Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42998
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วรรณี แกมเกตุ | en_US |
dc.contributor.advisor | สุวิมล ว่องวาณิช | en_US |
dc.contributor.author | วิธัญญา วัณโณ | en_US |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2015-06-24T06:23:13Z | |
dc.date.available | 2015-06-24T06:23:13Z | |
dc.date.issued | 2556 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42998 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 | en_US |
dc.description.abstract | วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้ คือ (1) เพื่อตรวจสอบความตรงของโมเดลการวัด และเปรียบเทียบคุณสมบัติเชิงจิตมิติระหว่างการวัดทุนจิตวิทยาเชิงบวกในการทำงานกลุ่มของนิสิตนักศึกษาที่ใช้วิธีวัดต่างกัน (2) เพื่อพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างทุนจิตวิทยาเชิงบวกในการทำงานกลุ่มของนิสิตนักศึกษา และ (3) เพื่อทดลองใช้โปรแกรมเสริมสร้างทุนจิตวิทยาเชิงบวกในการทำงานกลุ่มของนิสิตนักศึกษา การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 การพัฒนาและตรวจสอบความตรงของโมเดลการวัด และเปรียบเทียบคุณสมบัติเชิงจิตมิติระหว่างการวัดทุนจิตวิทยาเชิงบวกระดับกลุ่ม ตัวอย่างวิจัย คือ นิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีจำนวน 1,349 คนจากมหาวิทยาลัย 10 แห่งของประเทศไทย โดยตัวอย่างวิจัยเป็นสมาชิกของกลุ่มนิสิตนักศึกษาจำนวน 303 กลุ่มที่ได้รับมอบหมายให้ทำงานกลุ่มด้วยกันในรายวิชาในปีการศึกษา 2556 ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ มาตรวัดทุนจิตวิทยาเชิงบวกที่ใช้ตนเองเป็นจุดอ้างอิงและที่ใช้กลุ่มเป็นจุดอ้างอิง และมาตรวัดประสิทธิผลของกลุ่ม โดยผู้วิจัยขอให้นิสิตนักศึกษาระลึกถึงสถานการณ์ของการทำงานกลุ่มด้วยกันในรายวิชาเพื่อตอบแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันและการวิเคราะห์อิทธิพลตามหลักการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างเชิงเส้น การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ภายในชั้นและค่าสหสัมพันธ์ภายในกลุ่ม ระยะที่ 2 การพัฒนาและทดลองใช้โปรแกรมเสริมสร้างทุนจิตวิทยาเชิงบวกในการทำงานกลุ่มของนิสิตนักศึกษา ตัวอย่างวิจัย คือ นิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ซึ่งลงทะเบียนเรียนวิชา จต 102 จิตวิทยาพื้นฐาน ประจำภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 2 ตอนเรียน ผู้วิจัยสุ่มตอนเรียนเข้าสู่กลุ่มทดลอง (กลุ่มนิสิต 12 กลุ่ม) และกลุ่มควบคุม (กลุ่มนิสิต 10 กลุ่ม) ด้วยวิธีสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) โปรแกรมเสริมสร้างทุนจิตวิทยาเชิงบวกในการทำงานกลุ่มของนิสิตนักศึกษา ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นโดยการศึกษาเอกสารแนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องประกอบกับผลการวิจัยระยะที่ 1 ซึ่งผ่านการตรวจสอบความเหมาะสมโดยผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งตรวจสอบความเป็นไปได้ด้วยการทดลองนำร่อง และ2) มาตรวัดทุนจิตวิทยาเชิงบวกที่ใช้กลุ่มเป็นจุดอ้างอิง ดำเนินการทดลองโดยใช้แบบแผนการทดลองที่มีกลุ่มควบคุม โดยมีการทดสอบก่อนและหลังการทดลอง (The pretest-posttest control group design) โดยผู้วิจัยมอบหมายให้นิสิตแต่ละกลุ่มทำงานวิจัยกลุ่มละ 1 เรื่อง ซึ่งกลุ่มทดลองจะได้รับโปรแกรมเสริมสร้างในระหว่างการทำงานกลุ่ม ส่วนกลุ่มควบคุมจะไม่ได้รับโปรแกรมเสริมสร้างในระหว่างการทำงานกลุ่มเพื่อตรวจสอบประสิทธิผลของโปรแกรม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยสถิติเชิงบรรยาย และการทดสอบทีแบบเป็นอิสระจากกันผลการวิจัยพบว่า (1) โมเดลการวัดทุนจิตวิทยาเชิงบวกระดับกลุ่มที่ใช้โมเดลอ้างอิงตนเอง (chi-square=172.593, df=146, p=.066, AGFI=.914 และ RMSEA=.025) และโมเดลอ้างอิงกลุ่ม (chi-square=155.609, df=154, p= .449, AGFI=.926 และ RMSEA=.006) มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และคุณสมบัติเชิงจิตมิติ ได้แก่ ความเที่ยง ความตรงเชิงโครงสร้าง และความตรงตามเกณฑ์สัมพันธ์ของการวัดทุนจิตวิทยาเชิงบวกระดับกลุ่มตามโมเดลอ้างอิงกลุ่มมีค่าสูงกว่าโมเดลอ้างอิงตนเอง (2) โปรแกรมเสริมสร้างทุนจิตวิทยาเชิงบวกที่พัฒนาขึ้นได้รับการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญว่ามีความเหมาะสม (IOC=.571-1.000) และมีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ โดยโปรแกรมประกอบด้วย 5 กิจกรรม ได้แก่ 1) การปฐมนิเทศ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับทุนจิตวิทยาเชิงบวก และการเสริมสร้างความรู้สึกเกี่ยวกับการทำงานเป็นทีม 2) การเสริมสร้างความหวัง 3) การเสริมสร้างการมองโลกในแง่ดี 4) การเสริมสร้างการรับรู้ความสามารถ และ 5) การเสริมสร้างการฟื้นพลัง และการสรุปภาพรวมของทุนจิตวิทยาเชิงบวก และ (3) โปรแกรมเสริมสร้างทุนจิตวิทยาเชิงบวกในการทำงานกลุ่มของนิสิตนักศึกษาที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิผลในการเสริมสร้างทุนจิตวิทยาเชิงบวกระดับกลุ่มของนิสิตนักศึกษา โดยผลการทดลองใช้โปรแกรมพบว่าความแตกต่างของคะแนนก่อนและหลังการทดลองของทุนจิตวิทยาเชิงบวกระดับกลุ่มโดยรวม ความหวังระดับกลุ่ม และการฟื้นพลังระดับกลุ่มของกลุ่มทดลองเพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มควบคุม (t=2.254, t=1.834 และ t=2.482 ตามลำดับ | en_US |
dc.description.abstractalternative | The objectives of this study were to (1) validate the measurement models and to compare psychometric properties of the measurements of university students’ positive psychological capital, or simply PsyCap, in group work using different measurement methods (2) to develop enhancement program of university students’ PsyCap in group work and (3) to examine the program’s effectiveness. The study consisted of 2 phases. The first phase of study was to develop and validate the measurement models and to compare psychometric properties of the measurements of university students’ PsyCap in group work using different measurement methods. The participants, selected by multi-stage random sampling, were 1,349 undergraduate students from 10 Thai universities as members of 303 student groups working together in the subject group assignment in the academic year 2013. Students were asked to recall the situation in which they worked together in the subject group assignment in order to fill the questionnaire. Group-level data were analyzed, using confirmatory factor analysis and path analysis on structural equation modeling, and intraclass correlation coefficient (ICC), within-group agreement indexes (rwg) were analyzed. The second phase was the development and experiment of enhancement program of university students’ PsyCap in group work. In the experimental phase, the subjects were Srinakharinwirot University students who enrolled in PG 102 Foundation of Psychology in the second semester of academic year 2013. Two classes of student were assigned to the experimental group (12 student groups) and the control group (10 student groups) by simple random sampling The instruments were 1) PsyCap enhancement program developed by the researcher from literature review combined with results from the first phase, assessed and validated by experts and piloted for its feasibility 2) group-referent PsyCap scale. The pretest-posttest control group design was employed in this study to investigate the effectiveness of the program. Each group of students was assigned to do a research project. The experimental group received the treatment during working together in group assignment, while the control group did not. The statistical analyses encompassed descriptive statistics and independent samples t-test.Findings found that (1) the measurement models of university students’ PsyCap in group work using self-referent model (chi-square=172.593, df=146, p=.066, AGFI=.914, RMSEA=.025) and group-referent model (chi-square=155.609, df=154, p= .449, AGFI=.926, RMSEA=.006) were valid and fitted to empirical data. The psychometric properties, including reliability, construct validity, and criterion-related validity, of the measurement of university students’ PsyCap in group work using group-referent model were higher than self-referent model (2) the enhancement program of university students’ PsyCap in group work was assessed as suitable and feasible (IOC=.571-1.000). The developed enhancement program comprised 5 activities: 1) orientation, introduction to PsyCap and team spirit enhancement 2) hope enhancement 3) optimism enhancement 4) efficacy enhancement and 5) resilience enhancement and conclusion of PsyCap and (3) the university students’ group-level PsyCap could be enhanced through the developed enhancement program of university students’ PsyCap in group work. Findings showed that the scores of difference in pretest and posttest for overall group-level PsyCap, group-level hope, and group-level resilience of the experimental group were significantly higher than those in the control group (t=2.254, t=1.834 and t=2.482 respectively. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.445 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | นักศึกษา | |
dc.subject | การทำงานกลุ่มในการศึกษา | |
dc.subject | จิตวิทยาเชิงบวก | |
dc.subject | ปริญญาดุษฎีบัณฑิต | |
dc.subject | Students | |
dc.subject | Group work in education | |
dc.subject | Positive psychology | |
dc.title | ทุนจิตวิทยาเชิงบวกในการทำงานกลุ่มของนิสิตนักศึกษา: การวิจัยและพัฒนาโมเดลการวัดและโปรแกรมเสริมสร้าง | en_US |
dc.title.alternative | UNIVERSITY STUDENTS' POSITIVE PSYCHOLOGICAL CAPITAL IN GROUP WORK: RESEARCH AND DEVELOPMENT OF MEASUREMENT MODEL AND ENHANCEMENT PROGRAMS | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | en_US |
dc.degree.discipline | วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | wannee.k@gmail.com | en_US |
dc.email.advisor | wsuwimon@chula.ac.th | |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2013.445 | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5484242127.pdf | 9.26 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.