Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43131
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorณัฐวุฒิ บริบูรณ์วิรีย์en_US
dc.contributor.authorปองภพ สุกิตติวงศ์en_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-06-24T06:24:20Z
dc.date.available2015-06-24T06:24:20Z
dc.date.issued2556en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43131
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนดนตรีเพื่อพัฒนาทักษะคีตปฏิภาณดนตรีแจ๊สในคีตลักษณ์บลูส์ของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต 2) นำเสนอแนวทางการจัดการเรียนการสอนดนตรีเพื่อพัฒนาทักษะคีตปฏิภาณดนตรีแจ๊สในคีตลักษณ์บลูส์ของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตที่มีประสิทธิภาพ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย 1) ประมวลรายวิชา ตำรา และเอกสารประกอบการสอน 2) ชั้นเรียนปฏิบัติเครื่องมือเอกแจ๊ส 3) อาจารย์ผู้สอนดนตรีแจ๊ส 3 คน 4) ศิลปินด้านดนตรีแจ๊ส 3 คน 5) บัณฑิตที่จบการศึกษาจากสาขาวิชาดนตรีแจ๊ส 3 คน และ 6) นักศึกษาที่กำลังศึกษาในสาขาวิชาดนตรีแจ๊ส 3 คน เครื่องมือวิจัยได้แก่ 1) แบบบันทึกการวิเคราะห์เอกสาร 2) แบบบันทึกการสังเกตชั้นเรียน และ 3) แบบสัมภาษณ์สภาพและแนวทางการจัดการเรียนการสอน วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล แบ่งตามลักษณะของข้อมูล ได้แก่ 1) ข้อมูลเชิงปริมาณ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ และตีความเชิงบรรยาย 2) ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) โดยจำแนกประเภท เปรียบเทียบข้อมูล และสร้างข้อสรุปเชิงอุปนัย ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1. สภาพการจัดการเรียนการสอนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการสร้างฐานความรู้และเชื่อมโยงฐานความรู้ในตัวผู้เรียนเพื่อเป็นพื้นฐานในการประยุกต์ใช้สร้างสรรค์ โดยให้ผู้เรียนค้นคว้าหาแนวทางสร้างสรรค์ด้วยตนเอง อย่างไรก็ตามไม่ได้กำหนดระดับของการสร้างสรรค์ชัดเจน 2. แนวทางการจัดการเรียนการสอนแบ่งออกเป็น 5 ด้าน ประกอบด้วย 1) การกำหนดวัตถุประสงค์ ควรครอบคลุมด้านการพัฒนาและเพิ่มพูนฐานความรู้ในตัวผู้เรียน การเชื่อมโยงระหว่างฐานความรู้ในตัวผู้เรียน การกระตุ้นให้ผู้เรียนประยุกต์ใช้ฐานความรู้ในการสร้างสรรค์คีตปฏิภาณ และการพัฒนาต่อยอดความรู้ด้วยตนเอง 2) การกำหนดเนื้อหาสาระ นอกเหนือจากเนื้อหาสาระดนตรี และทักษะดนตรีแล้ว ควรคำนึงถึงสาระด้านทัศนคติ ทักษะและกระบวนการรับรู้ ความถนัดในการคิดสร้างสรรค์ และสภาวะที่ส่งเสริมคีตปฏิภาณ 3) การจัดกิจกรรมการสอนควรมุ่งเน้นการพัฒนาและเชื่อมโยงฐานความรู้ รวมถึงการฟัง การลอกเลียนแบบ การฝึกฝน การถอดเสียง การวิเคราะห์ การบรรเลง และการบรรเลงคีตปฏิภาณกลุ่ม 4) สื่อการสอน ประกอบด้วย สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อผสม อุปกรณ์ที่ใช้ในการฝึกฝน และเครื่องดนตรี ด้านสภาพแวดล้อมควรคำนึงถึง บรรยากาศการสอน อุปกรณ์ ห้องเรียน อคูสติก การมีปฏิสัมพันธ์ และสิ่งแวดล้อมทางสังคม 5) การวัดผลประเมินผล ควรครอบคลุมความถูกต้องของเนื้อหา ทักษะ และความคิดสร้างสรรค์ โดยการสังเกตพฤติกรรม การทดสอบ และการสอบถามen_US
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were 1) to study the authentic teaching environments of jazz improvisation skills in blues form for undergraduate students and 2) to propose guidelines for organizing effective music instruction to develop jazz improvisation skills in blues form for undergraduate students. The sample group were 1) course syllabus, textbooks and supplementary sheets 2) jazz major instrumental classes 3) 3 jazz teachers 4) 3 jazz artists 5) 3 graduates in jazz studies and 6) 3 students in jazz studies. The research tools were 1) data analysis forms 2) class observation forms and 3) interview forms on the state and guideline of instruction. Data analysis methods were 1) quantitative data were analyzed through frequency distribution and descriptive interpretation 2) qualitative data were analyzed through content analysis by classification comparison and inductive conclusion. 
The result revealed that 1) In authentic teaching environments, attention was focused on constructing and connecting parts of knowledge bases in order to establish foundation of creativity, students tend to explore creativity in their own way, although the levels of creativity were not specifically described. 2) Instructional guidelines were divide into 5 aspects including 1) The objectives of instruction should aim at developing and increasing the foundation of students knowledge, connecting students knowledge, application of knowledge on improvisation, and the students abilities to develop themselves. 2) The contents should include not only musical contents and skills but also attitude, perceptual processes and skills, aptitudes for creative thinking, and states that encouraged improvisation. 3) The instructional activities should focus on developing and connecting knowledge through listening, imitating, training, transcribing, playing and group improvising. 4) The instructional media should include publishing media, multimedia, practicing tools and musical Instruments. The learning environment should focused on learning atmosphere, equipment, classrooms, acoustic, student interaction and social environment. 5) The assessments should comprise of contents, skills and creativity through behavior observation, examination and discussion.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2013.602-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectดนตรี -- การศึกษาและการสอน
dc.subjectดนตรีแจ๊ซซ์
dc.subjectการบริหารองค์ความรู้
dc.subjectMusic -- Study and teaching
dc.subjectJazz music
dc.subjectKnowledge management
dc.titleการนำเสนอแนวทางการจัดการเรียนการสอนดนตรีเพื่อพัฒนาทักษะคีตปฏิภาณดนตรีแจ๊สในคีตลักษณ์บลูส์ของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตen_US
dc.title.alternativePROPOSED GUIDELINES FOR ORGANIZING MUSIC INSTRUCTION TO DEVELOP JAZZ IMPROVISATION SKILLS IN BLUES FORM FOR UNDERGRADUATE STUDENTSen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineดนตรีศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisornathawut9@hotmail.comen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2013.602-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5583323227.pdf3.57 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.