Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43156
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorณรุทธ์ สุทธจิตต์en_US
dc.contributor.authorมารียา ปัณณะกิจการen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-06-24T06:24:34Z
dc.date.available2015-06-24T06:24:34Z
dc.date.issued2556en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43156
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านโน้ตตามแนวคิดโคดายสำหรับผู้เรียนเปียโนในวัยผู้ใหญ่ตอนต้น และศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางด้านทักษะการอ่านโน้ต ด้านความรู้ และศึกษาเจตคติที่มีต่อการเรียนจากการทดลองแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้านทักษะการอ่านโน้ตตามแนวคิดโคดายสำหรับผู้เรียนเปียโนวัยผู้ใหญ่ตอนต้น วิธีการดำเนินการวิจัยในครั้งนี้เป็นการสืบค้นเอกสารและเป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ วัยผู้ใหญ่ตอนต้นที่มีช่วงอายุระหว่าง 25-30 ปี และไม่มีพื้นฐานทางด้านดนตรี จำนวน 10 คน แบ่งออกเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านโน้ตตามแนวคิดโคดายสำหรับผู้เรียนเปียโนในวัยผู้ใหญ่ตอนต้น 2) แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน 3) แบบวัดเจตคติ 4) แบบสังเกตพฤติกรรม 5) แบบประเมินความพึงพอใจ และ 6) แบบบันทึกหลังการเรียนการสอน และวิเคราะห์ข้อมูลจากการทดลองโดย t-test ค่าขนาดอิทธิพล และสถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัย มีดังนี้ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านโน้ตตามแนวคิดโคดายสำหรับผู้เรียนเปียโนในวัยผู้ใหญ่ตอนต้น แบ่งออกเป็น 7 หัวข้อ ได้แก่ แนวคิด จุดประสงค์ เนื้อหา กิจกรรม สื่อการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล และ หมายเหตุ โดยมีรายละเอียดการพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้จำนวน 7 แผน ซึ่งแผนการจัดกิจกรรมตามแนวคิดโคดายนั้นจะมุ่งเน้นพัฒนาทักษะการอ่านโน้ตโดยเริ่มจากการสอนขับร้อง ทั้งมีการใช้หลักการสอนผู้ใหญ่เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อให้การสอนดนตรีสามารถดำเนินไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพเหมาะสมกับลักษณะการเรียนรู้และความต้องการของผู้เรียนวัยผู้ใหญ่ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบ่งเป็น 2.1) กลุ่มทดลองมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในภาพรวม (M= 58.58, SD = 3.85) สูงกว่ากลุ่มควบคุม (M= 48.9, SD = 7.61) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.2) กลุ่มทดลองมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านทักษะการอ่านโน้ต (M= 13.3, SD = 0.97) สูงกว่ากลุ่มควบคุม (M= 11.9, SD = 0.42) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.3) กลุ่มทดลองมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ความเข้าใจ (M= 34.60, SD = 4.28) สูงกว่ากลุ่มควบคุม (M= 27.30, SD = 7.21) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.4) ด้านเจตคติแบ่งการประเมินเป็น 2 ส่วน คือ 1) ประเมินโดยผู้เรียน และ 2) ประเมินโดยผู้สอน ผลการประเมินโดยผู้เรียนซึ่งใช้แบบวัดเจตคติและแบบบันทึกหลังเรียนประเมินความพึงพอใจ พบว่ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านเจตคติไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีคะแนนเฉลี่ยระดับความพึงพอใจหลังการเรียนการสอนอยู่ในความพึงพอใจมาก ส่วนผลการประเมินโดยผู้สอนซึ่งใช้แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียน พบว่า กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการเรียนในภาพรวมอยู่ในระดับสูงen_US
dc.description.abstractalternativeThe objective of this research is to develop piano learning activity plans based on Kodály’s approach for early adult piano students and to study the learning outcome in note reading skills, knowledge and attitude. The research employed documentary inquiry and quasi-experimental research strategy. The survey samples were 10 early adult piano students aged 25-30 with no music background. The participants were divided into an experimental group and a control group of five students each. The six research instruments were 1) note reading skills lesson based on kodály’s approach for early adult piano students 2) a pretest and a posttest 3) attitude test 4) behavior observation form 5) student satisfaction survey were also collected at the end of every class and 6) reflection notes from teachers and students. The data analysis consisted of t-test, effect size and descriptive statistics. The findings are: 1) The seven note reading skills lesson based on Kodály’s approach for early adult piano students consisted of seven topics which are concepts, objectives, contents, learning activities, teaching materials , measurement and evaluation and comments. The content of Seven activity development plans which follows Kodály’s approach focuses on reading skills which teaching singing is the prior activity. Furthermore, the use of adult educational principles can help the piano class go along smoothly and efficiently that suited with the early adult piano students’ demands. 2) The learning outcomes were divided into: 2.1) The summary in the experimental group (M = 58.58, SD = 3.85) was significantly higher than that of the controlled group (M = 48.9, SD = 7.61) at .05 level 2.2) The note reading skills in the experimental group (M = 13.3, SD = 0.97) was significantly higher than that of the controlled group (M = 11.9, SD = 0.42) at .05 level 2.3) Knowledge in the experimental group (M = 34.60, SD = 4.28) was significantly higher than that of the controlled group (M = 27.30, SD = 7.21) at .05 level 2.4) Attitude test was divided in 2 parts: 1) Learner’s self evaluation 2) instructor’s evaluation For the learning outcome, there was no significant difference between the experimental group and the controlled group in the attitude at .05 level. Satisfaction rate in experimental group (M = 2.86, SD = 0.15) was significantly higher than that of the controlled group (M = 2.37, SD = 0.34) at .05 level. In addition, learning behaviors which evaluated by the instructor’s observation, the experimental and the control group had a learning behavior average in high level.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2013.626-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการเรียนรู้ของผู้ใหญ่
dc.subjectโน้ตเพลง
dc.subjectAdult learning
dc.subjectMusical notation
dc.titleการพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านโน้ตตามแนวคิดโคดายสำหรับผู้เรียนเปียโนวัยผู้ใหญ่ตอนต้นen_US
dc.title.alternativeTHE DEVELOPMENT OF LEARNING ACTIVITY PLANS TO ENHANCE NOTE READING SKILLS BASED ON KODÁLY’S APPROACH FOR EARLY ADULT PIANO STUDENTSen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineดนตรีศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisornarutt.s@chula.ac.then_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2013.626-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5583424027.pdf6.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.