Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42784
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชญาพิมพ์ อุสาโหen_US
dc.contributor.advisorพฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์en_US
dc.contributor.authorกนกวรรณ ศุภสิริโรจน์en_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-06-24T06:21:19Z
dc.date.available2015-06-24T06:21:19Z
dc.date.issued2556en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42784
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การบริหารสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนดนตรีเอกชนนอกระบบ 2) วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและภาวะคุกคามในการบริหารสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนดนตรีเอกชนนอกระบบ 3) พัฒนากลยุทธ์การบริหารสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนดนตรีเอกชนนอกระบบ ประชากร คือ โรงเรียนดนตรีเอกชนนอกระบบจำนวน 331 โรง สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นจำนวน 181 โรง แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) โรงเรียนที่ผ่านเกณฑ์การประกันคุณภาพภายในระดับดีเด่น 2) โรงเรียนที่ยังไม่ผ่านเกณฑ์ ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้อำนวยการ ผู้สอน เจ้าหน้าที่ ผู้เรียนและผู้ปกครอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย (Means) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น PNI Modified (Priority Needs Index Modified) ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบันของโรงเรียนทั้ง 2 กลุ่ม มีการบริหารสู่ความเป็นเลิศด้านการวัดวิเคราะห์และการจัดการความรู้อยู่ในระดับมากที่สุดและด้านการมุ่งเน้นลูกค้าอยู่ในระดับน้อยที่สุด ส่วนสภาพที่พึงประสงค์โรงเรียนทั้ง 2 กลุ่มต้องการให้มีการบริหารสู่ความเป็นเลิศด้านการมุ่งเน้นลูกค้าอยู่ในระดับมากที่สุดและด้านการนำองค์กรอยู่ในระดับน้อยที่สุด 2) โรงเรียนทั้ง 2 กลุ่มมีจุดแข็งในการบริหารสู่ความเป็นเลิศเหมือนกัน 4 ด้านคือ (1) ด้านการวัดวิเคราะห์และการจัดการความรู้ (2) ด้านการมุ่งเน้นผู้ปฏิบัติงาน (3) ด้านการวางแผนเชิงกลยุทธ์ (4) ด้านการจัดการกระบวนการ ส่วนจุดอ่อนเหมือนกัน 2 ด้านคือ (1) ด้านการมุ่งเน้นลูกค้า (2) ด้านผลลัพธ์ ส่วนด้านการนำองค์กรเป็นจุดแข็งของโรงเรียนที่ผ่านเกณฑ์แต่เป็นจุดอ่อนของโรงเรียนที่ยังไม่ผ่านเกณฑ์ 3) กลยุทธ์การบริหารสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนดนตรีเอกชนนอกระบบมี 9 กลยุทธ์หลัก โดยมีกลยุทธ์หลักร่วมกัน 5 กลยุทธ์ ได้แก่ (1) การบริหารเชิงรุกด้านการวัดวิเคราะห์และการจัดการความรู้ (2) การบริหารเชิงรุกด้านการมุ่งเน้นผู้ปฏิบัติงาน (3) การบริหารเชิงรุกด้านการวางแผนเชิงกลยุทธ์ (4) การบริหารเชิงรุกด้านการจัดการกระบวนการ (5) การบริหารเชิงรุกด้านผลลัพธ์ ส่วนกลยุทธ์หลักเฉพาะของโรงเรียนที่ผ่านเกณฑ์มี 2 กลยุทธ์ กลยุทธ์หลักเฉพาะของโรงเรียนที่ยังไม่ผ่านเกณฑ์มี 2 กลยุทธ์en_US
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to 1) study the current and desirable situations of management towards excellence for non-formal private music schools. 2) To analyze strengths, weaknesses, opportunities, and threats of management towards excellence for non-formal private music schools. 3) develop management strategies towards excellence for non-formal private music schools. The population of this research were 331 non-formal private music schools. The 181 samples were selected by using stratified random sampling. The informants are directors, teachers, assistants, students, and parents from 181 schools which were divided into 2 groups. The first group is the outstanding schools base on internal quality assurance. The other group is the general schools. The data were analyzed into means, standard deviation, and then it was calculated by using PNI Modified (Priority Needs Index Modified) in order to ranks the needs identification. The findings revealed that 1) In the currents situations, both groups has been managed based on the management towards excellence in measurement , analysis and knowledge management was at the highest level; on the other hand, customer focus was at lowest. For the desirable situations, the customer focus was at the highest level; on the other hand, the leadership was at lowest level. 2) The four strengths were (1) measurement , analysis and knowledge management (2) workforce focus (3) strategic planning and (4) process management; and weaknesses were (1) customer focus and (2) the results. The leadership was the strength of the outstanding schools, in contrast, it was the weakness for the general schools 3) There were 9 major strategies towards excellence for non-formal private music schools, sharing 5 major strategies which were (1) proactive management in measurement, analysis and knowledge management (2) proactive management in workforce focus (3) proactive management in strategy planning (4) proactive management in process management (5) proactive management in result; and there were 2 specific major strategies for outstanding schools and 2 specific major strategies for general schools.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2013.264-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectโรงเรียน -- การบริหาร
dc.subjectการบริหารองค์ความรู้
dc.subjectโรงเรียนเอกชน
dc.subjectSchool management and organization
dc.subjectKnowledge management
dc.subjectPrivate schools
dc.subjectปริญญาดุษฎีบัณฑิต
dc.titleกลยุทธ์การบริหารสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนดนตรีเอกชนนอกระบบen_US
dc.title.alternativeMANAGEMENT STRATEGIES TOWARDS EXCELLENCE FOR NON-FORMAL PRIVATE MUSIC SCHOOLSen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineบริหารการศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorchayapim.u@chula.ac.then_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2013.264-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5284451827.pdf9.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.