Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43138
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอวยพร เรืองตระกูลen_US
dc.contributor.authorสุริชา ฐานวิสัยen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-06-24T06:24:24Z
dc.date.available2015-06-24T06:24:24Z
dc.date.issued2556en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43138
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการนิยมความสมบูรณ์แบบและการสนับสนุนของอาจารย์ที่ปรึกษาตามการรับรู้ของนิสิตบัณฑิตศึกษา 2) ศึกษาระดับการรับรู้ความสามารถของตนเอง ความเครียด และความก้าวหน้าในการทำวิทยานิพนธ์ของนิสิตบัณฑิตศึกษา 3) ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลอิทธิพลของการนิยมความสมบูรณ์แบบและการสนับสนุนของอาจารย์ที่ปรึกษาที่ส่งผลต่อความก้าวหน้าในการทำวิทยานิพนธ์ของนิสิตบัณฑิตศึกษา โดยมีพหุตัวแปรส่งผ่านกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 4) วิเคราะห์ลักษณะการส่งผ่านของการรับรู้ความสามารถของตนเองและความเครียดที่ได้รับอิทธิพลจากการนิยมความสมบูรณ์แบบและการสนับสนุนของอาจารย์ที่ปรึกษาไปยังความก้าวหน้าในการทำวิทยานิพนธ์ ตัวอย่างวิจัยคือ นิสิตปริญญาโท ชั้นปีที่ 2-4 หลักสูตรทำวิทยานิพนธ์ คณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ จำนวน 415 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสองขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม ทีมีค่าความเที่ยงในแต่ละด้านอยู่ในช่วง 0.73-0.88 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยด้วยสถิติทีสำหรับตัวอย่างที่เป็นอิสระจากกัน และวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (SEM) ด้วยโปรแกรม LISREL ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) การนิยมความสมบูรณ์แบบของอาจารย์ที่ปรึกษาและการสนับสนุนของอาจารย์ที่ปรึกษาผ่านการรับรู้ของนิสิตอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.72 และ 3.92 ตามลำดับ 2) การรับรู้ความสามารถของตนเอง และความก้าวหน้าในการทำวิทยานิพนธ์อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.72 และ 4.03 ตามลำดับ ส่วนความเครียดในการทำวิทยานิพนธ์อยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.12 3) โมเดลอิทธิพลเชิงสาเหตุที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่า Chi-square=55.50, df=44, p=0.12, GFI=0.98, AGFI=0.96, RMR=0.02 และ RMSEA= 0.03 โดยตัวแปรในโมเดลอธิบายความแปรปรวนของความก้าวหน้าในการทำวิทยานิพนธ์ได้ร้อยละ 59.00 และ 4) การรับรู้ความสามารถของตนเองและความเครียดในการทำวิทยานิพนธ์ มีบทบาทการส่งผ่านแบบบางส่วนจากการนิยมความสมบูรณ์แบบและการสนับสนุนของอาจารย์ที่ปรึกษาไปยังความก้าวหน้าในการทำวิทยานิพนธ์en_US
dc.description.abstractalternativeThe objectives of the research were 1) to study levels of perfectionism and support of advisors as perceived by graduate students; 2) to study levels of self-efficacy, stress and thesis progress on graduate students; 3) to validate the goodness of fit of a causal model of perfectionism and support of advisors on graduate students' thesis progress with multiple mediators; and 4) to analyze type of mediating effects of self-efficacy and stress affected by perfectionism and support of advisors on thesis progress. The samples were 415 Master’s Degree student who studies in thesis program in Faculty of Education. The samples were selected by two-stage random sampling. The research instrument was a questionnaire with reliability coefficients between 0.73-0.88 for subsections. Data analyses were conducted by using descriptive statistics, t-test for independent samples, and LISREL to validate an of structural equation models. The research findings were as follows: 1) The perfectionism and support of advisors' levels as graduate students perceive were at the high level with the means of 3.72 and 3.92. 2) The self-efficacy and thesis progress were at the high level with the means of 3.72 and 4.03. The stress from thesis processing was at the moderate level with the mean of 3.12. 3) The developed causal model was fit with the empirical data (Chi-square=55.50, df=44, p=0.12, GFI=0.98, AGFI=0.96, RMR=0.02 and RMSEA=0.03). The variables in the model explained 59.00% of thesis progress. 4) Self-efficacy and stress were the partial mediators affected by perfectionism and support of advisors on thesis progress.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2013.609-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectอาจารย์ที่ปรึกษา--ทัศนคติ
dc.subjectการรับรู้ตนเอง
dc.subjectFaculty advisors -- Attitudes
dc.subjectSelf-perception
dc.titleอิทธิพลของการนิยมความสมบูรณ์แบบและการสนับสนุนของอาจารย์ที่ปรึกษาที่ส่งผลต่อความก้าวหน้าในการทำวิทยานิพนธ์ของนิสิตบัณฑิตศึกษาโดยมีพหุตัวแปรส่งผ่านen_US
dc.title.alternativeEFFECTS OF PERFECTIONISM AND SUPPORT OF ADVISORS ON GRADUATE STUDENTS’ THESIS PROGRESS WITH MULTIPLE MEDIATORSen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorAuyporn.R@chula.ac.then_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2013.609-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5583351827.pdf4.6 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.