Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43181
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพัชนี เชยจรรยาen_US
dc.contributor.authorญาดา แสงเพ็ชรen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-06-24T06:24:47Z
dc.date.available2015-06-24T06:24:47Z
dc.date.issued2556en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43181
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาถึงรูปแบบการนำเสนอของรายการหนังพาไป 2) ศึกษาและอธิบายเนื้อหาด้านการพัฒนาของรายการหนังพาไป 3) ศึกษาความเป็นขนบและความแปลกใหม่/สร้างสรรค์ของรายการหนังพาไป ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้วิธีวิจัยแบบการสัมภาษณ์เชิงลึกร่วมกับการวิเคราะห์เนื้อหาของรายการหนังพาไป ของสถานีโทรทัศน์ Thai PBS ทั้งหมดสอง season โดย season ที่ 1 มี 36 เทป และ season ที่ 2 มี 27 เทป จำนวนรวมทั้งสิ้น 63 เทป ผลการวิจัยพบว่า 1. รายการหนังพาไปเป็นรายการที่มีรูปแบบรายการที่หลากหลาย ได้แก่ รูปแบบรายการสาระบันเทิง (Edutainment) รูปแบบรายการสารคดี (Documentary programme) รูปแบบรายการโทรทัศน์ตามจริง (Reality TV) รูปแบบรายการท่องเที่ยว และรูปแบบรายการลูกผสม (Hybrid programme) 2. รายการหนังพาไปนั้นโดดเด่นในการนำเสนอเนื้อหาด้านการพัฒนา ซึ่งสอดคล้องกับองค์ประกอบคุณภาพชีวิตมนุษย์ของ Lennart and Anderson (1975) สังเคราะห์ร่วมกับตัวบ่งชี้คุณภาพชีวิตของโครงการกำหนดดัชนีคุณภาพชีวิตของไทย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (2548) โดยพบว่ามีการนำเสนอด้านการคมนาคมและการสื่อสารมากที่สุด รองลงมาเป็นอันดับสองคือการนำเสนอด้านสิ่งแวดล้อม และรองลงมาเป็นอันดับสามคือการนำเสนอในด้านความปลอดภัย ทั้งนี้เนื่องมาจากพื้นฐานทางการศึกษาทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ของหนึ่งในพิธีกรทำให้นำเสนอมุมมองที่สอดคล้องกับด้านวิศวกรรมศาสตร์ 3. รายการมีความแปลกใหม่/สร้างสรรค์ (Invention) ทั้งทางด้านรูปแบบและการนำเสนอ เช่น มีผู้ผลิตตลอดกระบวนการเพียง 2 คน ในขณะที่รายการอื่นๆ ใช้ทีมงานเป็นจำนวนมาก, มีพิธีกรที่ไม่ใช่ดารา นักแสดงหรือบุคคลที่มีชื่อเสียงเหมือนพิธีกรรายกรอื่นๆ และการนำตัวอักษรมาใช้ตลอดทั้งรายการ เป็นต้น ในขณะที่เนื้อหารายการนั้นนอกจากการนำเสนอเนื้อหาด้านการพัฒนาแล้ว ก็ยังมีนำเสนอค่าใช้จ่ายตลอดกระบวนการในการถ่ายทำรายการ รวมถึงค่ากิน ค่าเดินทาง และค่าที่พัก เป็นต้น ซึ่งสัดส่วนของรูปแบบและเนื้อหาดังกล่าวในรายการหนังพาไปจะมีมากกว่าความเป็นขนบ (Convention) และความแปลกใหม่/สร้างสรรค์ที่รายการนำเสนอนี้เองก็สอดคล้องกับเหตุผลที่ผู้ชมรายการให้ความสนใจในรายการด้วยen_US
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were 1) to study the format of TV program “Movie Pa Pai”, 2) to study content development of TV program “Movie Pa Pai” and 3) to study convention and invention of TV program“Movie Pa Pai”. This research applied the qualitative research: using in-depth interview and textual analysis to analyze both seasons of “Movie Pa Pai” on Thai PBS channel which had 63 tapes in total, 36 tapes in the first season and 27 tapes in the second. The research found that 1. “Movie Pa Pai” has various formats such as edutainment, documentary programme, reality TV, travel program and hybrid programme. 2. “Movie Pa Pai” is outstanding in development issues which consistent with the criteria components of the quality of human life of Lennart and Anderson (1975) synthesizing with the discriminant indicators of quality of life of Thai people from Ministry of Social Development and Human Security (2548). The research found that the three ranking development issues in this TV program are transport and communications, environment and security gradually. The cause of this ranking is view of engineering from one of the producer who graduated in Engineering. 3. The program has invention in format and content, for instance, “Movie Pa Pai” has only 2 people in all the process of making the program while others programs have many crews. The hosts are not stars, actors or celebrities as in others TV programs. There are also the texts showed throughout the program. In addition of the content about development issues, the entire program also presents the costs in making program, including food cost, traveling and accommodation expenses. In the program, this kind of invention, in both format and presentation, is showed more than the convention part that makes the audience interested in the program.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2013.654-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectรายการโทรทัศน์ -- การวิเคราะห์เนื้อหา
dc.titleการวิเคราะห์เนื้อหาด้านการพัฒนาของรายการหนังพาไปen_US
dc.title.alternativeA CONTENT ANALYSIS OF "MOVIES PA PAI" TV PROGRAM ON DEVELOPMENTen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineนิเทศศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorpatchaneec@hotmail.comen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2013.654-
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5584662128.pdf6.96 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.