Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43357
Title: ผลของเครื่องดื่มที่มีฤทธิ์เป็นกรดต่อความหยาบพื้นผิวของซีเมนต์ยึดติดชนิดเรซิน
Other Titles: EFFECT OF ACIDIC BEVERAGES ON SURFACE ROUGHNESS OF RESIN LUTING CEMENTS
Authors: พงศธร จินตกานนท์
Advisors: ชัยวัฒน์ มณีนุษย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์
Advisor's Email: mchaiwat@chula.ac.th
Subjects: ทันตกรรมประดิษฐ์
เรซินทางทันตกรรม
Prosthodontics
Dental resins
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินอิทธิพลของชนิดของเครื่องดื่มที่มีฤทธิ์เป็นกรดต่อความหยาบพื้นผิวของเรซินซีเมนต์ที่เปลี่ยนแปลงไปภายหลังการจำลองการดื่มเครื่องดื่ม วิธีการ: สร้างชิ้นงานเรซินซีเมนต์ 8 กลุ่ม กลุ่มละ 13 ชิ้น บูรณะชิ้นงาน 4 กลุ่มแรกด้วยเรซินซีเมนต์เอ็นเอ็กซ์ 3 เน็กซัส&reg; และบูรณะชิ้นงาน 4 กลุ่มที่เหลือด้วยเรซินซีเมนต์รีลาย เอ็กซ์ ยูนิเซ็ม 2&reg; วัดค่าความหยาบพื้นผิวเฉลี่ยเชิงเส้น (Ra) ก่อนการจำลองการดื่มเครื่องดื่ม แล้วนำชิ้นงานแต่ละกลุ่มไปจำลองการดื่มเครื่องดื่มเสมือนจริงแบบถี่บ่อยด้วยเครื่องดื่มเย็นแต่ละชนิด ได้แก่ โค้ก&reg; ลิปตันไอซ์ที&reg; และน้ำส้มเขียวหวานทิปโก้&reg; เป็นเวลา 10 วัน ทั้งนี้ เครื่องดื่มเย็นแต่ละชนิดจะผ่านการวัดค่าความเป็นกรดเบสและไทเทรตความเป็นกรดที่อุณหภูมิห้องก่อนการจำลองการดื่มเครื่องดื่ม วัดค่าความหยาบพื้นผิวเฉลี่ยเชิงเส้นของชิ้นงานแต่ละชิ้นอีกครั้ง ก่อนนำไปส่องกล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอนชนิดส่องกราดเพื่อประเมินลักษณะผิวหน้า นำข้อมูลมาวิเคราะห์ทางสถิติด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทาง ร่วมกับแพร์ที-เทส และสถิติลีวีน ผลการทดลอง: โค้ก&reg; (ค่าความเป็นกรดเบส=2.55) ลิปตันไอซ์ที&reg; (ค่าความเป็นกรดเบส=3.05) และน้ำส้มเขียวหวานทิปโก้&reg; (ค่าความเป็นกรดเบส=3.58) ทำให้ผิวหน้าของเรซินซีเมนต์มีความหยาบพื้นผิวเฉลี่ยเชิงเส้นเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001 ทุกกลุ่มการทดลอง) โดยชนิดของเครื่องดื่มที่มีฤทธิ์เป็นกรดมีผลต่อความหยาบพื้นผิวของเรซินซีเมนต์ (p<0.001) ในขณะที่ชนิดของเรซินซีเมนต์ไม่มีผลต่อความหยาบพื้นผิวที่เพิ่มขึ้น (p=0.299) ความสามารถของเครื่องดื่มในการทำให้ผิวหน้าของเรซินซีเมนต์มีความหยาบเพิ่มขึ้นขึ้นกับค่าความเป็นกรดเบส กล่าวคือ เครื่องดื่มที่มีค่าความเป็นกรดเบสต่ำกว่า จะทำให้พื้นผิววัสดุมีความหยาบเพิ่มขึ้นได้มากกว่า ภาพกำลังขยาย 10,000 เท่าของพื้นผิววัสดุแสดงให้เห็นว่าเรซินซีเมนต์ภายหลังการจำลองการดื่มเครื่องดื่มมีผิวหน้าขรุขระมากขึ้น สรุป: เครื่องดื่มที่มีฤทธิ์เป็นกรดทำให้พื้นผิวของเรซินซีเมนต์มีความหยาบเพิ่มขึ้น ยิ่งเครื่องดื่มมีค่าความเป็นกรดเบสต่ำเท่าใด ก็จะทำให้เรซินซีเมนต์มีความหยาบพื้นผิวเพิ่มขึ้นเท่านั้น
Other Abstract: Objective: To evaluate the influence of acidic beverages on the surface roughness of resin cements. Methods: Eight groups of resin cement (N=13) were prepared, four each of NX3 Nexus&reg; and RelyX Unicem 2&reg;. Baseline surface roughness (Ra) was determined for each specimen. A high beverage intake simulation was performed on the samples using chilled Coke&reg;, Lipton&reg; ice tea, or Tipco&reg; tangerine juice for 10 days. Surface roughness was again determined and the specimen surfaces were evaluated using scanning electron microcopy (SEM). The pH value and titratable acidity of each chilled beverage were determined. The data were analyzed by two-way ANOVA parametric test, followed by Dunnett T3 post hoc test. The paired T-test and Levene statistic were also used. Results: Treatment with Coke&reg; (pH=2.55), Lipton&reg; ice tea (pH=3.05), and Tipco&reg; tangerine juice (pH=3.58) significantly increased the surface roughness of the tested resin cements (p<0.001 for all beverages). While the type of acidic beverage influenced the increase in surface roughness (p<0.001), the type of resin cement did not (p=0.299). The ability of an acidic beverage to increase surface roughness depended on its pH value; the lower the pH, the higher its ability to roughen the surface. SEM analysis revealed that the resin cements surfaces appeared rougher after the drinking simulation. Conclusion: The acidic beverages have ability to roughen resin cement surfaces; the lower the pH of the beverage, the higher its ability to roughen the surface.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ทันตกรรมหัตถการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43357
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.766
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.766
Type: Thesis
Appears in Collections:Dent - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5475816032.pdf4.6 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.