Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43010
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | กุลยศ อุดมวงศ์เสรี | en_US |
dc.contributor.author | ชาคริต ไชยวุฒิเทพารักษ์ | en_US |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2015-06-24T06:23:20Z | |
dc.date.available | 2015-06-24T06:23:20Z | |
dc.date.issued | 2556 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43010 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 | en_US |
dc.description.abstract | ภาครัฐมีนโยบายแผนการจัดหาพลังงานไฟฟ้าของประเทศเพื่อสร้างเสถียรภาพทางด้านการผลิตและใช้พลังงานไฟฟ้า โดยมีการกำหนดนโยบายเพื่อจัดหาพลังงานไฟฟ้าให้มีการกระจายชนิดเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าเพื่อลดความเสี่ยงไม่ให้พึ่งพาเชื้อเพลิงชนิดใดชนิดหนึ่งมากเกินไป ส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและการผลิตไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะต้องมีต้นทุนที่เหมาะสมเพื่อให้ประเทศมีความมั่นคงทางด้านพลังงานอย่างยั่งยืนและคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ในแผนจัดหาพลังงานไฟฟ้าที่ผ่านๆ มาได้มีการกำหนดชนิด ขนาด และประเภทเทคโนโลยีของโรงไฟฟ้าใหม่ที่เข้ามาในประเทศในอีก 20 ปีข้างหน้า แต่ไม่ได้กำหนดพื้นที่หรือบริเวณที่โรงไฟฟ้าติดตั้งที่แน่นอน ทำให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติตามมา เช่น โรงไฟฟ้าที่เข้ามาในพื้นที่ไม่ได้ตอบสนองต่อความต้องการไฟฟ้าในพื้นที่นั้นทำให้ต้องมีการขยายระบบไฟฟ้ากำลังเพื่อส่งกำลังไฟฟ้าจากพื้นที่ที่มีกำลังผลิตไฟฟ้าเหลือไปยังพื้นที่ที่ขาดกำลังผลิตไฟฟ้า ด้วยเหตุนี้ การวางแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าจึงควรมีการพิจารณาถึงแหล่งที่ตั้งของโรงไฟฟ้าด้วย วิทยานิพนธ์นี้นำเสนอการวางแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าโดยพิจารณาเงื่อนไขเชิงพื้นที่ซึ่งเป็นกระบวนการวางแผนก่อสร้างโรงไฟฟ้าโดยคำนึงถึงข้อจำกัดพื้นที่ก่อสร้างโรงไฟฟ้าด้วย เช่น ความต้องการใช้ไฟฟ้าในพื้นที่ ระบบส่งไฟฟ้าที่เชื่อมระหว่างพื้นที่ และแหล่งเชื้อเพลิงที่มีในพื้นที่ เป็นต้น เกณฑ์การกำหนดพื้นที่ติดตั้งโรงไฟฟ้าที่นำเสนอในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ได้ใช้ดัชนีความเชื่อถือได้ประจำพื้นที่ซึ่งแบ่งเป็น 2 ทางเลือกได้แก่ โอกาสเกิดไฟฟ้าดับประจำพื้นที่และระดับกำลังผลิตสำรองประจำพื้นที่ เป็นตัวกำหนดว่าพื้นที่ได้สมควรได้รับการติดตั้งโรงไฟฟ้าก่อน เมื่อทราบพื้นที่ที่ต้องการโรงไฟฟ้าแล้วจึงค่อยทำการเลือกโรงไฟฟ้าที่เหมาะสมเข้าไปในพื้นที่นั้นโดยพิจารณาเฉพาะโรงไฟฟ้าที่สามารถใช้เชื้อเพลิงที่มีในพื้นที่นั้นได้ กระบวนการวางแผนที่นำเสนอได้นำมาทดสอบกับระบบผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย และนำผลที่ได้รับมาเปรียบเทียบกับผลลัพธ์จากการวางแผนด้วยวิธีเดิมเพื่อแสดงให้เห็นถึงข้อดีของการวางแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าที่มีการพิจารณาเงื่อนไขเชิงพื้นที่ร่วมด้วย | en_US |
dc.description.abstractalternative | Government imposes power development plan (PDP) to control the national energy security with energy distribution policy and to promote the renewable energy and energy conservation programs. Typically, in Thailand, when implementing a PDP, the entire generation system is considered as a single area. Information stated in the PDP comprises only types, sizes, and technologies of the power plants needed to be constructed for the next 20 years. However, without specifying locations where these power plants should be constructed, it may cause generation-demand unbalanced in some areas in the future that leads to system instability and unnecessary transmission (tie-line) expansion. Therefore, the power development planning with consideration of regional constraints becomes important. This thesis proposes power development planning with considering regional constraints, determines the generation expansion planning by takes regional constraints such as local demand, tie-line capacity, available resources in each area, and etc., into account as well as specifying proper locations for the future power plants. For location selection, area-based reliability indices, which comprise 2 options i.e. area-based loss of load expectation and area-based reserved margin, are used to determine suitability location. In this thesis, the appropriate power plant that matches with the available local fuels is chosen after the suitable location that needs a new power plant is specified. The proposed method has been tested with Thailand generation system. Comparisons between the results obtained from the proposed method and from the conventional method have been conducted to illustrate its advantages. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.488 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | พลังงานไฟฟ้า | |
dc.subject | โรงไฟฟ้า | |
dc.subject | Electric power | |
dc.subject | Electric power-plants | |
dc.title | การวางแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าโดยพิจารณาเงื่อนไขเชิงพื้นที่ | en_US |
dc.title.alternative | POWER DEVELOPMENT PLANNING WITH CONSIDERATION OF REGIONAL CONDITIONS | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | วิศวกรรมไฟฟ้า | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | kulyos.a@eng.chula.ac.th | en_US |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2013.488 | - |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5570163021.pdf | 6.37 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.