Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43124
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | โชติกา ภาษีผล | en_US |
dc.contributor.author | จุฑาภรณ์ มาสันเทียะ | en_US |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2015-06-24T06:24:16Z | |
dc.date.available | 2015-06-24T06:24:16Z | |
dc.date.issued | 2556 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43124 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผลที่ได้จากการทวนคำตอบกับระดับความยากของข้อสอบและระหว่างผลที่ได้จากการทวนคำตอบกับระดับความสามารถของผู้สอบ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลที่ได้จากการทวนคำตอบที่มีการเรียงลำดับข้อสอบ ระยะเวลาในการสอบและระดับความสามารถของผู้สอบที่แตกต่างกัน ตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 338 คน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) การทวนคำตอบแล้วคงคำตอบถูกไว้ (RR) และการทวนคำตอบแล้วเปลี่ยนจากผิดเป็นถูก (W*R) มีความสัมพันธ์กันในทิศทางลบกับระดับความยากของข้อสอบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ( R =-0.696 และ -0.316 ตามลำดับ )ขณะที่การทวนคำตอบแล้วคงคำตอบผิดไว้ (WW) มีความสัมพันธ์กันในทิศทางบวกกับระดับความยากของข้อสอบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (R = 0.683) 2) การทวนคำตอบแล้วคงคำตอบถูกไว้ (RR) มีความสัมพันธ์กันในทิศทางบวกกับระดับความสามารถของผู้สอบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (R = 0.424) และการทวนคำตอบแล้วคงคำตอบผิดไว้ (WW) มีความสัมพันธ์กันในทิศทางลบกับระดับความสามารถของผู้สอบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ( R= -0.407) 3) ข้อสอบที่มีการเรียงลำดับจากง่ายไปยาก สำหรับระยะเวลาในการสอบ 60 วินาทีต่อข้อจะมีผลให้ผู้สอบที่มีระดับความสามารถปานกลางมีค่าเฉลี่ยจำนวนข้อที่ทวนคำตอบแล้วเปลี่ยนจากผิดเป็นถูก (W*R) สูงกว่าผู้สอบที่ระดับความสามารถสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สำหรับระยะเวลาในการสอบ 75 วินาทีต่อข้อจะมีผลให้ผู้สอบที่มีระดับความสามารถสูงมีค่าเฉลี่ยจำนวนข้อที่ทวนคำตอบแล้วเปลี่ยนจากถูกเป็นผิด (R*W) สูงกว่าผู้สอบที่ระดับความสามารถปานกลางและต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และสำหรับระยะเวลาในการสอบ 75 วินาทีต่อข้อจะมีผลให้ผู้สอบที่มีระดับความสามารถสูงมีค่าเฉลี่ยจำนวนข้อที่ทวนคำตอบแล้วเปลี่ยนจากผิดเป็นถูก (W*R) สูงกว่าผู้สอบที่มีระดับความสามารถปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และข้อสอบที่มีการเรียงลำดับจากระดับพฤติกรรมขั้นต่ำไปขั้นสูง สำหรับระยะเวลาในการสอบ 75 วินาทีต่อข้อจะมีผลให้ผู้สอบที่มีระดับความสามารต่ำมีค่าเฉลี่ยจำนวนข้อที่ทวนคำตอบแล้วเปลี่ยนจากถูกเป็นผิด (R*W) สูงกว่าผู้สอบที่ระดับความสามารถปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ระยะเวลาในการสอบและระดับความสามารถของผู้สอบที่แตกต่างกัน (RESPONSE TIME * ABILITY) พบว่า ระยะเวลาในการสอบ 75 วินาทีต่อข้อ ผู้สอบที่มีระดับความสามารถสูง มีค่าเฉลี่ยของจำนวนข้อที่ทวนคำตอบแล้วมีการเปลี่ยนคำตอบจากถูกเป็นผิด (R*W) สูงกว่าผู้สอบที่มีระดับความสามารถปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และระยะเวลาในการสอบ 75 วินาทีต่อข้อ ผู้สอบที่มีระดับความสามารถสูง มีค่าเฉลี่ยของจำนวนข้อที่ทวนคำตอบแล้วมีการเปลี่ยนคำตอบจากผิดเป็นถูก (W*R) สูงกว่าผู้สอบที่มีระดับความสามารถปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5) ระยะเวลาในการสอบ (RESPONSE TIME) และ ระดับความสามารถของผู้สอบ (ABILITY) พบว่าระยะเวลาในการสอบ 60 วินาทีต่อข้อ มีค่าเฉลี่ยจำนวนข้อที่ทวนคำตอบแล้วยังคงคำตอบถูกไว้ (RR) สูงกว่าระยะเวลาในการสอบ 75 วินาทีต่อข้อ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และระยะเวลาในการสอบ 75 วินาทีต่อข้อ มีค่าเฉลี่ยจำนวนข้อที่ทวนคำตอบแล้วคงคำตอบผิดไว้ (WW) สูงกว่า 60 วินาทีต่อข้อ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สำหรับระดับความสามารถของผู้สอบ(ABILITY) พบว่า ผู้สอบที่มีระดับความสามารถสูงมีค่าเฉลี่ยจำนวนข้อที่ทวนคำตอบแล้วคงคำตอบถูกไว้ (RR) สูงกว่าผู้สอบที่มีระดับความสามารถปานกลางและต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผู้สอบที่มีระดับความสามารถต่ำมีค่าเฉลี่ยจำนวนข้อที่ทวนคำตอบแล้วคงคำตอบผิดไว้ (WW) สูงกว่าผู้สอบที่มีระดับความสามารถสูงและปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 | en_US |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this research were 1) to study the correlation between consequences from reviewing answers and item difficulty and the correlation between consequences from reviewing answers and examinees ’ability levels and ; and 2) to compare the consequences from reviewing answers in multiple-choice item among different test item order, response time and examinees’ ability levels. Participants were 338 tenth grade students. The research findings were as follows: 1) there was a significant, negative relationship between reviewing answer which no change right answer (RR) and change answer wrong to right (W*R) and item difficulty (r=-0.696 ,-0.316), positive relationship between reviewing answer which no change wrong answer (WW) and item difficulty (r=0.683) 2) there was a significant, positive relationship between reviewing answer which no change right answer (RR) (r=0.424) and examinees ’ability levels , negative relationship between reviewing answer which no change wrong answer (WW) (r= - 0.407) 3) there was a significantly different at .05 level on; a) the average amount of reviewing answer which change answer wrong to right (W*R) among different examinees’ ability level in the test item order in order of item difficulty under 60 seconds per item; b) the average amount of reviewing answer which change answer right to wrong (R*W) among different examinees’ ability level in the test item order in order of item difficulty under 75 seconds per item; c) the average amount of reviewing answer which change answer wrong to right (W*R) among different examinees’ ability level in the test item order in order of item difficulty under 75 seconds per item and d) the average amount of reviewing answer which change answer right to wrong (R*W) among different examinees’ ability level in the test item order in order of learning behaviors under 75 seconds per item 4) there was a significantly different at .05 level on the average amount of reviewing answer which change answer right to wrong (R*W) and the average amount of reviewing answer which change answer wrong to right (W*R) among different response time and examinees’ ability levels 5) there was a significantly different at .05 level on the average amount of reviewing answer which no change right answer (RR) and the average amount of reviewing answer which no change wrong answer (WW) under different response time and under different examinees’ ability levels. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.596 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ข้อสอบ -- การประเมิน | |
dc.subject | การประเมินผลทางการศึกษา | |
dc.subject | Educational evaluation | |
dc.title | การเปรียบเทียบผลที่ได้จากการทวนคำตอบในข้อสอบแบบหลายตัวเลือกที่มีการเรียงลำดับข้อสอบ ระยะเวลาในการสอบและระดับความสามารถของผู้สอบที่แตกต่างกัน | en_US |
dc.title.alternative | A COMPARISON OF CONSEQUENCES FROM REVIEWING ANSWERS IN MULTIPLE-CHOICE ITEMS AMONG DIFFERENT TEST ITEM ORDER, RESPONSE TIME AND EXAMINEES’ ABILITY LEVELS | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | การวัดและประเมินผลการศึกษา | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | aimorn.j@chula.ac.th | en_US |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2013.596 | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5583307227.pdf | 7.8 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.