Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43379
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorประนอม รอดคำดีen_US
dc.contributor.authorสิรินาถ ชาบุญเรืองen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-06-24T06:37:41Z
dc.date.available2015-06-24T06:37:41Z
dc.date.issued2556en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43379
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนโดยกลุ่มเพื่อนต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายของวัยรุ่นตอนต้นที่มีภาวะโภชนาการเกิน กลุ่มตัวอย่างเป็นวัยรุ่นตอนต้นที่มีภาวะโภชนาการเกิน อายุระหว่าง 13-14ปี ศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่1-3 โรงเรียนในเขตเทศบาลอำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 60 คน สุ่มอย่างง่ายเพื่อแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 30 คน และกลุ่มควบคุม 30 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนโดยกลุ่มเพื่อน กลุ่มควบคุมได้รับการบริการอนามัยโรงเรียนตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย โปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนโดยกลุ่มเพื่อนที่สร้างตามแนวคิดการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของแบนดูรา แบบสอบถามพฤติกรรมการบริโภคอาหาร และพฤติกรรมการออกกำลังกาย แบบประเมินการรับรู้สมรรถนะแห่งตน เครื่องมือทั้งหมดได้ผ่านการตรวจความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คนและหาค่าความเที่ยงของแบบสอบถามแล้วได้ค่าความเที่ยงของแบบสอบถามพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย เท่ากับ .73และ .76 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. พฤติกรรมการบริโภคและการออกกำลังกายของวัยรุ่นตอนต้นที่มีภาวะโภชนาการเกินหลังได้รับโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนโดยกลุ่มเพื่อนสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนโดยกลุ่มเพื่อน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. พฤติกรรมการบริโภคและการออกกำลังกายของวัยรุ่นตอนต้นที่มีภาวะโภชนาการเกินในกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนโดยกลุ่มเพื่อนสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการบริการอนามัยโรงเรียนตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05en_US
dc.description.abstractalternativeThis quasi experimental research purposes were to study effects of self – efficacy program by peer group on food consumption and physical behavior in overweight early adolescents. The sample consisted of early adolescents who are overweight between the ages of 13-14 years in grade7-9 in secondary school. Simple random assignment were used for experimental and control group (30 each).Research instruments were food consumption and physical behavior and perceived self-efficacy questionnaires. The control group received only school health services, while the experimental group received the perceived self-efficacy promoting program by peer group. The data collection instrument was the self-efficacy program by peer group which was developed by the researcher based on the concept of Bandura’s self-efficacy,the food consumption and exercise behavior and perceived self-efficacy questionnaires which was examined to ensure content validity by 5 experts and tested for reliability, with the outcomes of .73 and .76 respectively . Descriptive statistics of mean and standard deviation, as well as t-test, were used to analyze the data. The major findings of the study were as follows: 1. The food consumption and exercise behavior of overweight early adolescents after receiving the perceived self-efficacy promoting program by peer group were significantly higher than before receiving the program at .05 significant level. 2. The food consumption and exercise behavior of overweight early adolescents who received the perceived self-efficacy promoting program by peer group were significantly higher than those who received only school health services at .05 significant level.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2013.847-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectโรคอ้วนในเด็ก
dc.subjectพฤติกรรมสุขภาพในเด็ก
dc.subjectObesity in children
dc.subjectHealth behavior in children
dc.titleผลของโปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนโดยกลุ่มเพื่อนต่อพฤติกรรมการบริโภคและการออกกำลังกายของวัยรุ่นตอนต้นที่มีภาวะโภชนาการเกินen_US
dc.title.alternativeEFFECTS OF A SELF-EFFICACY PROMOTING PROGRAM BY PEER GROUP ON FOOD CONSUMPTION AND PHYSICAL EXERCISE BEHAVIOR IN OVERWEIGHT EARLY ADOLESCENTSen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineพยาบาลศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorbranom.rod@gmail.comen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2013.847-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5477197536.pdf5.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.