Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43204
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorถิรนันท์ อนวัชศิริวงศ์en_US
dc.contributor.authorศศินันท์ พัฒนะen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-06-24T06:24:59Z
dc.date.available2015-06-24T06:24:59Z
dc.date.issued2556en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43204
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสถานภาพของสถาบันอบรมการแสดงเอกชน 2. เพื่อศึกษามโนทัศน์ทางศิลปะการแสดงของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับสถาบันอบรมการแสดงเอกชน และ 3. เพื่อศึกษาทัศนะต่อการเรียนการแสดงของผู้เรียนในสถาบันอบรมการแสดงเอกชน ระเบียบวิธีวิจัยใช้แบบสหวิธีการ สำหรับประชากรประเภทสถาบัน ได้แก่ 1.) สถาบันอบรมการแสดงเอกชนในอดีตที่มีอิทธิพลต่อแนวคิดศิลปะการแสดงของสถาบันอบรมการแสดงในปัจจุบัน โดยรวบรวมข้อมูลจากเอกสารของสถาบันและเอกสารที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสัมภาษณ์เชิงลึกบุคลากรที่เกี่ยวข้อง 2.) สถาบันอบรมการแสดงเอกชนในปัจจุบัน (ช่วงเวลาดำเนินการวิจัย เดือน ต.ค. 2556 ถึง เดือน ก.พ. 2557) ซึ่งจากการสืบค้นจากเอกสารทางอิเล็กทรอนิกส์ พบจำนวน 44 สถาบัน โดยผู้วิจัยได้รวบรวมข้อมูลจากเอกสาร และสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารและครูสอนการแสดงของสถาบันประกอบการสังเกตการณ์ รวมทั้งสิ้น 24 สถาบัน คิดเป็นร้อยละ 54.5 ของสถาบันอบรมการแสดงเอกชนทั้งหมดที่สืบค้นได้ สำหรับประชากรประเภทบุคคล คือผู้เรียนการแสดงในสถาบันอบรมการแสดงเอกชน เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้เรียนรวม 66 คน (แบ่งเป็น 3-12 ปี, 13-18 ปี และ 19 ปีขึ้นไป) โดยผู้วิจัยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างกระจายตามประเภทของสถาบัน ผลการวิจัยพบว่าสถาบันอบรมการแสดงเอกชนในปัจจุบันก่อตั้งขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2545-2549 จำนวน 4 สถาบัน ในช่วงปี พ.ศ. 2550-2554 จำนวน 20 สถาบัน และในช่วงปี พ.ศ. 2555-2556 จำนวน 20 สถาบัน โดยสามารถจำแนกสถาบันออกเป็น 4 ประเภทคือ สถาบันที่มีจุดประสงค์การเปิดสถาบันเพื่ออบรมการแสดงเป็นหลัก, สถาบันที่มีจุดประสงค์เพื่ออบรมเกี่ยวกับศิลปะการแสดงรอบด้าน, สถาบันที่เป็นลักษณะธุรกิจจัดหานักแสดง และองค์กรด้านละครที่จัดตั้งขึ้นโดยบุคคลหรือกลุ่มบุคคล ทั้งนี้สถาบันอบรมการแสดงเอกชนส่วนใหญ่ดำเนินกิจการอื่นควบคู่ไปกับการเปิดอบรมการแสดง ได้แก่ การผลิตรายการโทรทัศน์และการผลิตงานแสดงในงานอีเว้นท์ ซึ่งถือเป็นแหล่งรายได้ที่นอกเหนือจากรายได้หลักซึ่งมาจากค่าอบรมการแสดง สำหรับสถานที่ตั้งพบว่าสถาบันอบรมการแสดงส่วนใหญ่ตั้งอยู่บริเวณ ทาวน์ อิน ทาวน์ เขตวังทองหลางซึ่งเป็นแหล่งผลิตงานโทรทัศน์และภาพยนตร์โฆษณาและสถาบันส่วนใหญ่จดทะเบียนในรูปแบบบริษัทคิดเป็นร้อยละ 52.0 โดยสามารถแบ่งกลุ่มแนวคิดเกี่ยวกับการแสดงของสถาบันอบรมการแสดงเอกชนได้ออกเป็น 4 แนวคิด คือ การแสดงเพื่อเป็นนักแสดงอาชีพ, การแสดงเพื่อความเป็นนักร้อง-นักเต้น,การแสดงเพื่อการพัฒนาบุคคล และการแสดงเพื่อศึกษาต่อสาขาการแสดงในระดับอุดมศึกษา นอกจากนี้ในส่วนของ สาเหตุต่อการอบรมการแสดง พบว่าผู้เรียนส่วนใหญ่ต้องการเป็นนักแสดง (ร้อยละ 65.2) รองลงมาคือต้องการนำความรู้ไปปรับใช้กับชีวิตประจำวัน (ร้อยละ 22.7) อันดับสุดท้ายคือต้องการศึกษาต่อในสาขาการแสดงในระดับอุดมศึกษาและนำไปปรับใช้ในอาชีพที่เกี่ยวข้อง (ร้อยละ12.1)en_US
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were 1) to study the status of private acting studios 2) to study the performing arts concept 3) to study the opinion of private acting studios’ students. The study is considerably a qualitative research by using multiple methodologies. For private acting studios are 1) the ex- private acting studios influencing the present private acting studios by studying the relevant documents Including in-depth interview relevant persons 2) the present private acting studios (Oct. 2013 - Feb. 2014) which found in online documents 44 studios by studying studios and relevant documents, in-depth interview executive and acting teacher of studios, and also the observation. For private acting studios’ students, study by interviewing 66 students (3-12 yrs., 13-18 yrs., and 19 yrs. and up) scattered by studio categories. The research found that the present private acting studios founded in 2002-2006 4 studios, in 2007-2011 20 studios, and in 2012-2013 20 studios. It can be divided into 4 categories: 1) studios that have intention to specifically train acting 2) studios that have intention to entirely train performing arts 3) studios that have intention to be modeling agency 4) theatrical organization founded by person or group of persons. It can be seen a number of the businesses operated mostly with TV production business, and event performance business. However, significantly, acting training is the main part in generating revenue. For the location, the result shows that most of private acting studios are located on Ladprao road and in Town-in-Town area which is the cluster of TV and advertising production. Moreover, 52.0% of private acting studios register as limited company. Performing arts concept can be categorized into 4 groups: acting for being actors; acting for being singer-dancer; acting for personal development; acting for further study in university. In this regard, there are a few main reasons of studying acting: want to be an actor (65.2%), want to use in daily life (22.7%), and want to use in further study and relevant career (12.1%).en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2013.742-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectศิลปะการแสดง
dc.subjectPerforming arts
dc.titleมโนทัศน์ทางศิลปะการแสดงและสถานภาพของสถาบันอบรมการแสดงเอกชนen_US
dc.title.alternativePERFORMING ARTS CONCEPT AND STATUS OF PRIVATE ACTING STUDIOSen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineนิเทศศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisortiranan2005@hotmail.comen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2013.742-
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5584701028.pdf4.99 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.