Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42912
Title: | ตัวแบบการตั้งค่าบริการสำหรับกิจการซื้อขายความจุรถบรรทุก |
Other Titles: | TRANSPORTATION SERVICE PRICING MODEL FOR TRUCK CAPACITY TRADING COMPANY |
Authors: | จักรพันธุ์ ชินเกียรติสกุล |
Advisors: | นระเกณฑ์ พุ่มชูศรี |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | naragain.p@chula.ac.th |
Subjects: | การกำหนดราคา การขนส่งด้วยรถบรรทุก อุตสาหกรรมรถบรรทุก Pricing Trucking Truck industry |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | รถเที่ยวเปล่าและการบรรทุกรถไม่เต็มคันเป็นสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งที่ลดประสิทธิภาพของการขนส่ง ซึ่งผู้ประกอบการขนส่งได้มีแนวทางแก้ปัญหาหลายแนวทางแต่ยังไม่สำเร็จเท่าที่ควร โดยผู้ประกอบการขนส่งที่สามารถอยู่รอดได้ก็คือผู้ประกอบการขนส่งขนาดใหญ่เท่านั้น ส่วนผู้ประกอบการขนส่งขนาดกลางและขนาดเล็กยังประสบปัญหาเหล่านี้อยู่ แนวทางหนึ่งในการลดปัญหานี้คือ การจัดตั้งเป็นกิจการซื้อขายความจุรถบรรทุกที่สามารถรับซื้อขายความจุว่าง ที่รับซื้อความจุว่างของรถบรรทุกจากเจ้าของรถ (Truck owners) มาในราคาที่ต่ำ เนื่องจากรถบรรทุกที่เป็นกลุ่มเป้าหมายคือรถบรรทุกที่เป็นรถเที่ยวเปล่า (Backhaul trucks) หรือรถที่ไม่เต็มคัน (Less-than-truck-load truck) ดังนั้นเจ้าของรถจึงสามารถขายความจุว่างได้ในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาด และกิจการขายความจุว่างก็จะขายความจุว่างให้แก่ลูกค้า (Customer) ที่ต้องการขนส่งสินค้าในเส้นทางดังกล่าวและซื้อความจุว่างกับกิจการซื้อขายความจุรถบรรทุก ในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาดเช่นกัน งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอตัวแบบทางคณิตศาสตร์เพื่อช่วยในการตัดสินใจให้กับกิจการซื้อขายความจุรถบรรทุก (Truck capacity trading company) ในการตั้งราคาที่เหมาะสมสำหรับการขายความจุว่างจากการเสนอซื้อของลูกค้าที่ต้องการขนส่งสินค้า และซื้อความจุว่างจากกิจการซื้อขายความจุรถบรรทุก เพื่อให้บริษัทผู้ขนส่งทั้งขนาดกลางและเล็กสามารถใช้รถขนส่งอย่างคุ้มค่า และเพื่อให้ลูกค้าสามารถใช้บริการขนส่งสินค้าได้ในราคาถูกกว่าตลาด โดยใช้หลักของการตั้งราคาที่คาดว่าจะไม่ขาดทุน (Breakeven price) ซึ่งราคานี้จะขึ้นอยู่กับการคาดการณ์โอกาสที่เจ้าของรถจะเข้ามาขายความจุว่างในอนาคต โดยใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่เคยเกิดขึ้นในอดีต ราคาซื้อความจุว่างจากเจ้าของรถ ราคาจ้างผู้ให้บริการการขนส่งในเที่ยวพิเศษ (Truck providers) ปริมาณความจุว่างที่ซื้อมาจากเจ้าของรถ ปริมาณความจุว่างที่ขายให้ลูกค้าที่ต้องการขนส่ง และปริมาณความจุว่างที่ลูกค้ากำลังต้องการซื้อ จากนั้นนำราคาที่คาดว่าจะไม่ขาดทุนไปคำนวณเพื่อหาราคาขายความจุว่างให้แก่ลูกค้าต่อไป งานวิจัยนี้ได้ทดสอบผลของพารามิเตอร์ของตัวแบบทางคณิตศาสตร์ที่นำเสนอในงานวิจัยนี้ที่มีต่อราคาที่คาดว่าจะไม่ขาดทุน และจากการทดสอบประสิทธิภาพของตัวแบบของงานวิจัยกับวิธีการตั้งราคาอย่างง่าย (Naïve method) ซึ่งพบว่าตัวแบบที่นำเสนอในงานวิจัยนี้สามารถให้ผลกำไรสูงกว่ากำไรที่ได้จากวิธีการตั้งราคาอย่างง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ความต้องการให้บริการขนส่งของเจ้าของรถ (Supply) น้อยกว่าความต้องการขนส่งสินค้าของลูกค้า (Demand) |
Other Abstract: | Less-than-truck-load (LTL) and backhaul truck are one of the key reasons that reduce transportation efficiency. Many transportation companies have tried to reduce this problem but still do not succeed. Most survived companies are large enterprises, while small and medium ones are still facing this problem. An idea to solve this problem is setting up a truck capacity trading company who buys unused capacity from truck owners with low cost, since they are backhaul trucks or less-than-truck-load truck with leftover capacity. And then this agency sells those bought capacity to a pool of customers who need to ship their goods via those routes and wants to buy truck capacity with lower price than the market price. The goal of this research is develop a pricing model to find appropriate price for truck capacity in which this Truck capacity trading company should offer to their customers’ purchasing requests. This will help small and medium transportation companies to more efficiently use their capacity and will help customers to obtain transportation service at lower price than the market price. Past history, buying price, outsource price, current capacity inventory, committed capacity, and expected future demanded capacity are used in the model to find the breakeven price to evaluate the expected opportunity that Truck owners will sell their unused capacity to the Truck Capacity in the future. The breakeven price is used in determining the final price offered to customers. Computational experiments are used to obtain insights on how the breakeven price varies at different model parameters’ values. From performance testing, it was found that the model presented in this research could provide higher profits for the truck capacity trading company, as compared to the price computed by a naïve method, especially when the capacity supply is expected to be lower than the capacity demand. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมอุตสาหการ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42912 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.381 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2013.381 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5470549521.pdf | 3.2 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.