Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43287
Title: ORAL HEALTH-RELATED QUALITY OF LIFE AND PATIENT SATISFACTION TO THE PROSTHODONTICS TREATMENT AT FACULTY OF DENTISTRY, CHULALONGKORN UNIVERSITY
Other Titles: คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากและความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อการรักษาทางทันตกรรมประดิษฐ์ ที่คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Authors: Peamate Boonmekhao
Advisors: Mansuang Arksornnukit
Tewarit Somkotra
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Dentistry
Advisor's Email: mansuang@yahoo.com
tewarit.s@chula.ac.th
Subjects: Dental care
Prosthodontics
Patient satisfaction
การดูแลทันตสุขภาพ
ทันตกรรมประดิษฐ์
ความพอใจของผู้ป่วย
Issue Date: 2013
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: This study aimed to assess the Oral Health-Related Quality of Life (OHRQoL) before and after prosthodontic treatment, and to assess the patient satisfaction to prosthodontic treatment among patients after obtaining prosthodontic treatments at Faculty of Dentistry, Chulalongkorn University. Six hundred and sixty four participants (467 subjects from Under-graduated; UG clinic and 197 subjects from Post-graduated; PG clinic) with 18-84 years of age with an average age of 53.9±13.4 years, of which 45.5% of them were male were face-to-face interviewed at Prosthodontics Clinic, Faculty of Dentistry, Chulalongkorn University. Data comprised of general information, medical and dental history. For the assessment of OHRQoL, this study used the Oral Impacts on Daily Performances (OIDP) which were assessed at three different periods; the first dental visit (T0), first recheck visit (T1) and completed visit (T2). The 100-mm VAS horizontal line was used for assessing satisfaction at T1. Descriptive analysis was performed. The OIDP scores at T0 and VAS scores at T1 were analyzed by the Mann-Whitney U Test and the Kruskal-Wallis Test. The Friedman Test and Wilcoxon Signed Ranks Test were used to analyze the OIDP scores between periods of assessment. Statistical significance was set at α = .05. The OIDP scores (mean/median) in UG participants at T0, T1, and T2 were 23.9/15.0, 10.3/5.0, and 0.1/0, respectively whereas those in PG participants were 22.7/15.0, 6.5/5.0, and 0.2/0, respectively. In addition, the OIDP scores were significant different between periods of assessment (p < .05). At T0, those participants reported physical performances especially on eating and speaking with the main symptom were functional limitation due to the tooth loss. At T1, 71.3% of the UG and 40.6% of the PG participants had oral impact on eating due to pain or discomfort of denture. Meanwhile, at T2 there was very slightly oral impact. The VAS scores (mean/median) in UG and PG participants were 88.9/90.0, and 92.0/95.0, respectively. This study indicated that for those who had both profession, and perceived need for prosthodontic treatments had the improvement in all performances of OHRQoL with high level of satisfaction after obtaining the treatment.
Other Abstract: การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก ก่อนและหลังการรักษาทางทันตกรรมประดิษฐ์ ตลอดจนประเมินความพึงพอใจของผู้ป่วยภายหลังการรักษาในผู้ป่วยที่มารับบริการทางทันตกรรมประดิษฐ์ ที่คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยจำนวน 664 ราย (เป็นผู้ป่วยที่คลินิกทันตกรรมระดับปริญญาบัณฑิต 467 รายและคลินิกบัณฑิตทันตกรรมประดิษฐ์ 197 ราย) มีช่วงอายุ 18-84 ปีและอายุเฉลี่ย 53.9±13.4 ปี ร้อยละ 45.5 ของกลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชาย ผู้ป่วยถูกสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัวโดยทันตเเพทย์หนึ่งคนที่ผ่านการปรับมาตรฐานมาเเล้ว ข้อมูลที่ถูกสัมภาษณ์ประกอบด้วยข้อมูลทั่วไป ประวัติทางการแพทย์-ทางทันตกรรมก่อนเริ่มการรักษา เเละคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากโดยใช้ดัชนีโอไอดีพีประเมิน 3 ครั้ง คือ การเริ่มรักษาครั้งแรก การกลับมาตรวจครั้งแรกหลังจากใส่ฟันเทียม และครั้งสุดท้ายที่เสร็จสิ้นการรักษา นอกจากนี้ยังประเมินความพึงพอใจของผู้ป่วยโดยใช้มาตรวัดด้วยสายตารูปแบบ100 มิลลิเมตรในการกลับมาตรวจครั้งแรกหลังจากใส่ฟันเทียม หลังจากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณาเเละเชิงวิเคราะห์ด้วยสถิติเเมนน์ วิทนีย์ ยู สถิติครัสคัล วาลิส สถิติทดสอบฟรายด์แมน และสถิติทดสอบวิลคอกซัน ไซน์ แรงค์ ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ผลการศึกษาพบว่าค่าเฉลี่ย/ค่ามัธยฐานของคะแนนโอไอดีพี ทั้ง 3 ครั้งของผู้ป่วยที่คลินิกทันตกรรมระดับปริญญาบัณฑิตคือ 23.9/15.0 10.3/5.0 และ 0.1/0 ตามลำดับ และของผู้ป่วยที่คลินิกบัณฑิตทันตกรรมประดิษฐ์คือ 22.7/15.0 6.5/5.0 และ 0.2/0 ตามลำดับ โดยคะเเนนโอไอดีพีทั้ง 3 ครั้งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ในการเริ่มรักษาครั้งแรกพบว่าร้อยละ 71.7 ของผู้ป่วยที่คลินิกทันตกรรมระดับปริญญาบัณฑิตและร้อยละ 75.1 ของผู้ป่วยที่คลินิกบัณฑิตทันตกรรมประดิษฐ์ได้รับผลกระทบจากสภาวะช่องปากในด้านกายภาพ โดยมีความจำกัดในการทำหน้าที่ในการรับประทานอาหารและการพูดเนื่องจากการสูญเสียฟันเป็นสภาวะในช่องปากที่เป็นสาเหตุ ในการกลับมาตรวจครั้งแรกหลังจากใส่ฟันเทียมพบว่าร้อยละ 71.3 ของผู้ป่วยที่คลินิกทันตกรรมระดับปริญญาบัณฑิต และร้อยละ 40.6 ของผู้ป่วยที่คลินิกบัณฑิตทันตกรรมประดิษฐ์ยังได้รับผลกระทบจากสภาวะช่องปากต่อการรับประทานอาหารจากอาการเจ็บปวดหรือความรู้สึกไม่สบายนื่องจากเจ็บจากการใช้ฟันเทียม และเมื่อเสร็จสิ้นการรักษาพบว่าน้อยกว่าร้อยละ 5 ของผู้ป่วยทั้งสองคลินิกที่ยังได้รับผลกระทบจากสภาวะในช่องปาก ค่าเฉลี่ย/ค่ามัธยฐานของคะแนนความพึงพอใจต่อการรักษาของผู้ป่วยที่คลินิกทันตกรรมระดับปริญญาบัณฑิตและคลินิกบัณฑิตทันตกรรมประดิษฐ์คือ 88.9/90.0 และ 92.0/95.0 ตามลำดับ ผลการศึกษาในครั้งนี้บ่งบอกได้ว่าการรักษาทางทันตกรรมประดิษฐ์สามารถฟื้นฟูคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากทั้งในด้านกายภาพ ด้านจิตใจ และด้านสังคม อีกทั้งยังสร้างความพึงพอใจในระดับดีมากภายหลังการรักษาในกลุ่มผู้ป่วยที่มีทั้งความจำเป็นทางวิชาชีพและความรู้สึกจำเป็นของผู้ป่วยเองต่อการรักษาทันตกรรมประดิษฐ์
Description: Thesis (M.Sc.)--Chulalongkorn University, 2013
Degree Name: Master of Science
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: Prosthodontics
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43287
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.695
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.695
Type: Thesis
Appears in Collections:Dent - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5376122132.pdf3 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.