2. รูปแบบการบริหารเพื่อเสริมสร้างพลังอำนาจของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คือ “รูปแบบการบริหารโรงเรียนที่เน้นบูรณาการของการบริหารแบบเพื่อนร่วมงาน การเมืองและวัฒนธรรมเพื่อเสริมสร้างพลังอำนาจของครู” (School Management Model Focus on the Integration of Collegial, Political and Cultural Management Models for Teacher Empowerment: ICPCM Model) ลักษณะสำคัญของรูปแบบ คือ 1) ระดับในการกำหนดเป้าประสงค์: กำหนดโดยระดับกลุ่มสาระการเรียนรู้ 2) กระบวนการกำหนดเป้าประสงค์: กำหนดโดยใช้วิธีการตกลงร่วมกันของผู้บริหารและครู 3) ความสัมพันธ์ระหว่างเป้าประสงค์และการตัดสินใจ: ยึดตามเป้าประสงค์ที่ตกลงร่วมกันของผู้บริหารและครู 4) ลักษณะของกระบวนการตัดสินใจ: ตัดสินใจโดยขึ้นอยู่กับเพื่อนร่วมงาน 5) ลักษณะของโครงสร้าง: หน่วยงานย่อยเป็นผู้กำหนดเอง 6) ความเชื่อมโยงกับสภาพแวดล้อม: ขึ้นอยู่กับค่านิยมและความเชื่อ 7) ภาวะผู้นำ: ผู้นำที่พยายามแสวงหาความเห็นเอกฉันท์ เป็นทั้งคนกลางและผู้มีส่วนร่วม 8) รูปแบบภาวะผู้นำที่เกี่ยวข้อง: เป็นผู้นำที่มีส่วนร่วมและปฏิสัมพันธ์เพื่อการเปลี่ยนแปลง เน้นการทำงานให้สำเร็จen_US
dc.description.abstractalternativeThe objective of this research: 1. To study the current situation and desirable situation and 2. To development of a management model for the empowerment of teachers in basic education institutions. Mixed method research. The research was divided into 4 processes: 1) study a management model for the empowerment of teachers in basic education institutions in current situation and desirable situation, 2) drafting a future management model for the empowerment of teachers in basic education institutions, 3) reviewing the appropriateness and feasibility of the model, and 4) improving and proposing the model. Populations were the basic education institutions 31,770 schools. The samples were 396 schools from multi-stage random sampling. Informants were 1,850 persons: director of school, deputy director of school, head of substance learning group and teachers. Instruments included questionnaires, model review forms and focus group. The analysis used descriptive statistics and the technique called Modified Priority Needs Index (PNImodified) was applied. The Model were checked by 25 experts and focus group by 15 experts The results showed: 1.The current situation of a management model for the empowerment of teachers in basic education institutions, the highest of management model is Collegial Models (Mean=3.50) followed by Cultural Models (Mean=3.46) and the lowest is Political Models (Mean=3.25). In desirable situation, the highest of management model is Collegial Models (Mean=4.19) followed by Cultural Models (Mean=4.09) and the lowest is Political Models (Mean=3.91). Index of needs (PNImodified), the highest of management model is Collegial Models (PNI modified =0.22) followed by Cultural Models (PNImodified=0.21) and the lowest is Political Models. (PNImodified =0.17). 2. The Model for the empowerment of teachers in basic education institutions is the “School Management Model Focus on the Integration of Collegial, Political and Cultural Management Models for Teacher Empowerment: ICPCM Model” Which is composed of eight elements: 1) Level at which goals are determined: subunit, 2) Process by which goals are determined: agreement, 3) Relationship between goals and decisions: decisions based on agreed goals, 4) Nature of decision process: collegial, 5) Nature of structure: subunit setting for subunit, 6) Links with environment: source of values and beliefs, 7) Style of leadership: head seeks to promote consensus and both participant and mediator, 8) Related leadership model: transformational participative interpersonal and transactional.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2013.260-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectโรงเรียน -- การบริหาร
dc.subjectการพัฒนาองค์การ
dc.subjectการบริหารการศึกษา
dc.subjectSchool management and organization
dc.subjectOrganizational change
dc.subjectปริญญาดุษฎีบัณฑิต
dc.titleการพัฒนารูปแบบการบริหารเพื่อเสริมสร้างพลังอำนาจของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานen_US
dc.title.alternativeDEVELOPMENT OF A MANAGEMENT MODEL FOR THE EMPOWERMENT OF TEACHERS IN BASIC EDUCATION INSTITUTIONSen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineบริหารการศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorpruet.s@chula.ac.then_US
dc.email.advisorEkachai.K@chula.ac.th
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2013.260-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5284257427.pdf10.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.