Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43135
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชนิศา ตันติเฉลิมen_US
dc.contributor.authorเพ็ชรวลี คำรนเดชen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-06-24T06:24:22Z
dc.date.available2015-06-24T06:24:22Z
dc.date.issued2556en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43135
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทักษะทางวิชาการของนักเรียนที่มีภาวะเสี่ยงต่อปัญหาทางการเรียนรู้หลังจากการใช้โปรแกรมส่งเสริมทักษะทางวิชาการตามกระบวนการฟังก์ชันเบส และเพื่อศึกษาผลกระทบของโปรแกรมฯที่มีต่อบุคคลที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ครู ผู้ปกครอง และนักเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนที่มีภาวะเสี่ยงต่อปัญหาทางการเรียนรู้ระดับประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม ที่ได้รับการเสนอชื่อจากครูประจำชั้น จำนวน 3 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ โปรแกรมส่งเสริมทักษะทางวิชาการตามกระบวนการฟังก์ชันเบสประกอบด้วย 1) เครื่องมือรวบรวมและวิเคราะห์หน้าที่ของพฤติกรรม และ 2) แผนส่งเสริมทักษะทางวิชาการตามกระบวนการฟังก์ชันเบส และ เครื่องมือรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) แบบทดสอบทักษะทางวิชาการ และ 2) แบบสัมภาษณ์ผลกระทบของโปรแกรมส่งเสริมทักษะทางวิชาการตามกระบวนการฟังก์ชันเบส วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่ามัธยฐาน (Median) ค่าพิสัย (Range) และค่าต่ำสุด-ค่าสูงสุด ของร้อยละของคะแนนทักษะทางวิชาการ นำเสนอด้วยกราฟเส้น รูปแบบการวิจัยแบบกลุ่มตัวอย่างเดี่ยว (Single-Subject Design) รูปแบบหลายเส้นฐานข้ามบุคคล (Multiple-Baseline Design across Individuals) แบ่งระยะเวลาเก็บข้อมูลเป็น 2 ระยะ คือ ระยะเส้นฐาน และระยะการใช้โปรแกรม ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนกลุ่มตัวอย่างทั้ง 3 คน มีร้อยละของคะแนนทักษะทางวิชาการในระยะการใช้โปรแกรมสูงขึ้นกว่าในระยะเส้นฐาน และ 2) โปรแกรมส่งเสริมทักษะทางวิชาการตามกระบวนการฟังก์ชันเบสมีผลกระทบทางบวกต่อบุคคลที่เกี่ยวข้อง โดยครู ผู้ปกครอง และนักเรียน เห็นว่าโปรแกรมฯมีการระบุปัญหาของนักเรียนที่เหมาะสม นอกจากนี้ครู ผู้ปกครอง และนักเรียน ควรนำเอาโปรแกรมฯไปใช้ให้ความช่วยเหลือผู้เรียนที่มีภาวะเสี่ยงต่อปัญหาทางการเรียนรู้ในอนาคตen_US
dc.description.abstractalternativeObjectives of this research were to study academic skills of student who are at risk of learning difficulties after participating in a function-based program and to study impacts of the program on the relevant people including teachers, students, and parents. The participants were 3 fourth-grade students at-risk of learning difficulties from Chulalongkorn University Demonstration Elementary School nominated by their classroom teachers. The research tools are: The function-based program to enhance academic performance comprising of 1) functional behavior assessment: FBA instruments and 2) lesson plans to enhance academic performance and Data Collection instruments comprising 1) academic performance test instrument and 2) interviews form on the impacts of the program. Data were analyzed using median range and min-max of academic score and presented in a plotted graph. Multiple-baseline Single-subject Design across individuals was used as the methodology. This research found that 1) during intervention phase all participles have higher academic score than during baseline 2) function-based program has positive effects on the relevant people. The teacher, the parents, and the students agree that behavior statements for all participles were appropriate. Moreover, they view that the program should be implemented to help students at-risk of learning difficulties in the future.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2013.606-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectความบกพร่องทางการเรียนรู้
dc.subjectเด็ก -- การเรียนรู้
dc.subjectLearning disabilities
dc.titleผลของโปรแกรมส่งเสริมทักษะทางวิชาการตามกระบวนการฟังก์ชันเบสที่มีต่อทักษะทางวิชาการของนักเรียนประถมศึกษาที่มีภาวะเสี่ยงต่อปัญหาทางการเรียนรู้en_US
dc.title.alternativeEFFECTS OF A FUNCTION-BASED PROGRAM TO ENHANCE ACADEMIC PERFORMANCE FOR PRIMARY SCHOOL STUDENTS AT-RISK OF LEARNING DIFFICULTIESen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineจิตวิทยาการศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorchanisa@gmail.comen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2013.606-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5583334127.pdf4.18 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.