Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42970
Title: | การศึกษาสมรรถนะการบริหารของผู้บริหารระดับกลาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคใต้ |
Other Titles: | A STUDY OF MANAGERIAL COMPETENCY OF MIDDLE LEVEL ADMINISTRATORS UNDER PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICES IN THE SOUTH |
Authors: | ดาวนภา หัทยานนท์ |
Advisors: | เอกชัย กี่สุขพันธ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | ekachaiks@hotmail.com |
Subjects: | สมรรถนะ การประเมินผลงาน การบริหารการศึกษา Performance Job evaluation |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสมรรถนะการบริหารของผู้บริหารระดับกลางสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคใต้ 2) เพื่อวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นของสมรรถนะการบริหารของผู้บริหารระดับกลางสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคใต้โดยใช้กรอบแนวคิดสมรรถนะของ Hellriegel, Jackson and Slocum.(2005) ผู้ให้ข้อมูลในการวิจัย ประกอบด้วย ผู้บริหารระดับสูง 240 คน และผู้บริหารระดับกลาง 210 คน รวมจำนวนทั้งสิ้น 450 คน ได้รับแบบสอบถามคืนทั้งหมด 431 ฉบับ คิดเป็น ร้อยละ 93.20 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น (PNI) ผลการวิจัย พบว่า สมรรถนะการบริหารของผู้บริหารระดับกลางที่ปฏิบัติอยู่จริงในปัจจุบันอยู่ในระดับมากทุกสมรรถนะ แต่ที่พึงประสงค์ต้องการให้ปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด สำหรับการจัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นของสมรรถนะแต่ละด้าน เรียงตามค่า PNI สูงสุดมาต่ำสุด ทั้ง 6 สมรรถนะ คือ 1) สมรรถนะในการตระหนักรับรู้โลกาภิวัตน์ โดยข้อที่มีความสำคัญลำดับ 1 ของสมรรถนะนี้ คือ สามารถรับรู้แนวโน้มทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม สถานการณ์ต่างๆของโลกได้ 2) สมรรถนะในการวางแผนและการบริหารจัดการ โดยข้อที่มีความสำคัญลำดับ 1 ของสมรรถนะนี้ คือ สามารถบริหารโครงการที่เป็นระบบโดยใช้ CIPP Model และสมรรถนะในการปฏิบัติเชิงกลยุทธ์ ซึ่งมีค่า PNI เท่ากัน โดยข้อที่มีความสำคัญลำดับ 1 ของสมรรถนะนี้ คือ สามารถนำหลักการบริหารโครงการมาใช้อย่างเหมาะสมและสามารถนำกลยุทธ์ที่ตั้งไว้ไปปฏิบัติให้บรรลุผลสำเร็จเป็นรูปธรรม 3) สมรรถนะในการสื่อสาร โดยข้อที่มีความสำคัญลำดับ 1 ของสมรรถนะนี้ คือ สามารถจัดประชุมที่มีประสิทธิภาพ 4) สมรรถนะในการบริหารตนเอง โดยข้อที่มีความสำคัญลำดับ 1 ของสมรรถนะนี้ คือ สามารถทำงานภายใต้แรงกดดันต่างๆเพื่อให้งานบรรลุตามวัตถุประสงค์ และสามารถเรียนรู้และพัฒนาตัวเองเพื่อให้ประสบความสำเร็จในชีวิต และ 5) สมรรถนะในการทำงานเป็นทีม โดยข้อที่มีความสำคัญลำดับ 1 ของสมรรถนะนี้ คือ สามารถสร้างบรรยากาศการทำงานให้เกิดความไว้วางใจซึ่งกันและกัน |
Other Abstract: | The purpose of this research were to study managerial competency of the middle management level, and to analyze the managerial competency needs assessment of the middle management level under Primary Educational Service Area Office in the South. Using the conceptual framework of competencies of Hellriegel, Jackson and Slocum.(2005). The populations in this study consisted of 240 senior administrators and 210 of the middle management level, 450 in total, and 431 questionnaires have been returned (93.20%) Questionnaire was use to collect data and analyze by frequency percent, mean, standard deviation and use PNI modified for Priority Need Index. Research findings were as follow: the managerial competency of the middle management level performed actual at high level in all aspects but expected to perform at the highest level in all aspects. Analysis of the managerial competency needs by priority need index from high to low were 1) Globalization awareness, the first ranking of competency for this aspect is ability to perceive political, economic, social and global trends 2) Planning and management competency, the first ranking of competency for this aspect is ability to manage project by using CIPP Model and Strategic Implementation Competency, the first ranking of competency for this aspect is ability to use appropriate principle for project management and ability to apply strategy to accomplish the goals 3) Communication competency, the first ranking of competency for this aspect is ability to conduct effective meeting 4) Self management competency, the first ranking of competency for this aspect is ability to work under pressure to meet the goals and ability to learn and self development 5) Teamwork Competency, the first ranking of competency for this aspect is ability to create working climate for building trust. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | บริหารการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42970 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.409 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2013.409 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5483345027.pdf | 3.68 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.