Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43255
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorระหัตร โรจนประดิษฐ์en_US
dc.contributor.authorรัตน์สุพร ไชยรัตน์en_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-06-24T06:36:31Z
dc.date.available2015-06-24T06:36:31Z
dc.date.issued2556en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43255
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556en_US
dc.description.abstractเมืองสงขลาเป็นเมืองท่าที่สำคัญแห่งหนึ่งของภาคใต้มาตั้งแต่สมัยโบราณและมีประวัติการตั้งถิ่นฐานสมัยกรุงศรีอยุธยา ความเจริญรุ่งเรืองในอดีตพบเห็นได้จากร่องรอยของโบราณสถานที่สำคัญหลายแห่ง ได้แก่ วัด มัสยิด ป้อมปราการ กำแพงเมือง สุสานเจ้าเมือง และท่าเรือ เมื่อมีการสร้างสะพานติณสูลานนท์ซึ่งเป็นโครงสร้างของการคมนาคมขนาดใหญ่ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่5 จึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงพื้นของเมืองสงขลาในด้านโครงข่ายการสัญจร การใช้ประโยชน์ที่ดินและอาคาร และพื้นที่สิ่งปลูกสร้างต่อที่ว่าง งานวิจัยฉบับนี้ได้ศึกษาการเปลี่ยนแปลงเชิงพื้นที่ของเมืองสงขลาปี พ.ศ.2517-2555 ก่อนสร้างสะพานติณสูลานนท์ พ.ศ.2517-2528 เมืองสงขลามีลักษณะทางกายภาพดั้งเดิม ชุมชนประมงขนาดเล็ก ตั้งถิ่นฐานเกาะกลุ่มหนาแน่นบริเวณพื้นที่ตอนใต้ของทะเลสาบ แหล่งโบราณสถานได้กระจายตัวอยู่ในพื้นที่เกษตรกรรม การสัญจรระหว่างตัวเมืองสงขลากับฝั่งตรงข้ามทะเลสาบสงขลาใช้เรือ หลังจากมีการสร้างสะพานติณสูลานนท์ พ.ศ.2528 ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงพื้นที่ของเมืองสงขลาอย่างรวดเร็ว ในช่วง พ.ศ.2529-2540 ทำให้เกิดชุมชนพักอาศัยรูปแบบใหม่ ตั้งถิ่นฐานเกาะขนานตลอดแนวถนนสายหลักที่ต่อเนื่องมาจากสะพานติณสูลานนท์ เกิดโครงข่ายการสัญจรทางบกที่มีการผสานกันหนาแน่นขึ้น การใช้ประโยชน์ที่ดินและอาคารที่มีความผสมผสานกันอย่างหลากหลาย อีกทั้งยังเกิดอาคารและสิ่งปลูกขนาดเล็กจำนวนมาก จนกระทั่งช่วงปัจจุบัน พ.ศ.2541-2555 พื้นที่เมืองได้ขยายตัวรุกล้ำเข้าไปยังพื้นที่เกษตรกรรม ป่าไม้ และโบราณสถาน ทำให้เกิดปัญหาด้านสภาพแวดล้อมเสื่อมโทรม ป่าไม้ถูกทำลาย ที่อยู่อาศัยอยู่ในเขตโบราณสถาน ซึ่งขัดแย้งกับการใช้พื้นที่ทางประวัติศาสตร์ที่ควรมีการอนุรักษ์ จึงสามารถระบุได้ว่า สะพานติณสูลานนท์ เป็นโครงสร้างและองค์ประกอบทางกายภาพที่สำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงเชิงพื้นที่ของเมืองสงขลา ที่ส่งผลต่อเนื่องให้เกิดโครงข่ายการสัญจร การใช้ประโยชน์ที่ดินและอาคาร ผลที่ได้จากการศึกษาจะใช้เป็นข้อมูลสำหรับการวางแผนพัฒนาเมืองสงขลาในอนาคต ด้วยการตระหนักถึงการสร้างความสมดุลของการพัฒนาพื้นที่ โดยคำนึงถึงการอนุรักษ์รูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินและอาคารในย่านเมืองเก่า และพัฒนาชุมชนเมืองใหม่โดยการควบคุมการขยายตัวของชุมชนให้สัมพันธ์กับโครงข่ายการเชื่อมต่อที่สอดคล้องกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมเพื่อการพัฒนาเมืองได้อย่างเหมาะสมen_US
dc.description.abstractalternativeSongkla City has been an important sea port in the South of Thailand since Ayuttaya was the capital city. Many historical buildings such as temples, mosques, forts, city walls, the cemetry of the city governors and the port are evidences of the city flourishing. With the completion of the Tinsulanonda Bridges, which was part of a mega transportation project in 5th Social and Economic Development Plan, Songkla City witnessed spatial transformation in term of transport network, land and building use and space for building a structure. This research studied the spatial transformation of Songkla City from 1974 to 2012. Between 1974 and 1985, before the construction of the bridges, no physical changes were observed in the city. There was a cluster of fisherman communities to the south of Songkla Lake. Historical sites were found scattering in the agricultural areas. Boat was the major means of transport from the city to the other side of the lake. During the construction in 1985, the spatial transformation of the city took place rapidly. From 1985 to 1997, a new community was introduced. It was found along the main roads extended from the bridges. Such roads made the land transport more complex. The land use and the building use could not be clearly defined with regard to their functional purposes, in addition to an increase in the number of small buildings. Between 1998 and 2012 the urban area penetrated the agricultural areas, forests and historical sites, resulting in environmental deterioration, forest destruction and housing construction in historical sites. The construction does not comply with one of the purposes of the historical site, in that, the historical site is a reserved area. Nothing but a historical building can exist there. It can be said that the Tinsulanonda Bridges, important physical structures, have led to spatial transformation of Songkla City. The transformation has caused land transport network and changes to land use and building use. The findings can be used as guidelines for mapping out Songkla City’s development plans in the future. The plans have to balance out the spatial development. The land use and the building use in the old city area should be preserved and the development of a new town has to be controled so that the community expansion will be in relation to the extension of transport network and the economic and social activities.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2013.663-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
dc.subjectการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์
dc.subjectSocial change
dc.subjectLandscape changes
dc.titleเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงเชิงพื้นที่ของเมืองสงขลา ก่อนและหลังการสร้างสะพานติณสูลานนท์en_US
dc.title.alternativeSPATIAL TRANSFORMATION OF SONGKLA CITY BEFORE AND AFTER THE CONSTRUCTION OF THE TINSULANONDA BRIDGESen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameการวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการวางแผนภาคและเมืองen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorrrahuth@yahoo.comen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2013.663-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5374129225.pdf7.53 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.