Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43173
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอวยพร เรืองตระกูลen_US
dc.contributor.authorทิพอาภา กลิ่นคำหอมen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-06-24T06:24:42Z
dc.date.available2015-06-24T06:24:42Z
dc.date.issued2556en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43173
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและตรวจสอบความตรงของโมเดลเชิงสาเหตุของความยึดมั่นผูกพันของนักเรียนและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เกิดจากอิทธิพลของครู กับข้อมูลเชิงประจักษ์ 2) วิเคราะห์ลักษณะอิทธิพลของความยึดมั่นผูกพันของนักเรียนและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เกิดจากอิทธิพลของครู ตัวอย่างวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ใน 4 สังกัด ได้แก่ โรงเรียนสังกัด สพฐ. สช. กทม. และ สกอ. ที่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 429 คน ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ความยึดมั่นผูกพันของครู การปฏิบัติการสอนของครู ความยึดมั่นผูกพันของนักเรียน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์โมเดลลิสเรล ผลการวิจัยพบว่า 1) โมเดลเชิงสาเหตุของความยึดมั่นผูกพันของนักเรียนและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เกิดจากอิทธิพลของครูที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยไค-สแควร์ (Chi-square) เท่ากับ 23.83 องศาอิสระ (df) เท่ากับ 19 ความน่าจะเป็น (p) เท่ากับ 0.20 ค่าดัชนีวัดความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ 0.99 ค่าดัชนีความกลมกลืนที่ปรับแก้ (AGFI) เท่ากับ 0.97 ค่าดัชนีรากกำลังสองเฉลี่ยของส่วนที่เหลือ (RMR) เท่ากับ 0.01 โดยตัวแปรในโมเดลอธิบายความแปรปรวนของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้ร้อยละ 16 2) อิทธิพลของครูส่งผลทางตรงและทางอ้อมต่อความยึดมั่นผูกพันของนักเรียนและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยตัวแปรการปฏิบัติการสอนของครูมีบทบาทส่งผ่านแบบบางส่วนจากความยึดมั่นผูกพันของครูไปยังความยึดมั่นผูกพันของนักเรียน (อิทธิพลทางตรงเท่ากับ 0.30 และอิทธิพลทางอ้อมเท่ากับ 0.25) และตัวแปรความยึดมั่นผูกพันของนักเรียนมีบทบาทส่งผ่านแบบบางส่วนจากการปฏิบัติการสอนของครูไปยังผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (อิทธิพลทางตรงเท่ากับ 0.12 และอิทธิพลทางอ้อมเท่ากับ 0.11)en_US
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were 1) to develop and validate a causal model of student engagement and academic achievement by teachers’ effects. 2) to study the pattern of direct and indirect effects of student engagement and academic achievement by teachers’ effects. The sample consisted of 429 tenth grade students in OBEC, OPEC, BMA and MUA schools in Bangkok. The studied variables were teacher engagement, teaching performance, student engagement and academic achievement. The rating scale questionnaires were used for data collection. Data analyses consisted of descriptive statistics, one-way ANOVA, Pearson is correlation and LISREL model analysis. The research findings were as follows: 1) The developed causal model of student engagement and academic achievement by teachers’ effects was fit with the empirical data (Chi-square=23.83, df=19, p-value=0.20, GFI=0.99, AGFI=0.97, RMR=0.01). All variables in the model could explain 16% of students' academic achievement. 2) Teachers’ effects had direct and indirect effects on student engagement and academic achievement. In fact, teaching performance was a partial mediator between teacher engagement and student engagement (direct effect = 0.30, indirect effect = 0.25). Student engagement was also partial mediator between teaching performance and academic achievement (direct effect = 0.12, indirect effect = 0.11).en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2013.646-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectความสัมพันธ์ระหว่างครูและนักเรียน
dc.subjectผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
dc.subjectTeacher-student relationships
dc.subjectAcademic achievement
dc.titleโมเดลเชิงสาเหตุของความยึดมั่นผูกพันของนักเรียนและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เกิดจากอิทธิพลของครูen_US
dc.title.alternativeA CAUSAL MODEL OF STUDENT ENGAGEMENT AND ACADEMIC ACHIEVEMENT BY TEACHERS' EFFECTSen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorrauyporn@chula.ac.then_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2013.646-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5583857027.pdf3.72 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.