Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43258
Title: คติ และ สัญลักษณ์ ในการออกแบบสถาปัตยกรรมของสัปปายะสภาสถาน
Other Titles: CONCEPT AND SYMBOLISM IN THE ARCHITECTURAL DESIGN OF SAPPAYA-SAPASTAN
Authors: มนัสพงษ์ สงวนวุฒิโรจนา
Advisors: วันชัย มงคลประดิษฐ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: w.monkol@gmail.com
Subjects: รัฐสภา -- การออกแบบและการสร้าง
สถาปัตยกรรมไทย -- ไทย
Legislative bodies -- Design and construction
Architecture, Thai -- Thailand
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การประกวดแบบรัฐสภาไทยแห่งใหม่ในปี พ.ศ. 2552 กลุ่มสถาปนิกที่ได้รับคัดเลือกให้ชนะการประกวด ได้หวนกลับไปหาองค์ความรู้ในอดีต “คติไตรภูมิ” กรอบความคิดที่กล่าวถึงหลักปรัชญาสูงสุดในพุทธศาสนาได้ถูกนำมาใช้เป็นแนวคิดหลักในการออกแบบ “สัปปายะสภาสถาน” โดยการตีความหมายผ่านรูปทรงองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม และความพยายามในการสร้างสรรค์รูปแบบที่มุ่งสื่อสารถึงอุดมการณ์ความคิดทางสถาปัตยกรรมของไทยในอดีต ด้วยการสร้างเรื่องราวผ่านสถาปัตยกรรมของรัฐสภาไทยแห่งใหม่ให้เป็นเสมือนศูนย์รวมจิตใจที่จะสามารถพลิกฟื้นจิตวิญญาณของคนในชาติ และเป็นปัจจัยที่ช่วยให้สังคมไทยสามารถข้ามพ้นวิกฤตทางศีลธรรม จากการศึกษาพบว่าระบบความหมายเชิงสัญลักษณ์ของคติไตรภูมิได้ถูกกำหนดขึ้นในกระบวนการออกแบบสถาปัตยกรรมของสัปปายะสภาสถานตั้งแต่เริ่มต้น และได้ถูกนำมาใช้ให้สอดประสานไปกับเทคนิคและวิธีการในการออกแบบทางสถาปัตยกรรมในแต่ละภาคส่วน กลุ่มสถาปนิกผู้รับผิดชอบได้ออกแบบให้คติและสัญลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมของไทยในอดีตผสมผสานไปกับเทคโนโลยีการก่อสร้าง ระบบโครงสร้างทางสังคม และระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขในปัจจุบัน ผ่านทางรูปแบบสถาปัตยกรรมสมัยใหม่บนพื้นฐานทางภาษาและฉันทลักษณ์ตามอย่างสถาปัตยกรรมไทยแบบประเพณี โดยกลุ่มสถาปนิกผู้ออกแบบมีความมุ่งหวังว่าหลักการจากคติความเชื่ออันเป็นอุดมการณ์สำคัญในอดีต ที่ได้เล่าเรื่องราวผ่านระบบสัญลักษณ์และนัยยะที่แสดงออกในรูปลักษณะทางกายภาพของสถาปัตยกรรมสัปปายะสภาสถาน สถานที่ซึ่งจะเป็นหลักในการปกครองประเทศในอนาคต อุดมการณ์หรือคติที่มุ่งสื่อสารถึงหลักสูงสุดในพุทธศาสนาจะสามารถเป็นหลักสำคัญในการปกครอง หลักการแห่งชีวิตของผู้คนในชาติ อันจะนำพาสังคมและประเทศไปสู่ความสมบูรณ์สันติสุขและสงบสุขได้ คติ และสัญลักษณ์ในการออกแบบสถาปัตยกรรมของสัปปายะสภาสถาน มีจุดเด่นที่กลุ่มสถาปนิกผู้ออกแบบสามารถแสดงภาพไตรภูมิที่ปรากฏผ่านทางกายภาพของสถาปัตยกรรมรัฐสภาไทยแห่งใหม่ให้มีความชัดเจนพอที่จะสื่อสารให้ผู้คนในทุกระดับของสังคมสามารถเข้าใจได้ หากแต่ความทรงคุณค่าทางสถาปัตยกรรมและการสื่อสารความหมาย ตามเจตนารมณ์ของกลุ่มสถาปนิกผู้ออกแบบที่ต้องการสื่อสารต่อผู้คนในสังคมนั้น คงจำเป็นต้องเฝ้ารอคำตอบจากกระแสความคิดความเข้าใจของผู้คนในสังคมด้วยเช่นเดียวกัน
Other Abstract: The team of architects that won the design contest for the new Parliament in 2009 utilized the “Trai Phum Concept,” describing the most important philosophical aspects of Buddhism. This concept was translated into an architectural design concept known as Sappaya-Sapastan. This architectural design concept tries to convey elements of traditional Thai architecture. With the introduction of Sappaya-Sapastan, the new Parliament building can enliven the spiritual bond of the Thai people, and help them overcome moral crisis. The symbolism of the Trai Phum Concept was determined at the beginning of the Sappaya-Sapastan design and was applied in every step of the process. The architects of this team had integrated the concepts of the venerable literature of Trai Phum into the construction technology, and taken the social structure and the constitutional monarchy into consideration as well. The architects have tried to merge the core values of Buddhism reflected in Trai Phum with the principles of democracy in an effort to showcase the foundation for peace in this country. The symbolism in the architectural design of Sappaya-Sapastan embodied by the physical characteristics of the new Parliament building is remarkable and readily understood. However, whether its true architectural values and intended significance are really appreciated depends on the response of the public.
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43258
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.666
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.666
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5374149825.pdf15.78 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.