Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43348
Title: ผลของการใช้น้ำมันตะไคร้แกงเสริมในอาหารไก่ต่อเชื้อแบคทีเรียเอสเชอริเชีย โคไล และเชื้อแบคทีเรียที่สร้างกรดแลคติกในลำไส้ไก่เนื้อ
Other Titles: EFFECT OF DIETARY SUPPLEMENTATION OF LEMONGRASS OIL ON INTESTINAL ESCHERICHIA COLI AND LACTIC ACID PRODUCING BACTERIA IN BROILER CHICKENS
Authors: โชติพล หาญณรงค์
Advisors: สุพัตรา ศรีไชยรัตน์
จิโรจ ศศิปรียจันทร
ชาญณรงค์ รอดคำ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์
Advisor's Email: supatrasri@hotmail.com
jiroj_s@hotmail.com
Channarong.R@Chula.ac.th
Subjects: ไก่ -- อาหาร
เอสเคอริเคียโคไล
กรดแล็กติก
Chickens -- Food
Escherichia coli
Lactic acid
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้น้ำมันตะไคร้แกง (Cymbopogon citratus) เสริมในอาหารไก่ต่อเชื้อแบคทีเรียในลำไส้ของไก่เนื้อ ได้แก่ Escherichia coli (E. coli) ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่สามารถเป็นแหล่งรังโรคให้กับเชื้อก่อโรค และแบคทีเรียที่สร้างกรดแลคติก ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เพื่อเป็นข้อมูลในการพิจารณานำน้ำมันตะไคร้แกงไปใช้ทดแทนยาปฏิชีวนะ การศึกษาครั้งนี้ได้ทดสอบทั้งแบบนอกร่างกายและในร่างกายสัตว์ โดยการทดสอบในหลอดทดลองทำการศึกษาฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียของน้ำมันตะไคร้แกงด้วยวิธี broth microdilution และทำการทดสอบการใช้เป็นวัตถุเติมในอาหารไก่เนื้อจำนวน 120 ตัว โดยแบ่งกลุ่มการทดลองเป็น 4 กลุ่มตามระดับความเข้มข้นของน้ำมันตะไคร้แกงที่ผสมในอาหาร ได้แก่ กลุ่มที่ได้รับอาหารควบคุมปกติ, อาหารผสมน้ำมันตะไคร้แกงขนาด 0.01, 0.02 และ 0.04% หลังการเลี้ยงเป็นเวลา 42 วัน ทำการเก็บตัวอย่างอุจจาระและลำไส้ส่วนต่างๆ ของไก่ ได้แก่ ลำไส้เล็กส่วนกลาง, ลำไส้เล็กส่วนท้าย และ ลำไส้ตัน เพื่อนำไปเพาะเชื้อและนับจำนวนเชื้อ E. coli และแบคทีเรียที่สร้างกรดแลคติก ผลการศึกษาในหลอดทดลองพบว่าน้ำมันตะไคร้แกงมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียได้ทั้งเชื้อแบคทีเรีย E. coli และเชื้อแบคทีเรียกรดแลคติก สำหรับผลศึกษาแบบในร่างกายพบว่าน้ำมันตะไคร้แกงไม่ส่งผลกระทบต่อจำนวนเชื้อแบคทีเรียกรดแลคติกในลำไส้ทั้งสามส่วน แต่พบความแตกต่างของจำนวนเชื้อในอุจจาระอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในวันที่ 14 และ 21 ส่วนผลของน้ำมันตะไคร้แกงต่อเชื้อ E. coli พบว่าสามารถลดจำนวนเชื้อในอุจจาระในวันที่ 28 ได้ด้วยน้ำมันตะไคร้แกงขนาด 0.02 และ 0.04 % และสามารถลดจำนวนเชื้อในลำไส้เล็กส่วนกลางและลำไส้ตันด้วยน้ำมันตะไคร้แกงขนาด 0.04% จากผลการศึกษาครั้งนี้สรุปว่าน้ำมันตะไคร้แกงมีฤทธิ์ต้านเชื้อ E. coli ได้ทั้งการทดสอบแบบในร่างกายและนอกร่างกาย ถึงแม้ว่าน้ำมันตะไคร้แกงมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียกรดแลคติกได้ในการทดสอบนอกร่างกาย แต่กลับไม่มีผลทำให้เชื้อที่มีประโยชน์ในทางเดินอาหารไก่ดังกล่าวลดลงเมื่อให้ร่วมกับอาหารไก่
Other Abstract: The aim of this study was to evaluate the antibacterial effect of lemongrass oil (LGO) (Cymbopogon citratus) on Escherichia coli (E. coli), which serves as a reservoir for many pathogens and lactic acid producing bacteria (LAB), which provides the benefits for the host, in order to replace the antibiotics with LGO. This study consists of in vitro and in vivo experiments. Broth microdilution was used for determining of LGO antibacterial activity in the in vitro experiment. The in vivo experiment was conducted with 120 broiler chickens. They were divided into 4 groups: basal diet, basal diet supplemented with 0.01, 0.02 and 0.04 %. After 42 days of feeding trial, fecal, jejunal, ileal and cecal samples were collected for enumeration of E. coli and LAB. The results from the in vitro experiment showed antibacterial activity against both E. coli and LAB. The in vivo experiment showed that LGO had no effect on LAB population investigated from all parts of intestines. However, there were some significant difference of fecal LAB population among the groups on day 14 and 21. LGO at the dose of 0.02% and 0.04% significantly reduced the population of E. coli from feces on day 28. In addition, the number of E. coli population from jejunums and cecums was significantly decreased in chickens treated with LGO at dose 0.04%. In conclusion, LGO had an antibacterial activity against E. coli for both in vitro and in vivo experiments. Eventhough LAB was sensitive to LGO in the in vitro experiment, LGO did not reduce the number of the beneficial bacteria in gastrointestinal tract of the chicken.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เภสัชวิทยาทางสัตวแพทยศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43348
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.792
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.792
Type: Thesis
Appears in Collections:Vet - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5475308531.pdf3.87 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.